ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสุจิตรา เมืองโคตร
สถานศึกษา โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่องการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแสดงนาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 4.3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 5/1 ถึง ห้อง 5/14 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 610 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร 1 ห้อง จำนวน 40 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสอน WDPTE Model ที่พัฒนาขึ้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 แผน 2) ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบ กระบวนการสอน WDPTE Model จำนวน 18 ข้อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าระดับความพึงพอใจผลการศึกษาพบว่า
1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้ 1) มีกรอบแนวคิดทฤษฎีมาจากแนวคิดทางนาฏศิลป์ แนวคิดทฤษฎีของเดวีส์ แนวคิดการประเมินผล ADDIE Model ที่ปรับปรุงของเควิน ครูส (Kevin Kruse. 2009 : 1) มาใช้ในการออกแบบและพัฒนา โดยใช้ร่วมกับแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน เชิงระบบของเคมพ์ (Kemp. 1985 : 18) ดิคก์และแคเรย์ (Dick and Carey. 2005 : 1-8) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของจอยซ์และเวลล์ (Joyce and Weil. 2004 : 9) ในขั้นพัฒนากลยุทธการสอนพัฒนา และเลือกสื่อการสอน พัฒนาเครื่องมือประเมินผลร่วมกับแนวคิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบของเคมพ์ (Kemp. 1985 : 18) และดิคก์ และแคเรย์ (Dick and Carey. 2005 : 1-8) การประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) และการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (SelfDirected Learning)
2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอนของการเรียนรู้ตามรูปแบบ WDPTE Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up) เป็นขั้นตอนในการพูดเชื่อมโยงกับความรู้เก่า ๆ นักเรียน อาจจะมีการทำข้อสอบก่อนเรียน การเล่นเกมส์ก่อนเริ่มบทเรียน หรือการถามคำถาม ขั้นที่ 2 ขั้นสาธิตทักษะหรือการกระทำ (Demonstration : D) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้เห็นทักษะหรือการกระทำที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ในภาพรวม โดยการสาธิตให้ผู้เรียนดูทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ทักษะหรือการกระทำที่สาธิตให้ ผู้เรียนดูนั้น จะต้องเป็นการกระทำในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ไม่ช้าหรือเร็วเกินปกติก่อนการสาธิต ครูควร ให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนในการสังเกต ควรชี้แนะจุดสำคัญที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในการสังเกต ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติทักษะย่อย (Practicing: P) เมื่อผู้เรียนได้เห็นภาพรวมของการกระทำหรือทักษะทั้ง หมดแล้ว ผู้สอนควรจะแตกทักษะทั้งหมดให้เป็นทักษะย่อย ๆ หรือแบ่งสิ่งที่กระทำออกเป็นส่วนย่อย ๆ และ สาธิตส่วนย่อยแต่ละส่วนให้ผู้เรียนสังเกตและทำตามไปทีละส่วนอย่างช้า ๆ ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการ (Technique : T) เมื่อผู้เรียนปฏิบัติได้แล้ว ผู้สอนอาจแนะนำเทคนิควิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียน สามารถทำงานนั้นได้ดีขึ้น เช่น ทำได้ประณีตสวยงามขึ้นทำได้รวดเร็วขึ้น ทำได้ง่ายขึ้น ทำให้นักเรียนฝึกได้เร็วขึ้น เป็นต้น ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evalution) เป็นการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ว่าเกิดผลอย่างไร ด้วยเครื่องมือการวัดโดยครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบเครื่องมือวัดเอง เพื่อให้นักเรียนได้เพื่อทักษะการแสดงนาฏศิลป์ และมีวิจัยการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยที่ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการแสดงนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2) ผลการสร้างพัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้ส่งเสริมทักษะการแสดงนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
3) ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลโดยรวมหลังการพัฒนาทักษะการแสดงนาฏศิลป์ มีทักษะเพิ่มมากขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการพัฒนาทักษะการแสดงนาฏศิลป์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย
4.1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 83.40/83.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
4.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะการแสดงนาฏศิลป์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
4.3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการ
เรียนรู้เชิงรุก โดยใช้กระบวนการสอน WDPTE Model ร่วมกับ ชุดกิจกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อส่งเสริมทักษะการประดิษฐ์ท่ารำฟ้อนบวงสรวงพระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือข้อ 13 กิจกรรมการเรียนรู้นี้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ( = 4.47) ข้อ14 กิจกรรมการเรียนรู้สามารถศึกษาได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน( = 4.45) และข้อ16 การจัดการเรียนรู้นี้นักเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ( = 4.44) ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 5 การเรียนรู้นี้สามารถทำให้นักเรียนได้นำความรู้ สู่การปฏิบัติจริง ( = 3.92)