ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา
ผู้วิจัย นางสาวณัฐกาญจน์ สุจิตะพันธ์
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) เพื่อ
ศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางในการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วน
ร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหาร
การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา 4) เพื่อ
ประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุ
เคราะห์ 35 จังหวัดพังงา วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางใน
การบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัด
พังงา 1.1) การศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ผู้ให้ข้อมูลเป็นครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 46 คน 1.2) การศึกษา
แนวทางการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35
จังหวัดพังงา ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ในการจัดการศึกษา ได้มาโดยการ
เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 9 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษา
แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ด้วยเทคนิคการมีส่วน
ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ด้วยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) 2.1) การสร้าง
รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35
จังหวัดพังงา 2.2) การตรวจสอบรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์
เกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 9
คน ด้วยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัด
การศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา 3.1) การ
ทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุ
เคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ด้วยการสังเกต การทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ของภาคีเครือข่าย ผู้ให้ข้อมูลครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวน 46 คน 3.2) การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วน
ร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา มีการประเมินความพึงพอใจ ผู้ให้
ข้อมูลผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 516 คน 4) การประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษา
แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ผู้ให้ข้อมูล ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน บุคลากรทางการ
ศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 516 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย
หาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางในการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคี
เครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบ
ที่ 1 ปัจจัยบริหารสู่ความสำเร็จ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของ
ภาคีเครือข่าย องค์ประกอบที่ 3 ผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษา
2. การสร้างรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราช
ประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบ
หลักที่ 1 ปัจจัยการบริหารสู่ความสำเร็จ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ภารกิจความร่วมมือ ได้แก่ 1.1)
ด้านวิชาการ 1.2) ด้านงบประมาณ 1.3) ด้านบริหารงานบุคคล 1.4) ด้านการบริหารทั่วไป 1.5) ด้านการ
บริหารกิจการนักเรียน 2) องค์คณะบุคคลความร่วมมือ ได้แก่ 2.1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2.2) ครูผู้สอน
2.3) บุคลากรสนับสนุน 2.4) นักเรียน 2.5) ผู้ปกครองนักเรียน 2.6) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) กระบวนการบริหารความร่วมมือ ได้แก่ 3.1) การวางแผน (Planning) 3.2) การจัดองค์กร (Organizing)
3.3) การนำ (Leading) 3.4) การควบคุม (Controlling) องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการบริหารการจัด
การศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน (Planning) 2) ขั้น
ที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Action) 3) ขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) ขั้นที่ 4 การ
สะท้อนกลับ (Reflection) องค์ประกอบหลักที่ 3 ผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการศึกษา มี 3
องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) คุณภาพนักเรียน 2) คุณภาพครูผู้สอน และ 3) คุณภาพสถานศึกษา
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา โดยภาพรวมผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบมีส่วน
ร่วมของภาคีเครือข่าย มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของ
ภาคีเครือข่าย อยู่ในระดับมากที่สุด (

= 4.84) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกรายการมีความพึง
พอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียน
ราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา โดยภาพรวมผลการประเมินด้านความเป็นไปได้ (Feasibility)
ของรูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35
จังหวัดพังงา อยู่ในระดับมากที่สุด ( 𝑥̅ = 4.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่
1 ปัจจัยการบริหารสู่ความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.74) รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 3 ผล
การพัฒนาคุณภาพการบริหารการจัดการ อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.72) ส่วนภาพรวมของความมี
ประโยชน์ (Utility) อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า
องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อยู่ในระดับมาก
ที่สุด (𝑥̅ = 4.68) รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 3 ผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารการจัดการ อยู่ใน
ระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.63)