ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL

ชื่อผลงาน การพัฒนาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL

1. ความสำคัญของนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่กล่าว “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุก คนมีความสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหา สาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการได้ฝึกปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มี ปัญญา มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาและประกอบอาชีพ และมีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของ ผู้เรียนไว้ 5 ประการ ดังนี้ 1)ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผล และความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม

วิชาสุขศึกษาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต การดูแลตนเองตลอดจนการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในสังคมปัจจุบัน ผู้เรียนสามารถนำความรู้ในวิชาสุขศึกษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเป็น วิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเพื่อการดำรงสุขภาพการสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้ยั่งยืน ในการเรียนรู้สุขศึกษา ผู้เรียนจะได้รับการกระตุ้นแรงจูงใจให้กำหนดเป้าหมายที่เป็นจริง และมีคุณค่าในการพัฒนารูปแบบวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี พัฒนาทักษะการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม รู้จัก การสร้างความรับผิดชอบและสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่นทั้งที่สถานศึกษา ที่บ้านและในชุมชน ทั้งชุมชน ที่ตนเองอยู่อาศัยและชุมชนอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไป ได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตที่แตกต่างกันและยอมรับในความแตกต่างนั้น เกิดการพัฒนาความสามารถในการเผชิญกับปัญหาท้าทาย ความเครียด ความกดดัน ความขัดแย้งและการสร้างเสริมสุขภาพ จึงควรจัดให้เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนควร ให้สอดคล้องกับลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่นวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมสากล โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากบ้าน ชุมชน และท้องถิ่นไปพร้อมกัน

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หมายถึง การออกแบบการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริงสร้างองค์ความรู้ผ่านการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) การได้ปฏิบัติงานสร้างสรรค์งานและนำเสนองานด้วยตัวเอง การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ขั้นสูง (Higher- Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งคำถามและอภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง โดยต้องคำนึงถึงความรู้เดิมและความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความสนใจ CIPPA MODEL เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมและกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา(ทิศนา แขมมณี. 2546 : 10-11) ซึ่งมีรายละเอียดของรูปแบบดังนี้

C มาจากคำว่า Construct หมายถึงการสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivitsm กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ ด้วยตนเองซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง การเรียนรู้ที่มี โอกาสสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางปัญญา

I มาจากคำว่า Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม รอบตัวกิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งเป็นการช่วยผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม

P มาจากคำว่า Physical Participation หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาส เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย

P มาจากคำว่า Process learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การแสวงหาความรู้กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการพัฒนาตนเองเป็นต้น การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนการเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญาอีกทางหนึ่งและมีผลงานจากการเรียนรู้

A มาจากคำว่า Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ซึ่งจะ ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL ในเนื้อหา หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามผลการเรียนที่คาดหวังไว้ จำนวน 3 แผน โดยใช้เวลาในการจัดกิจกรรมแผนละ 1 ชั่วโมง ซึ่งมีกระบวนการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นการทบทวนความรู้เดิม หมายถึงการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะศึกษา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง การแสวงหาข้อมูลหรือความรู้ใหม่โดยเตรียมมาให้หรือแนะนำแหล่งข้อมูลให้ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนแสวงหา 3. ขั้นศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม หมายถึง ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลหรือความรู้ และสรุปความเข้าใจถึงข้อมูลนั้นๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆด้วยตนเอง ได้แก่ กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มในการอธิบายสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ 4. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม หมายถึง ผู้เรียนตรวจสอบความเข้าใจของตนเองโดยผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 5. ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้ หมายถึง การสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งความรู้เดิม และความรู้ใหม่และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย 6. ขั้นการแสดงผลงาน หมายถึง การให้ผู้เรียนได้แสดงผลงานการสรรค์สร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นได้รับรู้ จะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 7. ขั้นประยุกต์ใช้ หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองให้เป็นไปอย่างมีระสิทธิภาพมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรวมทั้งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้และช่วยสร้างความตระหนักถึงภัยของยาเสพติด

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

2.1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2.2 . เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1) ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 57 คน

2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

-แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความ

ปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชั่วโมง

-แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยใน

ชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ จากสูตร KR-20 ใช้เกณฑ์ความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.89

-แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ มีการประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ เกณฑ์การให้คะแนนแบบสอบถาม ดังนี้

5 มีระดับความพึงพอใจ มากที่สุด

4 มีระดับความพึงพอใจ มาก

3 มีระดับความพึงพอใจ ปานกลาง

2 มีระดับความพึงพอใจ น้อย

1 มีระดับความพึงพอใจ น้อยที่สุด

4) การวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง

5) วิธีดำเนินการศึกษาครั้งนี้ แบบแผนที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้กระบวนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) โดยใช้แผนการทดลองแบบ The Group Pretest-Posttest Design

กลุ่ม ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน

C1 T1 X T2

เมื่อ C1 แทน กลุ่มทดลอง

T1 แทน การทดสอบก่อนเรียน

X แทน การจัดการเรียนรู้ รูปแบบ CIPPA Model

T2 แทน การทดสอบหลงเรียน

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.2.1 ขั้นเตรียมการ

1) ศึกษาปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ

2) วิเคราะห์ปัญหาและสร้างทางเลือกที่จะแก้ปัญหาโดยการสร้างนวัตกรรม

3) การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ทฤษฎี

PDCA (Deming Cycle) เข้ามาใช้ในการสร้าง

4) ศึกษารูปแบบ CIPPA Model ในการวิจัยครั้งนี้ได้เลือกการเรียนรู้แบบ CIPPA

Model เป็นทางการและกำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นการทบทวนความรู้เดิม ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นการแสดงผลงาน และขั้นประยุกต์ใช้

5) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL ซึ่งมีการสอดแทรกกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน (ทักษะในศตวรรษที่ 21) ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการคิด ความสามารถในแก้ปัญหาและความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต จำนวน 3 แผน ดังนี้

แผนการเรียนรู้ที่ 1 ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการติดสารเสพติด

แผนการเรียนรู้ที่ 2 การปฏิบัติตนให้พ้นสารเสพติด

แผนการเรียนรู้ที่ 3 ทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติด

ตาราง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ และระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

แผนที่/เรื่องที่ สาระการเรียนรู้ สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ จำนวนชั่วโมง

1 ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการติดสารเสพติด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดสารเสพติด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดสารเสพติด บอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดได้ 2

2.การปฏิบัติตนให้พ้นสารเสพติด การปฏิบัติตนให้พ้นสารเสพติด การปฏิบัติตนให้พ้นสารเสพติด บอกวิธีการปฏิบัติตนให้พ้นจากสารเสพติดได้ 1

3.ทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติด ทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติด ทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติด มีทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติดได้ 1

3.2.2 ขั้นดำเนินการ

1) ทดลองกับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 57 คน ดำเนินการรวบรวมคะแนนทั้งคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน

2) นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL ซึ่งได้มาจากแบบวัดที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ

3.2.3 ขั้นประเมินผล

1) นำข้อมูลที่ได้มาหาผลการพัฒนาความแตกต่างระหว่างการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติร้อยละ

2) นำผลที่ได้มาวิเคราะห์และรายงานผล

3.3 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

วิธีการ เครื่องมือ ระดับคุณภาพ

ประเมินคุณภาพแบบทดสอบ

เรื่องสารเสพติดให้โทษ แบบประเมินคุณภาพแบบทดสอบเรื่องสารเสพติดให้โทษ ดีมาก

ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL ดี

ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดี

4. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 ผลการดำเนินงาน

1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ตารางเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

C1 T1 T2 คะแนนผลต่าง

1 5 9 4

2 4 8 4

3 3 8 5

4 4 10 6

5 5 10 5

6 4 9 5

7 3 10 7

8 4 10 6

9 5 10 5

10 3 9 6

11 4 8 4

12 5 10 5

13 3 10 7

14 3 10 7

15 3 8 5

16 3 9 6

17 3 10 7

18 2 10 8

19 3 10 7

20 2 9 7

21 2 9 7

22 2 9 7

23 3 9 6

24 3 8 5

25 3 8 5

26 2 9 7

27 3 8 5

28 3 9 6

29 3 8 5

30 2 8 6

31 3 8 5

32 2 9 7

33 3 8 5

34 2 9 7

35 4 10 6

36 4 10 6

37 3 9 6

38 4 10 6

39 3 9 6

40 4 10 6

41 3 9 6

42 4 10 6

43 3 9 6

44 4 9 5

45 3 9 6

46 4 10 6

47 3 10 7

48 3 10 7

49 3 9 6

50 3 9 6

51 3 10 7

52 4 9 5

53 4 9 5

54 3 10 7

55 3 9 6

56 5 9 4

57 4 10 6

รวม 188 524 336

3.29 9.18 5.89

S.D. 0.82 0.74 0.94

ร้อยละ 32.86 91.79 58.93

จากตาราง พบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนมีคะแนน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29 (S.D.= 0.28) และหลังจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.18 (S.D.= 0.74) ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

2) ผลการความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ตาราง แสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ SD เกณฑ์การ

ประเมิน

1. ครูมีการเตรียมการสอน 4.39 87.72 0.59 มาก

2. การจัดบรรยากาศห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ 4.14 82.81 0.61 มาก

3. เนื้อหาที่สอนทันสมัยนำไปใช้ได้จริง 4.18 83.51 0.82 มาก

4. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ชัดเจน 4.58 91.58 0.56 มากที่สุด

5. กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน 4.39 87.72 0.59 มาก

6. ครูส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 4.39 87.72 0.59 มาก

7. ครูส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และร่วมกันอภิปราย 4.14 82.81 0.61 มาก

8. กิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจ 4.18 83.51 0.82 มาก

9. ครูให้โอกาสนักเรียนซักถามปัญหา 4.58 91.58 0.56 มากที่สุด

10. ครูใช้วิธีการสอนและใช้สื่ออย่างหลากหลาย 4.39 87.72 0.59 มาก

11. ครูยอมรับความคิดเห็นของนักเรียน 4.75 95.09 0.51 มากที่สุด

12. ครูให้ความสนใจแก่นักเรียนอย่างทั่วถึงขณะสอน 4.81 96.14 0.39 มากที่สุด

13. ครูส่งเสริมให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้จากห้องสมุด อินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ 4.18 83.51 0.82 มาก

14. ครูตั้งใจสอนให้คำแนะนำ ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการทำกิจกรรม 4.58 91.58 0.56 มากที่สุด

15. ครูมีบุคลิกภาพ การแต่งกายและการพูดจาเหมาะสม 4.54 90.88 0.70 มากที่สุด

16. ครูเข้าสอนและออกตรงเวลา 4.51 90.18 0.68 มาก

17. นักเรียนทราบเกณฑ์การประเมินผลล่วงหน้า 4.14 82.81 0.61 มาก

18. นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียน 4.75 95.09 0.51 มากที่สุด

19. ครูประเมินผลอย่างยุติธรรม 4.67 93.33 0.54 มากที่สุด

20. นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข 4.67 93.33 0.51 มากที่สุด

รวม 4.56 91.19 0.58 มากที่สุด

จากตาราง แสดงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่องสารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จำนวน 57 คน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.19 ( X ̅= 4.56) ครูให้ความสนใจแก่นักเรียนอย่างทั่วถึงขณะสอน อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.14 ( X ̅= 4.81) ครูยอมรับความคิดเห็นของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95.05 ( X ̅= 4.75) นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95.05 ( X ̅= 4.75) ครูประเมินผลอย่างยุติธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.33 ( X ̅= 4.67) นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.33 ( X ̅= 4.67) ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.85 ( X ̅= 4.58) ครูให้โอกาสนักเรียนซักถามปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.85 ( X ̅= 4.58 ) ครูตั้งใจสอนให้คำแนะนำช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการทำกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.85 ( X ̅= 4.58 ) ครูใช้วิธีการสอนและใช้สื่ออย่างหลากหลาย อยู่ในระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 87.72 ( X ̅= 4.39) ครูส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.72 ( X ̅= 4.39) กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.72 ( X ̅= 4.39) ครูมีการเตรียมการสอนอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.72 ( X ̅= 4.3 9) เนื้อหาที่สอนทันสมัยนำไปใช้ได้จริง อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.51( X ̅= 4.18) กิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.51 ( X ̅= 4.18) ครูส่งเสริมให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้จากห้องสมุดอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.51 ( X ̅= 4.18) นักเรียนทราบเกณฑ์การประเมินผลล่วงหน้า อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 82.81 ( X ̅= 4.14)

4.2 ผลสัมฤทธิ์

1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัด

2) นักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาเรื่องสารเสพติดให้โทษสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด

4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดเรื่อง

สารเสพติดให้โทษทุกตัวชี้วัด

2) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนมีคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบ CIPPA MODEL

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.19 ( X ̅= 4.56)

5. ปัจจัยความสำเร็จ

5.1 นางสาวสุพัฒนา ดีเทียนอินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ ที่ได้สนับสนุนและส่งเสริมคุณครูให้มีการพัฒนาตนเองและผู้เรียนเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

5.2 หัวหน้างานวิชาการของโรงเรียนที่มีส่วนช่วยในการส่งเสริม และสนับสนุนการทำงาน

เป็นทีม ประสานงานร่วมกันการประเมินและการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ เช่นสื่อการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรสาระการเรียนรู้แกนกลาง พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)

5.3 คณะคุณครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีส่วนช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุน

การทำงานและการช่วยเหลือด้านการจัดทำเอกสาร และการมีส่วนร่วมในชุมชนวิชาชีพ เพื่อนำเสนองาน รับคำแนะนำเพื่อจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด

5.4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนที่เข้ารับการพัฒนาผลการเรียน หน่วยการ

เรียนรู้ที่ 4 ความปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กระตือรือร้นและมีส่วนรวมในการพัฒนาผลการเรียนรู้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

5.5 ผู้ปกครองทุกท่านที่มีส่วนช่วยในการดูแลนักเรียนและส่งเสริมนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้จนสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายไปด้วยดี

6. บทเรียนที่ได้รับ

6.1 บทเรียนที่ได้รับ

1) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความ

ปลอดภัยในชีวิต เรื่อง สารเสพติดให้โทษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA MODEL

2) การทำงานที่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ยั่งยืน

6.2 ข้อเสนอแนะ

1) ครูผู้สอนรายวิชาสุขศึกษาสามารถนำผลการดำเนินการครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีระดับผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ในระดับชั้นอื่นได้

2) ครูผู้สอนรายวิชาอื่นสามารถนำผลจากการพัฒนาในครั้งนี้ไปบูรณาการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้

โพสต์โดย ครูเปรม : [29 พ.ย. 2566 (10:20 น.)]
อ่าน [1916] ไอพี : 61.7.172.169
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 20,428 ครั้ง
"รกฟ้า" คืออะไร?
"รกฟ้า" คืออะไร?

เปิดอ่าน 10,882 ครั้ง
การหยุดหายใจในขณะหลับ (Sleep apnoea)
การหยุดหายใจในขณะหลับ (Sleep apnoea)

เปิดอ่าน 17,735 ครั้ง
แจกฟรี powerpoint ฟิสิกส์ ม.ปลาย (บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด)
แจกฟรี powerpoint ฟิสิกส์ ม.ปลาย (บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด)

เปิดอ่าน 876 ครั้ง
Computer Graphic คืออะไร
Computer Graphic คืออะไร

เปิดอ่าน 615 ครั้ง
เหตุผลที่ควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ แทนการจัดเก็บบนคลาวด์
เหตุผลที่ควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ แทนการจัดเก็บบนคลาวด์

เปิดอ่าน 17,871 ครั้ง
ฮือฮา นักดาราศาสตร์เผย ปรากฎชื่อ 7 อำเภอไทยบนหลุมดาวอังคาร
ฮือฮา นักดาราศาสตร์เผย ปรากฎชื่อ 7 อำเภอไทยบนหลุมดาวอังคาร

เปิดอ่าน 3,383 ครั้ง
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้

เปิดอ่าน 8,910 ครั้ง
รู้หรือยัง? เจ้าของเสียงประกาศบน BTS คือใคร
รู้หรือยัง? เจ้าของเสียงประกาศบน BTS คือใคร

เปิดอ่าน 19,889 ครั้ง
เพราะมาก "ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน" เวอร์ชั่นนักเรียนร้องประสานเสียง
เพราะมาก "ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน" เวอร์ชั่นนักเรียนร้องประสานเสียง

เปิดอ่าน 13,304 ครั้ง
อยากรู้หรือไม่...คุณแก่เร็วไป หรือ อ่อนกว่าวัย ?
อยากรู้หรือไม่...คุณแก่เร็วไป หรือ อ่อนกว่าวัย ?

เปิดอ่าน 34,444 ครั้ง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2555
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2555

เปิดอ่าน 13,988 ครั้ง
9 สัญญาณเตือนภัย! ถึงเวลาต้องลดความอ้วนแล้ว
9 สัญญาณเตือนภัย! ถึงเวลาต้องลดความอ้วนแล้ว

เปิดอ่าน 12,562 ครั้ง
มข.ค้นพบยีสต์สายพันธุ์ใหม่ แบ่งตัวเร็ว ผลิตเอทานอลสูง
มข.ค้นพบยีสต์สายพันธุ์ใหม่ แบ่งตัวเร็ว ผลิตเอทานอลสูง

เปิดอ่าน 8,764 ครั้ง
เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน
เจ้าฟ้ามหาจักรี ต้นแบบของครูทั้งแผ่นดิน

เปิดอ่าน 14,857 ครั้ง
ภาพหาชมยาก! "ลูกเพียงพอน" ขี่หลัง "นกหัวขวาน"
ภาพหาชมยาก! "ลูกเพียงพอน" ขี่หลัง "นกหัวขวาน"

เปิดอ่าน 15,370 ครั้ง
การขับเคลื่อนนโยบาย สพฐ.ปี 51
การขับเคลื่อนนโยบาย สพฐ.ปี 51
เปิดอ่าน 11,599 ครั้ง
บั้งไฟพญานาค
บั้งไฟพญานาค
เปิดอ่าน 118,918 ครั้ง
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
เปิดอ่าน 15,654 ครั้ง
เทคนิคซ้อนฉากหลังของหนังฮอลลีวูด เจ๋งจริงๆ
เทคนิคซ้อนฉากหลังของหนังฮอลลีวูด เจ๋งจริงๆ
เปิดอ่าน 39,016 ครั้ง
วันครู ประวัติวันครู ความเป็นมาวันครู ความหมายวันครู การจัดงานวันครู คำปฏิญาณตนของครู
วันครู ประวัติวันครู ความเป็นมาวันครู ความหมายวันครู การจัดงานวันครู คำปฏิญาณตนของครู

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ