ชื่อผลงาน (Best Practice) ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning
หน่วยงาน/สถานศึกษา กศน.อำเภอหลังสวน
ตำบลขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
1. ความสำคัญ และความเป็นมา
กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานที่ผ่านมา
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชุมพร มีนโยบายให้ กศน.อำเภอหลังสวน จัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน ทั้งนี้การตอบสนองนโยบาย ของ สำนักงาน กศน.จังหวัดชุมพร จะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บุคลากร คณะครูซึ่งเป็นผู้ดูแลใกล้ชิด เป็นผู้สอน ผู้ซี้แนะ และผู้อำนวยความสะดวกให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นั้น จึงต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใฝ่หาความรู้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสภาวการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับผู้เรียนและสามารถนำพาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ในสถานการณ์บังคับ อาทิเช่น สถานการณ์การแพร่กระจายของโรค โควิค-๑๙ ในปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งการมีทักษะความชำนาญ การสร้างสรรค์ในการพัฒนาการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่ละบริบทต้องอาศัยเครื่องมือเพื่อเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และลดการพบปะ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
กศน.อำเภอหลังสวน จึงได้จัดโครงการจัดทำระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning ขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้สื่อและเทคโนโลยี อีกทั้งยังให้ผู้เรียนมีทักษะ ความรู้ และสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.สภาพทั่วไป
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่ทางตอนล่างของจังหวัดชุมพร มีอาณาเขตติดต่อกับเขต
การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทุ่งตะโก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอละแม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพะโต๊ะ อำเภอละอุ่น (จังหวัดระนอง) และอำเภอสวี
ลุ่มน้ำหลังสวนเป็นแหล่งที่มนุษย์เข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ
ที่อำเภอพะโต๊ะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ เครื่องมือหินขัดประเภทขวาน แต่เนื่องจากแม่น้ำ
หลังสวนเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ และมีที่ราบลุ่มน้อย ชุมชนในบริเวณดังกล่าวจึงไม่อาจจะพัฒนาเป็นชุมชนเกษตรกรรมขนาดใหญ่เหมือนเมืองชุมพร ไชยา นครศรีธรรมราช และพัทลุงได้ บทบาทของเมืองหลังสวน
ในระยะเริ่มแรกจึงเป็นเพียงชุมชนท่าเรือข้ามคาบมหาสมุทร และหมู่บ้านเกษตรกรรมขนาดเล็ก ดังนั้นจึงต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของศูนย์อำนาจการปกครองท้องถิ่นที่มีอำนาจมากกว่าคือ เมืองชุมพร ตลอดมา
หลังสวนเป็นหัวเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในแหลมมลายู เคยได้รับการยกฐานะเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นต่อกรุงเทพมหานครโดยตรงในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ครั้นเมื่อจัดตั้งมณฑลชุมพรในปี พ.ศ. 2439 หลังสวนจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของมณฑลชุมพร และภายหลังได้ยุบจังหวัดหลังสวนลงเป็นอำเภอหลังสวน ขึ้นกับจังหวัดชุมพร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ตราบเท่าทุกวันนี้
วัตถุประสงค์ของวิธี หรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning เป็น Application Ls Good Learning สำหรับนักศึกษา และประชาชนอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อ ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
มีผู้ใช้งานระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning จำนวน 5,000 ครั้ง
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
พัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning เป็น Application Ls Good Learning สำหรับนักศึกษา และประชาชนอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ร้อยละ 100
ผู้ใช้งานระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning มีความพึงพอใจร้อยละ 80
ในระดับดีขึ้นไป
3. ผลการดำเนินการ
ระบุผลการดำเนินการตามเป้าหมาย ตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ
1. มีผู้ใช้งานระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning จำนวน 5,000 ครั้ง
2. พัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning เป็น Application Ls Good Learning สำหรับนักศึกษา และประชาชนอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ร้อยละ 100
3. ผู้ใช้งานระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning มีความพึงพอใจร้อยละ 80
ในระดับดีขึ้นไป
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้ว ส่งผลต่อหน่วยงาน/สถานศึกษาอย่างไร
1. ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนดีขึ้น มีนักศึกษาสอบ N-Net ได้ ๑๐๐ คะแนนเต็ม วิชาทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔
4. ความรู้ที่ได้รับ
การจัดเรียนการเรียนรู้ทางออนไลน์ในยุคดิจิทัล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียน
ที่เป็นอยู่เดิมเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่าง มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและ การประเมินผล โดยรูปแบบการเรียนการสอนมีหลากหลายวิธี ที่จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ การพิจารณาองค์ประกอบและรูปแบบ ที่สอดคล้อง เหมาะสมกับลักษณะวิชา และบริบทของผู้เรียนจะนำไปสู่ การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เห็นได้ ชัดเจนที่สุด ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content) อำนวยความสะดวกการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการเรียนรู้วิถีใหม่ (New Normal) ฉะนั้น การเตรียมการ และการฝึกฝนทักษะของครูไม่ว่าจะพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การถ่ายทอด และการเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี รวมทั้งความกระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครู ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียน โดยก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสถานที่ และอุปสรรคต่างๆ ได้ในที่สุด
5. ปัจจัยความสำเร็จ
1. สำนักงาน กศน.จังหวัดชุมพร มีนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
2. ผู้บริหารให้ความสำคัญ และกำหนดเป็นแนวทางในการกำกับ ติดตามการจัดกระบวนการดำเนินงาน มอบหมายงาน และหน้าที่อย่างชัดเจน
3. ได้รับความร่วมมือจาก กศน.ตำบล จำนวน ๑๓ กศน.ตำบล
4. ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในส่วนวิจัย และพัฒนา มีการประสานงานที่ดี ทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
6. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ และ/หรือรางวัลที่ได้รับ
1. เผยแพร่ผลงานระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning แก่ครูประจำกลุ่มในค่ายทหาร ณ ค่ายเขตอุดมศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
2. เผยแพร่ผลงาน และจัดนิทรรศการระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning สำนักงาน กศน.จังหวัดชุมพร
3. เผยแพร่ผลงานระบบการเรียนการสอนออนไลน์ Ls Good Learning แก่ประชาชนอำเภอ
หลังสวน จังหวัดชุมพร