ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
ผู้วิจัย : เสาวเพ็ญ บุญประสพ
ปีที่วิจัย : 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 116 คน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 20 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในด้านการวางแผนจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน และการวัดและประเมินผู้เรียน โดยรวมทั้ง 4 ด้านข้อมูลการปฏิบัติในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะ อื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ไม่เครียดเกินไป มีเกมให้เล่น มีสื่อที่ดึงดูดความสนใจ ครูผู้สอนไม่ควรเน้นแผนการจัดการเรียนรู้ มากเกินไป ควรจัดการเรียนรู้แบบไม่มุ่งผลสัมฤทธิ์ บูรณาการการเรียนรู้คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันให้มากกว่านี้ ปัญหาของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผู้เรียนส่วนใหญ่อธิบายว่าเรียนไม่ค่อยสนุก ไม่มีกิจกรรมนอกชั้นเรียน โดยครูจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรูปแบบเดิม 3 ขั้น คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป ครูทุกคนจึงต้องพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ขึ้นมาใช้เอง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบ 4SAR Model มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจในสถานการณ์ ขั้นที่ 2 กำหนดแบบแผนการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 คัดสรรวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 ประเมินผลและประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 6 สะท้อนการเรียนรู้และเชื่อมโยง และ 4) ปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ครู ผู้เรียนร่วมสร้างองค์ความรู้ ปัจจัยที่ 2 บูรณาการเนื้อหากับสื่อเทคโนโลยีผนวกวิธีสอน (TPACK) ปัจจัยที่ 3 บริหารจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ และปัจจัยที่ 4 เชื่อมโยงสถานการณ์และบริบทชีวิตจริง
2.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบ 4SAR Model โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.65)
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
3.1 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมมีระดับพฤติกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับความสนใจและความคาดหวัง ความกระตือรือร้นและการตอบสนอง การมีส่วนร่วมและการนำไปใช้ ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = 0.57)
3.2 ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมมีความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.72)
4. การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
4.1 คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.62)
4.2 ความพึงพอใจของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวมมีความพึงพอใจเกี่ยวกับประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน และการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = 0.62)
Title : Development of a learning management model to promote
mathematical problem-solving skills of Mathayom 2 students at
Phibunmangsahan School
Researcher : Saowapen Boonprasop
Year of research: 2022
Abstract
Development of a learning management model to promote mathematical
problem-solving skills of Mathayom 2 students at Phibunmangsahan school. It is research and development (Research and Development: R&D) with the objectives to 1) study basic information on learning management to promote mathematical problem-solving skills 2) develop learning management models to promote mathematical problem-solving skills 3) experiment with the learning management model to promote mathematical problem-solving skills and 4) evaluate and improve the learning management model to promote mathematical problem-solving skills. The sample group used in the research included 116 Mathayom 2 students, 20 mathematics teachers, and 3 school administrators. The research instruments consisted of a basic information questionnaire, an interview form, and a group discussion recording form. questionnaire for opinions on the learning management model, learning management assessment form, mathematics problem solving skills test, questionnaire on the quality of learning management form, and satisfaction assessment form. Statistics used in data analysis include percentage, mean, and standard deviation.
The results of the research revealed that:
1. Basic information about the current conditions of learning management for teachers in the mathematics subject area. In terms of learning management planning, learning management model, classroom management and measuring and evaluating learners, including all 4 areas of practice data at a high level. As for other suggestions for the benefit of learning management, they include: most students want to have fun learning, not too stressful, there are games to play, media to attract attention, teachers should not place too much emphasis on learning plans, learning should be organized without focusing on results, integrate mathematics learning into daily life more. Problems of organizing mathematics learning; most students explained that learning was not fun, there are no activities outside of class, teachers organize mathematics learning in the traditional 3-step: introductory, teaching, and summary. Every teacher must develop a learning management model to use by himself.
2. Learning management model to promote mathematical problem-solving skills of Mathayom 2 students at Phibunmangsahan school, consisting of:
2.1 The learning management model has 4 components: 1) Principles, 2) Objectives, 3) Instructional model, 4SAR Model 6 main procedures, as follow; (1) Situation definition, (2) Solution planning, (3) Selection of solutions, (4) Solve the problems, (5) Assess and apply, and (6) Reflects learning and connects, and 4) Factors supporting the learning management process have 4 factors, as follow; (1) Teachers and students join in creating knowledge, (2) Integrate content with technological media and teaching methods (TPACK), (3) Professional classroom management, and (4) Connect real life situations and contexts.
2.2 Results of the inquiry regarding suitability possibility and the use of the learning management model to promote mathematical problem-solving skills, the "4SAR Model", with all 4 components, had a high level of opinion ( = 4.18, S.D. = 0.65)
3. Experimenting with learning management models to promote mathematical problem-solving skills.
3.1 Results of the evaluation of learning management to promote mathematical problem-solving skills in overall were at high level of learning behavior regarding interests and expectations. enthusiasm and responsiveness participation and application ( = 3.91, S.D. = 0.57)
3.2 Mathematical problem-solving skills in overall were at high level of problem-solving ability ( = 4.16, S.D. = 0.72).
4. Evaluating and improving the learning management model to promote mathematical problem-solving skills.
4.1 The quality of the learning management model to promote mathematical problem-solving skills, including all 4 components were at high quality ( = 4.32, S.D. = 0.62).
4.2 Overall satisfaction with the learning management model to promote mathematical problem-solving skills was high. They are highly satisfied with the benefits of learning in the classroom and their application in real situations ( = 4.27, S.D. = 0.62)