บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการ เรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเมืองสมเด็จ ตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี พหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ดังนี้
1.1 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อ การสื่อสาร พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) 2) ขั้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น (Cooperative Learning) 3. ขั้นผู้เรียนวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ (Analysis) 4) ขั้นผู้เรียนสรุปและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) 5) ขั้นผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างมีความหมาย (Application) และภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วย พัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เป็นสาระพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้เรียนในการพัฒนา ทักษะด้านภาษาและการเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป
1.2 การศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า สภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.51, S.D. = 0.53)
1.3 การศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า สภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.54, S.D. = 0.51)
1.4 การศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.60, S.D. = 0.51)
1.5 การศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.65, S.D. = 0.48)
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นการสอน มี 5 ขั้น ได้แก่ 3.1) ขั้นตรวจสอบความสนใจ (Observation : O) 3.2) ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Presentation : P) 3.3) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Exercise : E) 3.4) ขั้นสะท้อนข้อมูลกลับ (Reflection : R) 3.5) ขั้นประเมินผล (Assessment : A) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.18/78.26 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 มีความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี พหุปัญญา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.62, S.D. = 0.50)