ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครู
ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑
ผู้วิจัย นางปุณณภา สุทธิสาคร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ปีที่วิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัด การเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้ รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 4. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยใช้กรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) พัฒนาตามหลักการ แนวคิดการพัฒนาครูด้านการสอน (Instruction Coaching) การพัฒนาครูมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (Solutions-Focused Coaching) การพัฒนาครูแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) การสะท้อนผล (Reflection) และชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community) มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ระยะที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้ และปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาล เมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย พนักงานครูเทศบาล 15 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 3 คน ผู้นิเทศ จำนวน 2 คน และนักเรียน จำนวน 230 คน โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า รูปแบบมี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ขอบข่ายงานวิชาการที่ต้องพัฒนา มี 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) การบริหารหลักสูตร (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (3) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (5) การนิเทศการศึกษา องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการบริหารงานวิชาการ มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การวางแผน (2) การดําเนินงาน และ (3) การประเมินผล
2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสม ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.83, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 2 องค์ประกอบหลัก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบหลักจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ กระบวนการบริหารงานวิชาการ (x̄ = 4.84, S.D.=0.37) และขอบข่ายงานวิชาการที่ต้องพัฒนา (x̄ = 4.82, S.D. = 0.39) ตามลำดับ และผลการพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี พบว่า คู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสม ในการนําไปใช้บริหารงานวิชาการ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยคําชี้แจง ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบก่อนนำไปใช้จริง ดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูกลุ่มทดลองทั้ง 6 คน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ทุกคน โดยภาพรวม ก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี อยู่ระดับน้อย และหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัด การเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก นักเรียนของครูกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัด การเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ดังนี้ ผลจากการส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้รับการชี้แนะ สรุปผลได้ ดังนี้ 1) ผลการประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 15 คน มีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ ทักษะการวางแผน ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ TPCK ทักษะการสะท้อนผล และทักษะการเรียนรู้เป็นทีม : PLC สูงขึ้นทุกคน 2) ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 15 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลจากการสังเกตการสอนครูผู้รับการชี้แนะมีการพัฒนาทักษะการจัด การเรียนรู้เชิงรุกสูงขึ้น และผลการตรวจสอบรายการปฏิบัติทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้ง 4 ทักษะ ครูผู้รับการชี้แนะ มีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวม อยู่ในระดับปฏิบัติมากทุกคน 4) ผลการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR) พบว่า สิ่งที่ครูผู้รับการชี้แนะได้รับจากรูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยเทคนิควิธีการสอนใหม่ ๆ การสะท้อนผลก่อนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างการจัดการเรียนรู้ และได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาภายหลังการจัดการเรียนรู้ จากการปฏิบัติงาน และจากการเรียนรู้เป็นทีม : PLC นำมาปรับปรุงการเขียนแผนทุกครั้ง ทำให้แผนการจัดการเรียนรู้ มีความสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนได้ 5) ผลการสะท้อนผลการเรียนรู้เป็นทีม : PLC พบว่า การใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี สามารถส่งเสริมให้ครูผู้รับการชี้แนะ มีทักษะในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ TPCK ทักษะในการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และทักษะในการทำงานเป็นทีม : PLC โดยมีผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียน เทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ดังนี้
4.1 ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้รับการชี้แนะ ทั้ง 15 คน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัด การเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ครูผู้รับ การชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี ๑ สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ทุกคน
4.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนของครู ผู้รับการชี้แนะทั้ง 15 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าก่อนการจัด การเรียนรู้เชิงรุก ทุกคน โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01