บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ในครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับพฤติกรรมและคุณลักษณะของนักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 207 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้สอน จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 92 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 92 คน ค่าสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.969 ฉบับที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.928 ฉบับที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.973 ฉบับที่ 4 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.929 และฉบับที่ 5 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.806 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ พบว่า 1) การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม พบว่า มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.27, S.D. = 0.55) 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.29, S.D. = 0.40) 3) การประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.33, S.D. = 0.51) 4) ด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับพฤติกรรมและคุณลักษณะของนักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.16, S.D. = 0.39) และความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.23, S.D. = 0.55)
ผลการประเมินโครงการ
1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context )
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาทุกฝ่าย สอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัดและนโยบายของโรงเรียนและโครงการมีในแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน เป้าหมาย ระยะเวลา งบประมาณ ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน และเครื่องมือของโครงการ มีความเหมาะสม รวมทั้งกิจกรรมในการนิเทศภายในสถานศึกษามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการสอดคล้องกับผลการประเมินของ วันซาวีลา เบ็ญลาเตะ (2563) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 พบว่า ผลการประเมินปัจจัยด้านบริบทที่ใช้ในการดำเนินโครงการนิเทศภายใน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงในภาพรวม ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและผ่านกณฑ์การประเมินทุกด้าน ทั้งนี้เนื่องมาจากหลักการและเหตุผลของโครงการนิเทศภายในมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการและสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของภาคีเครือข่าย คือ นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักการและเหตุผลสอดคล้องกับจุดเน้น นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษา และวัตถุประสงค์กับเป้าหมายของโครงการนิเทศภายในมีความเป็นไปได้สามารถนำมาใช้ได้จริง สอดคล้องกับผลการประเมินของ จิดาภา ใจห่อ (2559) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านท่ามะกา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ด้วยรูปแบบ CIPP Model พบว่า ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมในภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการนิเทศ ภายในมีความเหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาของโรงเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการนิเทศภายในส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานและสถานศึกษาต่าง ๆ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก อาจเนื่องมาจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและวางแผนการจัดกิจกรรมไว้อย่างชัดเจนเป็นระบบ มอบหมายงานให้คณะทำงานได้มีบทบาท ส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและประสานงานระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศอย่างสม่ำเสมอ มีการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานในด้านอาคารสถานที่ที่มีความเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/เครื่องมือในการนิเทศภายในครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจวิธีการปฏิบัติกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการจัดการนิเทศของโรงเรียน และ วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอสะดวกในการเบิกจ่ายงบประมาณ สอดคล้องกับผลการประเมินของ รัตนันต์ สมพงศ์ (2564 ) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนระโนดวิทยา โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนระโนดวิทยาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูผู้สอนมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.65, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.67, S.D. = 0.17) ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด สอดคล้องกับผลการประเมินของ นางสาวปุณยนุช พิมพา (2564) ได้ดำเนินการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนิคมสร้างตนเอง จังหวัดระยอง 4 ปีการศึกษา 2564 พบว่า การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 4 พบว่า ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และสอดคล้องกับผลการประเมินของ ศิวพร กาจันทร์ (2564 ) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2564 พบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x̄ = 4.70 , S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น
3. ด้านกระบวนการ (Process)
ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ครูผู้สอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะการดำเนินงานตามแผนงาน การปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ กระบวนการและการจัดกิจกรรมนิเทศภายใน การประเมินผลการนิเทศภายใน และการบริหารกระบวนการนิเทศภายใน ทั้งนี้อาจเนื่องมากจากการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ครูมีส่วนในการปฏิบัติตามขั้นตอน ผู้บริหารกำกับติดตามการดำเนินงาน และเปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมวางแผนปฏิบัติงาน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการไปในทิศทางเดียวกันและมีรูปแบบกิจกรรมครอบคลุมชัดเจนทุกด้าน มีการยกย่องชมเชยสร้างขวัญและกำลังใจผู้รับผิดชอบโครงการ จึงทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ สอดคล้องกับผลการประเมินของ จักรภพ เนวะมาตย์ (2560) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในวิทยาลัยเทคนิคตาก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศภายในวิทยาลัยเทคนิคตากในภาพรวม ครูผู้สอน มีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละเรื่อง เรื่องที่มีความเหมาะสมสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ เรื่องคณะกรรมการนิเทศภายในทำการนิเทศ ที่มุ่งดูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รองลงมามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้แก่เรื่อง การใช้เทคนิควิธีการนิเทศโดยทางอ้อมหลายๆ วิธี เช่น การประชุมสัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ส่วนเรื่องที่มีความเหมาะสมต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีคะแนนเท่ากัน 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง การปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในปฏิทินการปฏิบัติการนิเทศภายในและการจัดให้มีการยกย่องชมเชยผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรมเมื่อประสบผลสำเร็จ และสอดคล้องกับผลการประเมินของ จามร วรรณากาญจน์ (2563) ได้ดำเนินการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอุโลกสี่หมื่น พบว่า ด้านกระบวนการดำเนินงานพบว่าครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเห็นต่อผลการดำเนินการโครงการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านอุโลกสี่หมื่น ปีการศึกษา 2563 ด้านกระบวนการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินการอยู่ในระดับสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรในการดำเนินโครงการอย่างชัดเจน รองลงมา ได้แก่ โรงเรียนกำหนดกิจกรรมโครงการสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา ลำดับต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม
4. ด้านผลผลิต (Product)
4.1 พฤติกรรมและคุณลักษณะของนักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ มีส่วนสนับสนุนส่งเสริมพฤติกรรมและคุณลักษณะของนักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา ได้ชัดเจน เพราะการดำเนินโครงการตั้งแต่การประเมินสภาพปัญหาความต้องการ ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการเป็นไปตามหลักวิชาการ มีการติดตามประเมินผลและรายงานผล จึงส่งผลให้พฤติกรรมและคุณลักษณะของนักเรียนมีความเอื้อเฟื้อ เอื้ออาทร ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ อย่างสม่ำเสมอ กล้าแสดงออก มีวินัยในตนเองและปฏิบัติตามข้อตกลงของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา มีกระบวนการคิด ควบคุมตนเองได้เหมาะสมกับวัย รู้จักสรุปและบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และพฤติกรรมและคุณลักษณะของครูผู้สอนประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี กำหนดเป้าหมายคุณภาพนักเรียน ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่นักเรียน ทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา วิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน วัดและประเมินผล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย และพฤติกรรมและคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศภายใน นิเทศภายในอย่างเป็นกัลยาณมิตร เปิดโอกาสให้ครูเสนอความคิดและมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สอดคล้องกับผลการประเมินของ ศักดา ใจตรง (2564) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมโรงเรียนเนินขามรัฐประชานุเคราะห์ พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม มีการปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด จากการศึกษา พบว่า โครงการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมได้พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างชัดเจน คือ ความสนใจความรับผิดชอบในการเรียนรู้ ข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ทักษะในการทำกิจกรรมกลุ่มโดยแบ่งหน้าที่รับผิดซอบตามความถนัด การรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการดำเนินโครงการตั้งแต่การประเมินสภาพปัญหาความต้องการปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการเป็นไปตามหลักวิซาการ ติดตามประเมินผลและรายงานผลและการบริหารแบบมีส่วนร่วมจากครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมและชุมชนให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับผลการประเมินของ ศิรินาถ อุดมถิรพันธุ์ (2564) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนตามวงจรคุณภาพ โดยใช้แบบจำลอง (CIPP Model) พบว่า การประเมินผลผลิตของโครงการ เป็นการประเมินผลที่ได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนตามวงจรคุณภาพ ประกอบด้วย ผลการดำเนินกิจกรรมตาม โครงการ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งประกอบด้วย ความพึงพอใจของบุคลากรต่อการจัดกิจกรรมการนิเทศภายใน ความพึงพอใจของนักเรียนต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูและความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อคุณภาพของนักเรียน การประเมินผลผลิตของโครงการจำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ในภาพรวมผ่านเกณฑ์ประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ใช้รูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันต่อเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้ปกครองมีความศรัทธา และให้การยอมรับในตัวครู ให้การสนับสนุนในกิจกรรมของโรงเรียน ส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลการประเมินของ ศิรินาถ อุดมถิรพันธุ์ (2564) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนตามวงจรคุณภาพ โดยใช้แบบจำลอง (CIPP Model) พบว่า สำหรับการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.57 , S.D. = 0.65) โดยผู้ปกครองเห็นว่านักเรียนได้เรียนรู้ ด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ในลำดับสูงสุด ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.85, S.D. = 0.44) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนได้มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน อย่างเต็มตามศักยภาพ และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น สอดคล้องกับ วันซาวีลา เบ็ญลาเตะ (2563 : บทคัดย่อ) ได้ดำเนินการประเมินโครงการนิเทศภายในเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านตันหยง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 พบว่า ด้านความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาต่อโครงการนิเทศภายในเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านต้นหยงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง
สรุปผลการประเมินโดยภาพรวม
การดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ พบว่า ผลการประเมินของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ถือว่าอยู่ในระดับที่พึงพอใจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stuflebeam et al, 1971, p. 128) และควรรักษามาตรฐานหรือพัฒนาแบบต่อยอดต่อไป และควรให้มีการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ในปีการศึกษาถัดไป สอดคล้องกับผลการประเมินของ ศรีภาวรรณ ไสโสภา (2565) ทำการประเมินโครงการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพโรงเรียนตะคร้อพิทยา อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผลการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อโครงการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โรงเรียนตะคร้อพิทยา อำภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 1) ด้านสภาพแวดล้อม พบว่าสภาพแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อเช่นเดียวกัน 2) ด้านปัจจัยการดำเนินงานพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ 3) ด้านกระบวนการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อเช่นเดียวกัน 4) ด้านผลผลิต พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมิน พบว่า โครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง โครงการนิเทศภายในโรงเรียนโคกสูงประชาสรรพ์ ประสบความสำเร็จ ซึ่งแสดงว่า การดำเนิน 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 2) กิจกรรมนิเทศการจัดการเรียนรู้ 3) กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และ 4) กิจกรรมการอบรมและพัฒนาบุคลากร ซึ่งผลการประเมินระดับความสอดคล้องเหมาะสม ทั้ง 4 กิจกรรม พบว่า กิจกรรมการอบรมและพัฒนาบุคลากร มีระดับความสอดคล้องเหมาะสมเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องของการจัดการอบรมพัฒนาบุคลากรให้มากยิ่งขั้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและคุณลักษณะของนักเรียน ครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษาให้มีทิศทางพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการพัฒนารูปแบบของการนิเทศรูปแบบระบบออนไลน์เพื่อความสะดวกในการการประเมินโครงการต่างๆ และส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในปีการศึกษาต่อไป
2.2 ควรส่งเสริมให้บุคลาการในโรงเรียนมีการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศภายใน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียนและชุมชน
2.3 ควรมีการประเมินโครงการที่จัดขึ้นในโรงเรียนเป็นระยะเพื่อนำผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทั้งระบบ