การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWLPlus จากสื่อเอกสารจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ส าหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ
เข้าใจ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus
จากสื่อเอกสารจริง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWLPlus จากสื่อเอกสารจริงด าเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและ
หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จากสื่อเอกสารจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
อ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จ านวน 1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส าหรับ 6 ชั่วโมง เสนอคู่มือการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้อง จากนั้นปรับปรุง
ตามค าแนะน าผู้เชี่ยวชาญ และน าไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มย่อยและกลุ่มเล็กเพื่อหา
ประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จากสื่อเอกสาร
จริง ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจส าหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จ านวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้คือ
แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จากสื่อเอกสารจริง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบ
ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จากสื่อเอกสาร
จริง
ผลสรุปที่ได้จากการวิจัย มีดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนแบบ KWL-Plus จากสื่อ
เอกสารจริง 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมก่อนการอ่าน ขั้น K - (What we know) มีความรู้เดิมอะไรในสื่อเอกสาร
จริง กิจกรรมระหว่างการอ่าน ขั้น W - (What we want to know) ต้องการรู้อะไรจากสื่อเอกสารจริง เป็น
ขั้นตอนการตั้งค าถาม ขั้น L - (What we have learned) ได้เรียนรู้อะไรจากสื่อเอกสารจริง เป็นขั้นตอน
ค้นหาค าตอบ กิจกรรมหลังการอ่าน ขั้น Plus สรุปข้อมูลจากการอ่านสื่อเอกสารจริงโดยใช้แผนผังความคิด
พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จากสื่อเอกสารจริงมีความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ใน
ระดับมาก (x̅= 4.23, S.D. = 0.83) และมีประสิทธิภาพ 75.28/76.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 คู่มือการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus มีความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.28, S.D.
= 0.75)
2. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จากสื่อเอกสารจริง อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus จากสื่อเอกสารจริงอยู่ในระดับ
มาก