ผู้วิจัย นางสาวยุพาภรณ์ หาญสงคราม
สถานที่ศึกษา โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียน จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Cluster Random Sampling)
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) 2) ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) 3) ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคมที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบเชิงรุก (Active learning) ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ ละ 2 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย 3 รหัสวิชา ท32101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน ใช้เวลา 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลัสมฤทธิ์ทาง การเรียน เรื่อง การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 2) แบบวัดความสามารถด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 3) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบ ไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ โดยกิจกรรมที่นำมาใช้ควรช่วยพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร นำเสนอและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม และในบทบาทของผู้เรียนนอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันด้วย ผู้สอนควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนในลักษณะการบรรยายลงและเพิ่มบทบาทใน การกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมในการเรียนรู้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า POSSE MODEL มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดทฤษฎี 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ 5) กระบวนการจัด การเรียนรู้ 6) ระบบสังคม 7) การวัดและประเมินผล มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่ผู้สอนเตรียมความพร้อมและทบทวนความรู้เดิม (Preparing and reviewing pre-existing knowledge : P) ขั้นที่ 2 เป็นขั้นการจัดกิจกรรมกระบวนการทางปัญญา (Organizing cognitive activities: O) ขั้นที่ 3 เป็นขั้นการศึกษารวบรวมข้อมูล และการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย (Studying and collecting the data with diverse learning resources: S) ขั้นที่ 4 เป็นขั้นการสรุปองค์ความรู้ (Summarizing the body of knowledge: S) และขั้นที่ 5 เป็นขั้นการประเมินผลงาน (Evaluating works: E) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบกลุ่มใหญ่ (Field Tryout) จำนวน 31 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.13/82.02 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 1) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วย การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.12, S.D. = 1.25) 2) ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1โรงเรียนหนองบุญมากพิทยาคม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบเชิงรุก (Active learning) พบว่า ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.20, S.D. = 1.34)