ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะ
การคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาวสุพัตรา เสนา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่พิมพ์ 2562
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน 3) การทดลองใช้รูปแบบการสอน และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอน โดยการวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม แบบแผนการทดลองคือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 6) แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย ( ), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), และการทดสอบ t แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากนักเรียนต้องการที่จะพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น และครูผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 น่าจะส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการคิดและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า EABSIP Model โดยรูปแบบมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม การวัดและประเมินผล สิ่งที่เสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการสร้างความสนใจ (Engagement) 2) ขั้นการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis) 3) ขั้นระดมความคิดและค้นคว้า (Brainstorming and Research) 4) ขั้นการสังเคราะห์ความรู้และตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา (Synthesis and Decision) 5) ขั้นปฏิบัติตามแนวทางที่เลือกเพื่อหาคำตอบ (Implementation) และ 6) ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน (Presentation and Evaluation)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนนี้มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี สามารถนำเสนอวิธีการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอนซึ่งเป็นที่น่าพอใจ ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.88/82.19
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด