ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนมโนทัศน์เปรียบเทียบกับวิธีสอนปกติ วิชาภาษาไทย เรื่องหลักการใช้ภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔
ผู้วิจัย นางสาวดารณีรัตน์ ยูงทอง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ผู้เรียนมีความเข้าใจเรื่องหลักภาษาและการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง 2. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนหลักภาษาและการใช้ภาษา 3. ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความคิดเชิงมโนทัศน์ในการนำหลักการใช้ภาษามาใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยใช้วิธีสอนมโนทัศน์เปรียบเทียบกับวิธีสอนปกติ ปกติ วิชาภาษาไทย เรื่องหลักการใช้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 จำนวน 51 คน เป็นกลุ่มควบคุม การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองใช้เวลาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในระหว่างวันที่ 25 มกราคม 13 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องหลักการใช้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักการใช้ภาษาไทย 3. แบบวัดเจตคติวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. แบบประเมินทักษะพิสัย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องหลักการใช้ภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนรู้ เรื่องหลักการใช้ภาษาไทยของนักเรียนทั้งสองกลุ่มนี้แตกต่างกัน แสดงว่าการจัดการเรียนรู้วิธีสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment model) ทำให้นักเรียนเข้าใจเรื่องหลักการใช้ภาษาไทย สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพราะการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment model) นั้นเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ วางแผนการทำงาน และลงมือทำ จึงทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุก และเกิดการใฝ่เรียนนั้นเอง
2. ผลการเปรียบเทียบการเรียนเรื่องหลักการใช้ภาษาไทยด้านทักษะเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมมีทักษะการเรียนในระดับดี ซึ่งกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.01 สูงกว่ากลุ่มควบคุม มีความเฉลี่ยรวม 2.89
3. ผลการเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของกลุ่มทดลองโดยรวมมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนอยู่ในระดับเห็นด้วย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 มากกว่ากลุ่มควบคุม โดยรวมกลุ่มควบคุมมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนอยู่ในระดับไม่แน่ใจ มีค่าเฉลี่ย 4.18
4. ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment model) พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment model) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด
จากผลการวิจัยพบว่าการใช้วิธีสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment model) ทำนักเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องหลักการใช้ภาษาไทย เกิดทักษะในการทำงานกลุ่ม และรู้จักวางแผนการทำงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการสร้างให้ตัวผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอีกด้วย