ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี

1. สภาพปัญหา ความต้องการ/ความสำคัญ

นโยบายหลักในการจัดการศึกษาของชาติ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545) และฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2553) ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตโดยให้ทุกๆ คนในชาติที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมให้มีการปฏิรูปการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนและเต็มตามศักยภาพและหมวด 4 มาตรา 24 ยังได้ระบุ ไว้อย่างชัดเจน ว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้สถานศึกษาต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น (กระทรวงศึกษาธิการ,2553 : 34-56) ซึ่งตรงกับการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นมีความรู้ความสามารถ มีสมรรถนะที่สำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติและโลกนั้น ต้องมีแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active learning เพื่อผู้เรียนเกิดทักษะที่สำคัญซึ่งจะนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายการศึกษา ไทย 4.0 ซึ่งสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2560) ได้อธิบายว่า Active Learning คือ กระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินในการจัดกิจกรรมการรู้เพื่อสร้างความเข้าใจลึกซึ้งด้วยการเชื่อมโยงผู้เรียนกับเนื้อหาในองค์ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง แนวคิดและทักษะผ่านการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง การเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีการ ปรับเปลี่ยนปฏิรูปสังคมไปสู่ความเป็นสังคมใหม่ ประกอบกับแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียนให้เป็นรูปที่สมบูรณ์มีความสมดุลทั้งด้านร่างกายจิตใจสติปัญญา อารมณ์และสังคมสามารถพัฒนาตนเอง และร่วมมือกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงามสุนทรียภาพ ความมีคุณค่าซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการจัดกิจกรรมศิลปะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนโดยตรงทั้งด้านร่างกายจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์การเรียนการสอนศิลปศึกษาในปัจจุบันนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพ ของมนุษย์

การพัฒนากระบวนการรับรู้ทางศิลปะ การเห็นภาพรวมการสังเกตรายละเอียดสามารถค้นพบศักยภาพของตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ด้วยการมีความรับผิดชอบ มีระเบียบ วินัย สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข การเรียนรู้ศิลปะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ การคิดที่เป็นเหตุเป็นผลถึงวิธีการทางศิลปะความเป็นมาของรูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นและรากฐานทางวัฒนธรรม ค้นหาว่าผลงานศิลปะสื่อความหมายกับตนเอง ค้นหาศักยภาพ ความมั่นใจส่วนตัว ฝึกการรับรู้การสังเกตที่ ละเอียดอ่อนอันนำไปสู่ความรัก เห็นคุณค่าและเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะและสิ่งรอบตัว พัฒนาเจตคติ สมาธิรสนิยมส่วนตัวมีทักษะ กระบวนการวิธีการแสดงออกการคิด สร้างสรรค์ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึง บทบาทของศิลปกรรมในสังคม ในบริบทของการสะท้อนวัฒนธรรมทั้งของตนเองและวัฒนธรรมอื่นพิจารณาว่ารูปในวัฒนธรรมของตนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่องานศิลปะ ช่วยให้มีมุมมองและเข้าใจโลกทัศน์กว้างไกล ช่วยเสริม ความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์ด้านอื่น ๆ สะท้อนให้เห็นมุมมองของชีวิตสภาพเศรษฐกิจสังคม การเมืองการปกครอง และความเชื่อความศรัทธาทางศาสนา ด้วยลักษณะธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะการเรียนรู้ เทคนิค วิธีการทำงานตลอดจนเปิดโอกาสให้แสดงออกอย่างอิสระทำให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ดัดแปลงจินตนาการ มีสุนทรียภาพและเห็นคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมไทยและสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีจินตนาการทางศิลปะชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่าซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนําไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ ทัศนศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ สร้างและนําเสนอผลงานทางทัศนศิลป์จากจินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมรวมทั้งสามารถใช้เทคนิค วิธีการของศิลป์นในการสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ชื่นชม ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน และเป็นวิชาที่ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมศิลปะช่วยพัฒนา ผู้เรียนทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนา สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมันในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพได้ โดย มีกระบวนการอยางสร้างสรรค์ อย่างหลากหลาย การเรียนรู้จะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ได้ต้องขึ้นอยู่กับการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมสอดคล้องกับความถนัด ความแตกต่างของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งปลูกฝัง

คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์นั้น คือการจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนการสอนที่ไม่เร้าใจ นักเรียนไม่ได้แสดงออกทางความคิดเบื่อหน่ายต่อการรับรู้ทางการเรียน ซึ่งส่งผลไม่ดีต่อคุณภาพโดยรวม ดังรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ) ครูผู้สอนจะต้องหาแนวทางปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจัดกิจกรรมการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้คิดแบบสร้างสรรค์มีทักษะในการเรียนศิลปะ มีทักษะในการแก้ปัญหาปลูกฝังทักษะ ในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการทำงานในรูปกระบวนการ กลุ่มและให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา จากปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้หาวิธีการและแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยคิดเครื่องมือเข้ามาช่วยในการสอนการระบายสีไม้ จึงได้วางแผนดำเนินการแก้ไข ดังนี้คือ ศึกษาวิธีการสอนจากเอกสารหลักสูตร ตำราที่เกี่ยวกับเทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการ

สอนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการสอนการระบายสีไม้ รวมทั้งการใช้สื่อ การเรียนการสอน จัดสร้างสื่อ และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ประกอบการสอน เช่น ชุดแบบฝึกการะบายสีไม้ เอกสารประกอบการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเองและสนใจเรียนมากขึ้น ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ นับว่า เป็นสื่อทางการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งเหมาะที่จะนำ มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นการ นำเอาสื่อการสอนเทคนิค วิธีการใหม่ๆ เข้ามาประกอบการเรียนการสอน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะนำมาแก้ปัญหาดังกล่าวได้การนำนวัตกรรมในรูปของชุดแบบฝึกการะบายสีไม้ 5 ขั้นตอน เข้ามาเสริมในการจัดการเรียนการสอน จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ตามจุดหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้ ชุดแบบฝึกการะบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S เป็นการรวบรวมเทคนิควิธีการระบายสีแบบต่างๆ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 smoothing การระบายเรียบ ขั้นตอนที่ 2 scaling การระบายไล่สี

ขั้นตอนที่ 3 seting ระบายผสานสี ขั้นตอนที่ 4 shaping ระบายสร้างรูปทรง ขั้นตอนที่ 5 scen making ระบายเกิดระยะ จึงนำมาจัดไว้เกี่ยวเนื่องกันในเนื้อหาวิชาเพียงเรื่องเดียวที่เริ่มจากขั้นตอนที่ง่ายไปถึงขั้นตอนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ยังเป็นรูปแบบเพื่อช่วยเหลือครูให้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ผู้วิจัยได้นำปัญหาการจัดกระบวนการเรียนการสอนกลุ่มสาระศิลปะสาระทัศนศิลป์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จะแก้ปัญหาให้ได้ในปีการศึกษา 2565 โดยการใช้สื่อการเรียนรู้ที่เรียกว่า ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ดังนั้น การใช้ชุดแบบฝึกทักษะจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการช่วยให้นักเรียน ได้ฝึกฝนการระบายสีไม้อย่างเป็นลําดับขั้นตอนและต่อเนื่อง จึงได้ออกแบบชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการ ระบายสีไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยมีลักษณะเนื้อหาที่ประกอบด้วยทฤษฎีศิลป์ ภาพตัวอย่าง แบบฝึกภาคปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและพัฒนาทักษะการระบายสีไม้ รวมทั้งยังสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะให้แก่นักเรียนได้เพื่อประกอบการสอนบทเรียนนี้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นและทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

2. วัตถุประสงค์ เป้าหมายของการดำเนินงาน

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน เรื่องทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี

2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี

3. กระบวนการ หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 252 คน

2)กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

3) ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าได้ใช้เวลาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

4) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ครั้งนี้มี 4 ชนิด คือ

1.ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S

2.แบบประเมินทักษะการระบายสีไม้ก่อนเรียนและหลังเรียน

3.แบบสรุปผลพัฒนาการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S

4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทักษะการระบาย

ด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี จำนวน 10 ข้อ มีการประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ เกณฑ์การให้คะแนนแบบสอบถาม ดังนี้

5 มีระดับความพึงพอใจ มากที่สุด

4 มีระดับความพึงพอใจ มาก

3 มีระดับความพึงพอใจ ปานกลาง

2 มีระดับความพึงพอใจ น้อย

1 มีระดับความพึงพอใจ น้อยที่สุด

5) การวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 โรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 5 ชั่วโมง

6) วิธีดำเนินการศึกษาครั้งนี้ แบบแผนที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้กระบวนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) โดยใช้แผนการทดลองแบบ The Group Pretest-Posttest Design

กลุ่ม ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน

C1 T1 X T2

เมื่อ C1 แทน กลุ่มทดลอง T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน

X แทน การทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะ T2 แทน การทดสอบหลังเรียน

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.2.1 ขั้นเตรียมการ

1. การสร้างสื่อชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S

1.1 ขั้นเตรียมการผลิตสื่อ โดยการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาสภาพปัจจุบันของปัญหาการเรียนการสอนระบายสี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนการสอนศึกษาเทคนิคและกระบวนการผลิตสื่อการเรียนการสอนเข้าอบรมสัมมนาเกี่ยวกับเทคนิค และกระบวนการผลิตสื่อการเรียนการสอน

1.2 กำหนดเนื้อหาในการใช้ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

2. วิธีการใช้ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S

2.1 ศึกษาหนังสือ เอกสารเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำหลักสูตร

2.2 ทำการวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

หน่วยที่ 1 สังเกตสู่สร้างสรรค์

2.3 กำหนดรายละเอียดของเนื้อหาและวัตถุประสงค์โดยให้สัมพันธ์กับหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน่วยที่ 1 สังเกตสู่สร้างสรรค์

ดังกล่าวไว้แล้วกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน

2.4 ศึกษาเอกสารและตำราถึงวิธีการสร้างสื่อ ในรูปแบบต่าง ๆ

2.5 ใช้สื่อชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ตั้งไว้โดยดำเนินการวางโครงเรื่องที่จะเขียนเป็นลำดับ เรื่องราวก่อนหลัง จากง่ายไปหายากแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆแต่ละตอนต้องสัมพันธ์กัน โดยสร้างชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S จำนวน 1 ชุด ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 smoothing การระบายเรียบ

ขั้นตอนที่ 2 scaling การระบายไล่สี

ขั้นตอนที่ 3 seting ระบายผสานสี

ขั้นตอนที่ 4 shaping ระบายสร้างรูปทรง

ขั้นตอนที่ 5 scen making ระบายเกิดระยะ

3.หาคุณภาพของเครื่องมือโดยให้ผู้เชี่ยวชาญในสายชั้นทำแบบประเมินสื่อสรุปหาค่าร้อยละ

3.2.2 ขั้นดำเนินการ

1.ทดลองกับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2565โรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 30 คน ดำเนินการรวบรวมคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

2.ใช้สื่อเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมในสื่อชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S

3.นำชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เนื้อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ดังนี้ ทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน คือ นักเรียนที่มีปัญหาขาดทักษะในการระบายสีไม้โดยใช้ ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ขั้นตอนเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในเรื่องเวลาการใช้ภาษากิจกรรมต่างๆ ที่จัดไว้ในบทเรียนทำการเก็บข้อมูลต่างๆ โดยสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนตลอดจนตรวจดูผลงานจากการทำแบบฝึกทักษะระหว่างเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมอย่างใกล้ชิดแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง ดังตาราง

สัปดาห์ที่ วัน เดือน ปี ชั่วโมงที่ รายการที่เก็บข้อมูล

1 1 มิ.ย. 2565 1 ทดสอบก่อนเรียน ศึกษาใบความรู้และฝึกปฏิบัติระบายสีไม้ ขั้นตอนที่ 1 smoothing การระบายเรียบ

2 8 มิ.ย. 2565 2 ศึกษาใบความรู้และฝึกปฏิบัติระบายสีไม้

ขั้นตอนที่ 2 scaling การระบายไล่สี

3 15 มิ.ย. 2565 3 ศึกษาใบความรู้และฝึกปฏิบัติระบายสีไม้

ขั้นตอนที่ 3 seting ระบายผสานสี

4 22 มิ.ย. 2565 4 ศึกษาใบความรู้และฝึกปฏิบัติระบายสีไม้

ขั้นตอนที่ 4 shaping ระบายสร้างรูปทรง

5. 29 มิ.ย. 2565 5 ศึกษาใบความรู้และฝึกปฏิบัติระบายสีไม้

ขั้นตอนที่5 scen making ระบายเกิดระยะทดสอบหลังเรียน

ในการดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดแบบฝึกระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ในการดำเนินงานในแต่ละเรื่องนั้น ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ประเมินทักษะการปฏิบัติงานและกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน ทั้งการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อประเมินพัฒนาการของนักเรียนครบทุกแผนการจัดกาเรียนรู้ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือ 3 ชนิด ได้แก่ ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ ด้วยเทคนิค 5’S แบบประเมินทักษะการระบายสีไม้

ก่อนเรียน-หลังเรียนและแบบสรุปผลพัฒนาการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S

4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติงาน เรื่องการวาดภาพระบายสีเป็นแบบประเมินทักษะการปฏิบัติตนของนักเรียนขณะร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามกิจกรรมกำหนดรวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ระหว่างเรียนด้วย มีขั้นตอน การสร้าง ดังนี้

4.1 แบบประเมินทักษะปฏิบัติและกำหนดรูปแบบการประเมินทักษะปฏิบัติ

4.2 แบบประเมินทักษะการระบายสีโดยใช้ชุดแบบฝึกการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S มี 5 ระดับคะแนน ดังนี้

5 ระบายสีได้ครบถ้วนสวยงาม สะอาด ถูกต้องสมบูรณ์

4 ระบายสีได้ตามแบบอย่างทั้งรูป สะอาด แต่มีรายละเอียดไม่สมบูรณ์

3 ระบายสีได้ตามแบบอย่างไม่ครบทั้งรูป สะอาด รายละเอียดไม่สมบูรณ์

2 ระบายสีได้ไม่ครบถ้วน ทั้งรูป งานสกปรกและรายละเอียด ไม่สมบูรณ์

1 ระบายสีไม่ได้ งานสกปรก ทั้งรูปและไม่มีรายละเอียด ไม่สมบูรณ์

5) นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสีไม้ซึ่งได้มาจากแบบวัดที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ

3.2.3 ขั้นประเมินผล

1) นำข้อมูลที่ได้มาหาผลการพัฒนาความแตกต่างระหว่างการทดสอบก่อนทดลองและหลังทดลองด้วยสถิติร้อยละ

2) นำผลที่ได้มาวิเคราะห์และรายงานผล

4. ผลการดำเนินงาน

1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน เรื่องทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี ดังตาราง

ตาราง แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน เรื่องทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี

C1 T1 T2 คะแนนผลต่าง

1 12 19 7

2 14 19 5

3 15 19 4

4 15 20 5

5 12 18 6

6 12 18 6

7 12 18 6

8 14 18 4

9 13 16 3

10 11 16 5

11 10 16 6

12 10 19 9

13 10 18 8

14 12 18 6

15 14 18 4

16 12 17 5

17 10 18 8

18 10 16 6

19 12 17 5

20 12 17 5

21 12 17 5

22 10 18 8

23 10 18 8

24 12 17 5

25 14 17 3

26 14 18 4

27 12 18 6

28 12 19 7

29 12 18 6

30 11 18 7

รวม 361 533 172

12.03 17.77 5.73

S.D. 1.54 1.01 1.53

ร้อยละ 60.17 88.83 28.67

จากตารางแสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน เรื่องทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี จำนวน 30 คน พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ย (X ̅= 12.03 ) คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย (X ̅= 17.77 ) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนเรียน เท่ากับ 1.54 หลังเรียนเท่ากับ 1.01 ซึ่ งแสดงให้เห็นว่าหลังเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

2. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี ดังตาราง

ตาราง แสดงผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี

ที่ รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ SD เกณฑ์การประเมิน

1 ประโยชน์ของกิจกรรม 4.66 93.13 0.61 มากที่สุด

2 ความเหมาะสมของกิจกรรม 4.27 85.34 0.52 มาก

3 การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง 4.34 86.87 0.67 มาก

4 ระยะเวลาปฏิบัติกิจกรรม 4.31 86.26 0.67 มาก

5 ผู้รับผิดชอบกิจกรรม 4.17 83.31 0.71 มาก

6 การนิเทศ กำกับ ติดตาม 4.35 87.02 0.55 มาก

7 ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน 4.62 92.37 0.49 มากที่สุด

8 ผลที่เกิดขึ้นกับครู 4.39 87.79 0.68 มาก

9 ความสำเร็จของกิจกรรม 4.76 95.20 0.51 มากที่สุด

10 ภาพรวมความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม 4.20 83.97 0.79 มาก

รวม 4.41 88.13 0.62 มาก

จากตาราง แสดงผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี จำนวน 30 คน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.97 (X ̅= 4.20 ) และมีความพึงพอใจในความสำเร็จของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 95.20 อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.76 ) รองลงมาประโยชน์ของกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.66 ) ผลที่เกิดขึ้นกับครู อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.62 ) ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.39 ) การนิเทศ กำกับ ติดตาม อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.35 ) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.34 ) ระยะเวลาปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.31 ) และความเหมาะสมของกิจกรรม ระดับมากที่สุด (X ̅= 4.27 ) ตามลำดับ

4.2 ผลสัมฤทธิ์

1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด

2) นักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระทัศนศิลป์สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด

4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด

2) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่อง

ทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี พบว่า นักเรียนมีคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (X ̅= 12.03 ) คะแนนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย (X ̅= 17.77 ) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนเรียน เท่ากับ 1.54 หลังเรียนเท่ากับ 1.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคะแนนหลังเรียนของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการระบายด้วยเทคนิค 5’S โดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการระบายสี อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.97 (X ̅= 4.20 )

4.4 ข้อเสนอแนะ

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุดฝึกทักษะการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ควรมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับผู้เรียนอยู่เสมอ

2. ครูผู้สอนควรจัดสื่ออุปกรณ์ให้พร้อมและจัดกิจกรรมสาธิตการการระบายสีไม้ด้วยเทคนิค 5’S ในทุกๆ หน่วยการเรียนรู้ก่อนที่นักเรียนจะปฏิบัติงานจริง

3. การปฏิบัติงานการระบายสีไม้จากชุดฝึกทักษะครูยังต้องให้คำแนะนำกำกับดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความเข้าใจและตอบข้อสงสัยในชุดฝึกทักษะทำให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ภายในห้องเรียน

4. นักเรียนให้ความสนใจและมีความกระตือรือร้นกับการเรียนในเนื้อหาที่มีรูปภาพ เช่น

เช่น ภาพตัวอย่าง และภาพขั้นตอนการระบายสีไม้ทำให้นักเรียนอยากปฏิบัติงาน จึงควรปรับปรุงรูปแบบสื่อ และเพิ่มเติมรูปภาพ เพื่อการตอบสนอง และกระตุ้นความกระตือรือร้นของผู้เรียน และทำให้ชุดฝึกทักษะมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

โพสต์โดย นางสาวอรอุมา เกตุสวัสดิ์สมคร : [29 พ.ย. 2566 (15:16 น.)]
อ่าน [1341] ไอพี : 61.7.172.169
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 86,724 ครั้ง
สรุปสูตร วงกลม
สรุปสูตร วงกลม

เปิดอ่าน 22,072 ครั้ง
จำปาดะ
จำปาดะ

เปิดอ่าน 8,706 ครั้ง
คนชอบนอนกลางวันสมองบรรเจิดจินตนาการ
คนชอบนอนกลางวันสมองบรรเจิดจินตนาการ

เปิดอ่าน 54,598 ครั้ง
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง

เปิดอ่าน 17,164 ครั้ง
พุทธคุณ 9
พุทธคุณ 9

เปิดอ่าน 16,526 ครั้ง
จระเข้เขมือบครูฝึกทั้งเป็น ที่เป็นข่าว
จระเข้เขมือบครูฝึกทั้งเป็น ที่เป็นข่าว

เปิดอ่าน 74,449 ครั้ง
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0

เปิดอ่าน 88,370 ครั้ง
ฮือฮา! รถใช้น้ำแทนน้ำมัน วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร
ฮือฮา! รถใช้น้ำแทนน้ำมัน วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

เปิดอ่าน 15,556 ครั้ง
"เก้าอี้เปลี่ยนโลก" ฝีมือเยาวชน PTTEP Teenergy ช่วยลดปัญหาโลกร้อนง่ายๆ ด้วยตัวเอง
"เก้าอี้เปลี่ยนโลก" ฝีมือเยาวชน PTTEP Teenergy ช่วยลดปัญหาโลกร้อนง่ายๆ ด้วยตัวเอง

เปิดอ่าน 11,545 ครั้ง
การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society
การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society

เปิดอ่าน 14,665 ครั้ง
"SEGWAY" นวตกรรมแห่งโลกอนาคต
"SEGWAY" นวตกรรมแห่งโลกอนาคต

เปิดอ่าน 12,596 ครั้ง
วาซาบิ
วาซาบิ

เปิดอ่าน 10,375 ครั้ง
"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์
"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์

เปิดอ่าน 32,376 ครั้ง
วิธีแก้ปัญหาเสื้อผ้าเหม็นอับ
วิธีแก้ปัญหาเสื้อผ้าเหม็นอับ

เปิดอ่าน 10,794 ครั้ง
8 นิสัยการทานอาหารที่คุณสาว ๆ มักทำพลาด
8 นิสัยการทานอาหารที่คุณสาว ๆ มักทำพลาด

เปิดอ่าน 41,396 ครั้ง
น่าประทับใจการแสดงของนักเรียน พร้อมใจกันเต้นบาสโลป มุทิตาจิตแด่ครูผู้เกษียณอายุราชการ ปีการศึกษา 2559
น่าประทับใจการแสดงของนักเรียน พร้อมใจกันเต้นบาสโลป มุทิตาจิตแด่ครูผู้เกษียณอายุราชการ ปีการศึกษา 2559
เปิดอ่าน 10,846 ครั้ง
คลิปลูกสาวจัดวิวาห์ที่ รพ. เพื่อให้ได้เต้นรำกับพ่อก่อนตาย
คลิปลูกสาวจัดวิวาห์ที่ รพ. เพื่อให้ได้เต้นรำกับพ่อก่อนตาย
เปิดอ่าน 38,908 ครั้ง
เทควันโด : ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเทควันโด
เทควันโด : ประโยชน์ของการเล่นกีฬาเทควันโด
เปิดอ่าน 8,191 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (จบ)
เปิดอ่าน 20,316 ครั้ง
ภาษาพูด
ภาษาพูด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ