โรงเรียนป่าติ้วป่าเตยวิทยาสรรค์ ตำบลกุดปลาดุก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ผู้รายงาน:นางกุลรภัส ละม่อม
ปีการศึกษา:2566
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ตามแนวทางELT CYCEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3). เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT CYCEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนป่าติ้วป่าเตยวิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญจำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 แผน (2) แบบวัดทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ Non-Randomized One Group Pretest Posttest Design
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.20/83.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการวัดทักษะการคิดพื้นฐานด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อเสริมทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐาน ที่ตั้งไว้
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 2.84 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .124 โดยรวมอยู่ในระดับมากเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
การคิดเป็นความสามารถของสมองที่ประมวลข้อมูลที่ได้จากการรับรู้ มาสร้างเป็นองค์ความรู้ในตนเอง ซึ่งพัฒนาขึ้น ได้ตั้งแต่วัยเด็ก กระบวนการคิด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่โรงเรียนต้องจัดให้ผู้เรียนทุกระดับชั้น โดยเฉพาะการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเห็นอย่างชัดเจนในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ที่มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยกำหนดจุดมุ่งหมาย ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ในข้อ 1 ว่าให้เด็กมีความสามารถในการคิด และแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย (กระทรวงศึกษาธิการ,2546, หน้า 31) การคิดของเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองที่มีผลจากการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ทั้งที่เด็กรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว การคิดของเด็กปฐมวัยจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสมอง และกระบวนการทำงานของสมอง ซึ่งการทำงานของสมองจะพัฒนาด้านการคิดของเด็ก จากการสังเกตเด็กปฐมวัยจะพบว่า การคิดของเด็กเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อเด็กคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดเป็นพฤติกรรมหรือสะท้อนออกมาในรูปการกระทำ เพราะสมองเป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการคิด เด็กจะเริ่มต้นพัฒนาด้านการคิดจากการรับรู้ของประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นประสบการณ์แรกหรือเป็นขั้นต้นของพัฒนาการทางการคิด การคิดของเด็กเป็นไปตามสิ่งที่เด็กเห็น ได้ยิน รู้รส รู้สึกซึ่งเป็นการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้งห้า หรือที่เรียกว่า ขั้นประสาทรับรู้ (Sensorimotor Stage) และพร้อมที่จะพัฒนาไปขั้นก่อนปฏิบัติการ (Preoperational Stage) ในแต่ละขั้นของพัฒนาการ เด็กจะพัฒนาเครื่องมือในการคิด คือ สัญลักษณ์ (Symbol) เด็กจะมองวัตถุไม่เพียงแต่ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่จะมองว่าสิ่งนั้นเป็นตัวแทนหรือใช้แทนอะไรได้บ้าง โดยใช้คำพูดเป็นการสื่อ ความหมาย ประสบการณ์ซ้ำ ๆ จะช่วยให้ เด็กพัฒนาได้เร็วขึ้น (อารมณ ์สุวรรณปาล, 2551, หน้า 8-11)ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ควรส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการทุกด้าน เพราะพัฒนาการทุกด้านต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน ครูควรให้โอกาสเด็กได้เล่น และทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเช่น การเปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจค้นคว้า ทดลอง สังเกต ตัดสินใจ และคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลใช้ความสามารถของตนในการปฏิบัติหรือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างเต็มที่ วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ELT CYCEL เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่น่าสนใจและเหมาะสมที่จะนำมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัย โดยลักษณะเด่นของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ ELT CYCEL (Experiential Learning Theory) คือ ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ เป็นกระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ และเจตคติด้วยการนำเอา ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาบูรณาการเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ๆขึ้น โดยให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเองสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ
1) การนำตัวเองเข้าไปอยู่ในประสบการณ์หรือสถานการณ์ใหม่หรือการตีความประสบการณ์ที่เกิดขึ้นมาใหม่(Concrete Experience)
2) การลองสะท้อน ลองทบทวนให้เกิดการตกผลึกความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ โดยอาศัยวิธีการตั้งคำถาม (Reflective Observation of the New Experience)
3) การสะท้อนความคิดใหม่(Thinking) หรือการดัดแปลงแนวคิดเชิงนามธรรมที่มีอยู่ ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองแล้ว (Abstract Conceptualization)
4) การลองใช้ความคิดใหม่กับบริบทรอบตัวของตัวเองเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น(Active Experimentation)
ซึ่งเป็น กระบวนการที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และยังเป็นการถ่ายทอดความคิดโดย
ผ่านประสบการณ์จริงในการเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆ เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นความรู้สึกจากการศึกษาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นการปูพื้นฐานและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดด้านอื่น ๆ สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป จากการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ Experiential Learning Theory ผู้วิจัยจึงนำมาพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT CYCEL โดยกำหนดขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในแผนการจัดประสบการณ์ 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม (Concrete Experience) หรือ experiencing
ขั้นที่ 2 การสะท้อนคิดจากการสังเกต (Reflective Observation) หรือ reflecting
ขั้นที่ 3 การสร้างแนวคิดที่เป็นนามธรรม (Abstract Conceptualization) หรือ thinking
ขั้นที่ 4 การทดลองปฏิบัติ (Active Experimentation) หรือ acting
ดังนั้นเพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาในเรื่องนี้ เพื่อนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
จุดประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle ผู้วิจัยได้กำหนดจุดประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง
ELT CYCEL เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT CYCEL
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle โรงเรียนบ้านหนองผือ อำเภอเขมราฐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จานวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 30 คน เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างและมีจำนวนนักเรียนเพียงพอสำหรับการทดลองวิจัย กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนป่าติ้วป่าเตยวิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2566 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Simple Purposive Selection) เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีเด็กปฐมวัยไม่เกิน 120 คนและนักเรียนชั้นอนุบาล ปี่ที่ 3 มีเพียง 1 ห้องเรียนมีนักเรียน จำนวน 12 คน และเป็นนักเรียนที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอนประจำชั้นด้วยเพื่อความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบวัดทักษะการคิดพื้นฐาน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ก่อนการวิจัย ผู้วิจัยให้เด็กปฐมวัยทำแบบวัดทักษะการคิดพื้นฐานก่อนเรียนโดยใช้แบบวัดทักษะการคิดพื้นฐาน จำนวน 30 ข้อ 2) ระหว่างการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที โดยเริ่มทำการวิจัยตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 3) หลังการวิจัย ผู้วิจัยให้เด็กปฐมวัยทำแบบวัดทักษะการคิดพื้นฐานหลังเรียนโดยใช้แบบวัดทักษะการคิดพื้นฐานชุดเดียวกันกับแบบวัดทักษะการคิดพื้นฐานก่อนเรียน 4) ให้เด็กปฐมวัยทำแบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย 5) นำคะแนนจากแบบวัดทักษะการคิดพื้นฐานและแบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนการวัดทักษะการคิดพื้นฐานก่อนเรียนหลังเรียนและค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการวัดทักษะการคิดพื้นฐานระหว่างเรียนเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการคิดพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ Dependent samples t-test 3) วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.20/83.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการวัดทักษะการคิดพื้นฐานด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐาน ที่ตั้งไว้
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 2.84 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .124 โดยรวมอยู่ในระดับมากเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ
การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะทั่วไปและข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป รายละเอียดดังนี้
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ควร
มีแบบฝึกทักษะปริมาณเพียงพอกับจำนวนของนักเรียน
1.1 ในขณะที่เด็กปฐมวัยเข้าร่วมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องคอยสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด คอยช่วยเหลือและให้กำลังใจนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
1.2 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
ถ้านักเรียนต้องการเวลาเพิ่ม ครูควรยืดหยุ่นเวลาได้
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง ELT Cycle
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
2.2 ควรมีการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานด้วยกิจกรรมอื่น ๆ เช่นกิจกรรมเสริมประสบการณ์ หนังสือนิทาน ชุดฝึก
กิจกรรม หรือเทคนิคการสอนแบบต่าง ๆเป็นต้น