ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ โดย ใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย นางสาวชลธิชา ไชยศรียา รหัส 634148005
ปีที่ทำการวิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของ เซลล์ โดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) หลังใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อ เทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนตะโหมด อำเภอตะโหมดอ จังหวัด
พัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
โรงเรียนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ชั้นมัธยมศึกษาปี 1 การวิเคราะห์ข้อมูล ทำได้โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (x ̅)
และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. หลังเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 เมื่อพิจารณาคะแนนเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 40 คน และไม่ มีนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ก่อนเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม(AR) นักเรียนทำคะแนนสูงสุดได้10 คะแนน คะแนน
ต่ำสุด 2 คะแนน คะแนนเฉลี่ย (x ̅) 5.35 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 1.73 และหลังเรียนด้วย สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) นักเรียนทำคะแนนสูงสุดได้ 14 คะแนน คะแนนต่ำสุด 8 คะแนน คะแนน
เฉลี่ย (x ̅) 11.80 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 1.52 และจากการนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนไปคำนวณทางสถิติ t-test ด้วยโปรแกรม spss พบว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า
หลังเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน