ภูมิหลัง
การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการบวกเลขสามหลักสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
การเรียนรู้วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการบวกเลขสามหลักโดยใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การบวกเลขสามหลักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนการสอนแบบ Active Learning
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปลาขาวที่กําลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) มา 1 ห้องเรียน รวมเป็นนักเรียนจำนวน 16 คน
วิธีการวิจัย
1. ปฏิบัติการสอนโดยผู้วิจัยโดยใช้วิธีเรียนการสอนแบบ Active Learning
2. ทำการทดก่อนและหลัง โดยผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. นําผลการทดลอง ข้อ 2 และ 3 ไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
สรุปผลการวิจัย
1. กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learningของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 84.45
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยเรียนการสอนแบบ Active Learning พบว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05