ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI)
เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย เศรษฐพันธุ์ สันวงค์
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) 3.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บ้านเก่า) กองการศึกษา เทศบาลตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ฉบับที่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (ฉบับที่ 2) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อย (ฉบับที่ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ฉบับที่ 4) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ คู่มือการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ แบบประเมินการปรับปรุง แก้ไขและรับรองรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ (ฉบับที่ 7) และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ฉบับที่ 8) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ T-Test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการวิเคราะห์เอกสารมีองค์ประกอบที่หลากหลาย
2. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า LRPGPE Model (แอลอาร์พีจีพีอี โมเดล) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างเจตคติและแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learner Attitude and Motivation to Learn Stage : L) ขั้นที่ 2 การระลึกหรือทบทวนความรู้ ความจำ ข้อมูล ความรู้เดิม (Recalling information Stage : R) ขั้นที่ 3 การนำเสนอปัญหา (Posing Open-Ended Problem Stage : P) ขั้นที่ 4 การลงมือปฏิบัติจากกรอบความคิดที่กำหนด (Guided practice Stage : G) ขั้นที่ 5 การนำเสนอผลการเรียนรู้ สรุปบทเรียน (Present the Solution and Conclusion Stage : P) และขั้นที่ 6 การประเมินผลและการนำความรู้ไปใช้ (Evaluation and Extension Stages : E) 4) การประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.98/83.82 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.59 ( =18.59) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.67 (S.D. = 1.67) คิดเป็นร้อยละ 61.96 และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.15 ( =25.15) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.74 (S.D. = 1.74) คิดเป็นร้อยละ 83.82
3.2 ทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยก่อนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 37.41 ( =37.41) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.18 (S.D. = 2.18) คิดเป็นร้อยละ 74.82 และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 41.97 ( =41.97) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.95 (S.D. = 1.95) คิดเป็นร้อยละ 83.94
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีข้อมูลที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้รูปแบบมีความสมบูรณ์ และนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด