การสร้างและพัฒนาคู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ 3) เพื่อทดลองใช้คู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้คู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ดำเนินงานวิจัยโดยใช้กลุ่มตัวอย่างข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็นครูผู้ช่วย จำนวน 50 คน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหา
การวิจัยปรากฏผล ดังนี้
1. การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า สภาพการนิเทศ ติดตามการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย สภาพการปฏิบัติ อยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาการนิเทศ ติดตามการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย มีค่าเฉลี่ยปัญหาการปฏิบัติในระดับมาก
2. การสร้างและพัฒนาคู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า
2.1 คู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ส่วนหน้า ได้แก่ ปก คำนำ สารบัญตาราง/ภาพ คำแนะนำในการใช้คู่มือ ส่วนกลาง ได้แก่ บทที่ 1 บทนำ : ความเป็นมา และความสำคัญ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) บทที่ 3 การนำ PLC สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา และส่วนหลัง ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก ก เอกสารตัวอย่าง ภาคผนวก ข แบบตัวอย่าง ภาคผนวก ค แบบนิเทศติดตามการขับเคลื่อน PLC ในสถานศึกษา
2.2 คู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีคุณภาพในระดับมากที่สุด โดยด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้คู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า
3.1 ครูผู้ช่วยที่ได้รับการพัฒนาด้านการปฏิบัติงาน : การจัดการเรียนการสอน มีระดับคุณภาพดี ดีมาก จากการประเมินครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 6.00 ครั้งที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 85.37 ครั้งที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 100 และครั้งที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 100
3.2 ครูผู้ช่วยที่ได้รับการพัฒนาด้านการปฏิบัติงาน : การจัดการเรียนการสอน มีร้อยละ (%) จำนวนคนที่คะแนนผ่านเกณฑ์ ครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 10.00 ครั้งที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 85.37 ครั้งที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 91.67 และครั้งที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 100
4. การประเมินผลการใช้คู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 พบว่า การใช้คู่มือพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วย สำหรับศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีประสิทธิผล โดยผลการพัฒนาครูผู้ช่วยบรรลุเป้าหมายระหว่างการประเมินครั้งที่ 2 ถึงการประเมินครั้งที่ 4 ในส่วนผลการพัฒนาครูผู้ช่วยครั้งที่ 1 ไม่บรรลุเป้าหมาย