บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 191 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ 40 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 191 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนา อภิปรายกลุ่ม และถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการออกแบบและวิเคราะห์หลักสูตร แบบประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบวัดจิต‍วิทยาศาสตร์ แบบสอบถามคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง
จิต‍วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จากการสอบถามความต้องการจำเป็นที่เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของนักเรียน ความต้องการจำเป็นของสังคม และความต้องการจำเป็นของเนื้อหารายวิชา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.33, S.D.= 0.48) ส่วนข้อเสนอแนะ คือ ผู้เรียนต้องการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ท้าทายความสามารถแต่ไม่มีความกดดัน ครูควรจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และอาจสอดแทรกความรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้เรียนนำความรู้ไปปรับใช้ให้มากที่สุด ข้อมูลสัมภาษณ์เสนอว่า การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เน้นการสอนแบบบรรยาย และทดลองมากกว่าการเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนเสนอว่า ควรปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง เชื่อมโยงการเรียนรู้กับปรากฏการณ์ในชีวิตจริงให้มากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ประกอบด้วย
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบ VARICCE Model 6 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 เข้าใจคุณค่าของปรากฏการณ์ ขั้นที่ 2 รับรู้ ตอบสนอง ขั้นที่ 3 สืบค้นหาความจริง ขั้นที่ 4 สร้างคุณค่าหาเหตุผล ขั้นที่ 5 ตรวจสอบและประเมิน ขั้นที่ 6 ขยายความรู้สู่การสร้างนิสัย และ 4) ปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกิจกรรมเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ 4 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมร่วมสร้างองค์ความรู้ใหม่ในชั้นเรียน กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อไตร่ตรองพฤติกรรม กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมที่นักวิทยาศาสตร์ผู้สร้างแรงบันดาลใจ
2.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ความสอดคล้องกับบริบทผู้เรียนและสถานศึกษา และความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ แบบ VARICCE Model โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ( X-bar= 4.25, S.D. = 0.61)
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์
3.1 การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในด้านความสนใจ การมีส่วนร่วม และประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร แบบ VARICCE Model โดยรวมทั้ง 6 ขั้นตอนมีการใช้รูปแบบในระดับมาก (X-bar = 4.21, S.D. = 0.60)
3.2 จิต‍วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมมีพฤติกรรมในระดับมาก (X-bar = 4.04, S.D. = 0.68) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความใจกว้างและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนมีพฤติกรรมด้านจิต‍วิทยาศาสตร์มากที่สุด (X-bar = 4.34, S.D. = 0.66)
4.การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์
4.1 คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิต‍วิทยาศาสตร์ โดยรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก (X-bar = 4.17, S.D. = 0.64)
4.2 ความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง
จิต‍วิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.64) โดยในองค์ประกอบด้านขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.51, S.D. = 0.64) ในขณะที่องค์ประกอบด้านหลักการ ทั้งครูผู้สอนและผู้เรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด (X-bar = 4.41, S.D. = 0.67)