การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมในรายวิชาศิลปะ2 (ทัศนศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานเป็นฐานของนักเรียน และ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินแบบร่างการสร้างผลงานก่อนเรียนกับผล
การประเมินผลงานศิลปะสื่อผสมหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 1/4 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จากนั้นจึงใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยการจับ
ฉลาก โดยให้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม
ข้อมูลคือ แบบประเมินผลงานสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมของนักเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีลักษณะเป็นเกณฑ์การให้
คะแนน (Scoring Rubrics) กำหนดข้อความเชิงคุณภาพในแต่ละระดับการประเมินแต่ละขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาผลงานสร้างสรรค์ศิลปะสื่อผสมของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู ้แบบ
โครงงานเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (𝑋̅ = 3.82 S.D. = 1.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นการประเมิน พบว่า
ขั้นตอนมีความริเริ่มสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (𝑋̅ = 4 S.D. = 1.78) รองลงมาคือ ความสามารถในการใช้งาน (𝑋̅ =
3.76 S.D. = 1.73) และมีการริเริ่มสร้างสรรค์ (𝑋̅ = 3.72 S.D. = 1.73) ตามลำดับ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
แบบร่างการสร้างผลงานก่อนเรียนกับผลการประเมินผลงานศิลปะสื่อผสมหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
พบว่า ผลการประเมินผลงานศิลปะสื่อผสมหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (𝑋̅ = 11.48 S.D. = 5.15) สูง
กว่าผลการประเมินแบบร่างการสร้างผลงานก่อนเรียน (𝑋̅ = 4.35 S.D. = 2.43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05