ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนนาแกพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ผู้วิจัย นายจิรวัฒน์ ปัญญารมย์ ตำแหน่ง รองผู้บริหารสถานศึกษา
วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริงของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1) ศึกษา ปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 2 คน และครู จำนวน
49 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นในด้าน ปัญหา 0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นในด้านความต้องการ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ครูแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยจัดทำ (ร่าง) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมแล้วนำไป ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยวิธีการประชุมสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครู จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึก การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3) ประเมินรูปแบบการ พัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนนาแกพิทยาคม จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไป ปฏิบัติจริง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นด้านความเหมาะสม 0.78 และด้านความเป็นไปได้ 0.85 วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัญหาการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านทักษะ เรื่องการทำ งานเป็นทีมและมีค่าเฉลี่ยต่ำ สุดในด้านเจตคติ เรื่องจริยธรรมและ จรรยาบรรณวิชาชีพครู ส่วนความต้องการการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสมรรถนะครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านความรู้ เรื่องการบริหารหลักสูตรและการจัดการการเรียนรู้และมีค่าเฉลี่ยต่ำ สุดในด้านเจตคติ เรื่องการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือ
2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนนาแกพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ประกอบด้วย
2.1) หลักการ และเหตุผล ได้แก่ หลักการพัฒนาครูแบบอิงสมรรถนะและหลักการมีส่วนร่วม
2.2) วัตถุประสงค์ ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม คือ เพื่อให้ครูมีแนวปฏิบัติที่ดีและผู้บริหาร นำไปใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้
2.3) กรอบแนวคิด/ทฤษฎี ได้แก่ หลักแนวคิดสมรรถนะ แนวคิดการพัฒนาครู แบบมีส่วนร่วมและแนวคิดการมีส่วนร่วม
2.4) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมมีองค์ประกอบในการพัฒนา
4 องค์ประกอบ ได้แก่ ร่วมวางแผน ปฏิบัติตามแผน ร่วมตรวจสอบ ประเมินผลและร่วมแก้ไขพัฒนาปรับปรุง ซึ่งมีรายการรวมทั้งสิ้นจำนวน 39 รายการ มีรายการปฏิบัติ 3 ด้าน ได้แก่
2.4.1) ด้านความรู้ เรื่องการบริหารหลักสูตรและการจัดการการเรียนรู้และการ วิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2.4.2) ด้านทักษะ เรื่องการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม และการพัฒนาผู้เรียน
2.4.3) สมรรถนะด้านเจตคติ เรื่องภาวะผู้นำ ของครู การสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือ
2.5) ประโยชน์ของรูปแบบ คือ ครูใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของตน ส่วนผู้บริหารใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วม
3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมทุกองค์ประกอบมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.83) และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมาก ( µ = 3.80) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ µ = 3.50