ผู้วิจัย นางเพ็ญนภา จุฑาทัศน์
โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ปี พ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและ ความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติ ของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิด และทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติ ของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียน หนองบุญมากพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นการสุ่มด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียน ประกอบด้วยนักเรียน เก่ง อ่อน ปานกลาง คละกันทั้งนักเรียนชายและหญิง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทน ของนักเรียนส่วนใหญ่ ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชานาฏศิลป์3 รหัสวิชา ศ23103 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทยและทักษะในการฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบทักษะปฏิบัติการประดิษฐ์ท่ารำ รายวิชานาฏศิลป์3 รหัสวิชา ศ23103 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบ วัดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) แบบประเมินรูปแบบหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานาฏศิลป์3 รหัสวิชา ศ23103 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือทำงานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือการประสานงาน ของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดี มีความถูกต้อง และมีความชำนาญและผลที่ผู้เรียนจะได้รับจาก การเรียนตามรูปแบบผู้เรียนจะสามารถกระทำหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่ว ชำนาญในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า RGMCAC Model อาร์จีเอ็มซีเอซี โมเดล มีองค์ประกอบคือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมความพร้อม (Readiness: R) ขั้นที่ 2 ขั้นการสนองตอบภายใต้การควบคุม (Guided Response: G)ขั้นที่ 3 ขั้นการให้ลงมือกระทำจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทำได้เอง (Mechanism: M) ขั้นที่ 4 ขั้นการกระทำอย่างชำนาญ (Complex Overt Response: C) ขั้นที่ 5 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ (Adaptation: A) ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปผลและสร้างองค์ความรู้ (Concluding Ideas: C) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติ ของซิมพ์ซัน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ ตั้งแต่ 0.80-1.00 และ ( = 4.77, S.D. = 0.39) ซึ่งมีความเหมาะสม และสอดคล้องกันและผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.70/81.94 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถด้านทักษะปฏิบัติการประดิษฐ์ท่ารำของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลการประเมินหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.12, S.D. = 0.81) และผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.14, S.D. = 1.19)