วิจัยหน้าเดียว
ชื่องานวิจัย การพัฒนาทักษะในด้านการอ่านคำควบกล้ำ โดยใช้การสอนแบบ Active learning
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางสาวภิรมยา โพธิ์รินทร์
ภูมิหลัง
ทักษะการอ่านเป็นกระบวนการที่สามารถต่อยอดให้ผู้เรียนเป็นนักคิดอย่างมีกระบวนการ ซึ่งจะส่งผลให้ฟัง พูด และเขียนอย่างมีกระบวนการด้วย ซึ่งการอ่านนั้นเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของคนเราที่จะต้องใช้ในการสื่อสาร การอ่านที่ถูกต้องย่อมส่งผลต่อผู้รับสารที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการอ่านคำควบกล้ำในภาษาไทย ซึ่งคำควบกล้ำนั้นจะเป็นคำที่นักเรียนบางคนอ่านไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารและสื่อความหมายผิดได้ ดังนั้นการสอนที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะด้านการอ่านคำควบกล้ำที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องใช้การสอนแบบ Active learning ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสร้างสรรค์ทางปัญญา เน้นกระบวนการเรียนรู้ ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือการเรียนรู้ ที่มีผู้สอนเป็นผู้แนะนำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะในด้านการอ่านคำควบกล้ำ โดยใช้การสอนแบบ Active learning มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจการสอนแบบ Active learning เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการอ่านคำควบกล้ำ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ความมุ่งหมายการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการอ่านคำควบกล้ำ โดยใช้การสอนแบบ Active learning ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้การสอนแบบ Active learning
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 19 คน
วิธีการวิจัย
1. ปฏิบัติการสอน โดยใช้วิธีการสอนแบบ Active learning
2. ทำการทดสอบก่อนและหลังเรียน โดยผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน
3. นำผลการทดลอง ข้อ 2 และ 3 ไปวิเคราะห์ทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
1. การสอนแบบ Active learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 85.60
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบ Active
Learning พบว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05