ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวไข่ศร เข็มธนู ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา ประเด็นต่อไปนี้ 3.1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3.2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3.3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา ประเด็นดังนี้ 4.1 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 40 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.35 - 0.70 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.37 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 5) แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.42 - 0.72 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.31 0.78และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.716) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.30 - 0.70 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.38 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และ 7 ) แบบวัดความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ ttest (Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า การจัดการเรียนการรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมีปัญหาหลายด้าน เช่น ด้านเนื้อหาหลักสูตรที่มีมากเกินไปแต่เวลาค่อนข้างจำกัด จึงทำให้จัดการเรียนการสอนไม่ทันการจัด การเรียนรู้บางชั่วโมงมีเนื้อหาที่มาก การทำกิจกรรมกลุ่มอาจ มีข้อจำกัดบางประการ นักเรียนเข้าห้องเรียนไม่ตรงเวลาไม่ได้แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน การทำกิจกรรมเดี่ยวนั้นครูต้องเตรียมการสอนเป็นอย่างมากการวัดและประเมินผล ก่อนเรียน ระหว่างเรียนทำได้ยาก ด้วยเหตุผลด้านเวลา เนื้อหาและความแตกต่างระหว่างผู้เรียน นอกจากนั้นนักเรียนยังขาดความกระตือรือร้น ไม่มีเป้าหมายในชีวิตขาดความสนใจใฝ่รู้ ขาดแรงจูงใจในการเรียน นักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์หรือสะท้อนตนเองได้และความต้องการของต่อการจัดการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถสรุปได้ว่านักเรียนมีความต้องการทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์ ต้องการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิดขั้นสูงและต้องการให้ครูมีแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการตัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน โดยใช้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้น ดังนี้ (1) ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม (Preparation) (2) ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Creating knowledge and Practice) (3) ขั้นที่ 3 ขั้นจัดโครงสร้างแนวคิดใหม่ (Construction) (4) ขั้นที่ 5 สรุปผลการเรียนรู้ (Conclusion) และ(5) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation ) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 81.58/82.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72 , S.D. = 0.47)