การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ แสดงออกถึงความริเริ่มสร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ในรูปการเขียน เชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้าน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 44 คน ได้มาโดย
การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ชุด โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ และตอนที่ 2 แบบทดสอบอัตนัย จำนวน 1 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.78 / 87.18
2) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6560
3) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ในภาพรวม ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.80 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.09
โดยสรุป การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเหมาะสม สามารถพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้ตามขั้นตอน ส่งผลให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ รู้จักการแก้ปัญหา จากการลงมือปฏิบัติกิจกกรมการเรียนการสอน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ของรายวิชาต่อไป