บทคัดย่อ
เรื่อง การพัฒนาระบบการส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยใช้แนวคิดการประเมินทฤษฎีเป็นฐาน
(THE DEVELOPMENT OF THE SYSTEM FOR PROMOTION OF INTERNAL QUALITY ASSURANCE
OPERATIONS IN SCHOOLS UNDER NAKHON SI THAMMARAT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE
AREA OFFICE 3 USING THEORY BASED EVALUATION)
ปี 2566
ผู้วิจัย วรวรรณ สังสัพพันธ์
คำสำคัญ การประกันคุณภาพภายใน/การประเมินทฤษฎีเป็นฐาน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2) พัฒนาระบบการส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดการประเมินทฤษฎีเป็นฐาน 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ระบบการส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดการประเมินทฤษฎีเป็นฐาน และ 4) นำเสนอระบบ การส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดการประเมินทฤษฎีเป็นฐาน ผู้ให้ข้อมูล คือ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา 1 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 17 คน ครู จำนวน 126 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 2) แบบตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา 3) แบบตรวจสอบความเหมาะสมของระบบทฤษฎีโปรแกรม และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (C.V.%) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานศึกษาจัดทำโครงการประกันคุณภาพภายในมีกิจกรรมการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในบางขั้นตอน ประเมินการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและจัดทำรายงานผลโครงการอย่างง่าย
2. ระบบการส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดการประเมินทฤษฎีเป็นฐาน ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กลไกการทำงานของระบบ ระบบมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และมีประโยชน์ในระดับมากที่สุด
2.1 ทฤษฎีโปรแกรมสำหรับประเมินการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด
2.2 แบบตรวจสอบรายการประเมินการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน มี 7 จุดตรวจ ระดับโรงเรียนมี 80 ข้อรายการ และระดับห้องเรียนมี 40 ข้อรายการ ค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.661.00 และความเที่ยงเท่ากับ 0.99 และ 0.98
2.3 คูมือการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีคุณภาพระดับมากและมากที่สุด
2.4 คู่มือการตรวจสอบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้แนวคิด การประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐาน มีความเหมาะสมระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้ระบบการส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากับโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ทั้ง 3 โรงเรียนมีผลการตรวจสอบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในระดับโรงเรียนและระดับห้องเรียนระยะที่ 1 ระดับดี (3) และระยะที่ 2 ระดับดีเลิศ (4) และระดับยอดเยี่ยม (5)
4. ผลการนำระบบการส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดการประเมินทฤษฎีเป็นฐาน (ฉบับสมบูรณ์) ไปใช้ทดลองใช้จริงกับสถานศึกษาจำนวน 3 โรงเรียนได้ข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง 3 ประเด็น คือ 1) การนิเทศติดตามโดยทีมนิเทศจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) การประชุมให้ความรู้ความเข้าใจอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง และ 3) ติดตามการประกันคุณภาพภายในระดับห้องเรียน (รายวิชา) และ ผู้ใช้ระบบมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมระดับดีมากที่สุด และมีความพึงพอใจต่อระบบระดับมากที่สุด
abstract
Title: THE DEVELOPMENT OF THE SYSTEM FOR PROMOTION OF INTERNAL QUALITY
ASSURANCE OPERATIONS IN SCHOOLS UNDER NAKHON SI THAMMARAT PRIMARY
EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3 USING THEORY BASED EVALUATION.
Year 2023
Researcher Worawan Sangsuppun
Keywords: Internal Quality Assurance/Theory-Based Evaluation
This research has the following objectives: 1) A study of the existing internal quality assurance system of schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 3 2) Develop a system to promote the internal quality assurance process of schools using theory based evaluation. 3) Evaluate and assess the results of the piloted internal quality assurance system in schools 4) Propose an informed strategic system for promoting internal quality assurance in schools.
The sample includes the Deputy Director, three supervisors, seventeen school Principals, one hundred twenty six teachers and five experts. Separate Questionnaire tools were developed for all the stakeholders, interviews were conducted in focus groups. Tools used as questions in group discussions. Other tools such as Content validity check form, System suitability check form, and Satisfaction scale form were also developed. Data was analyzed by finding the mean, standard deviation, Coefficient of variance (C.V.%) and by conducting content analysis.
The results showed that
1. The schools plan internal quality assurance development projects, evaluate the processes and produce the project report. But it was found that not all internal quality assurance activities were performed.
2. A system for promoting internal quality assurance operations of schools using theoretical evaluation as a basis. It consists of principles, objectives, mechanisms. It was found that the system is accurate, suitable, appropriate, and exceeding useful.
2.1 Program Theory for Checking and Assessing Internal Quality Assurance Operations in Schools has very satisfied level.
2.2 Internal Quality Assurance Performance Assessment Checklist, there are 7 checkpoints, there were 80 items at the school level. There were 40 items at the classroom level and the content validity was found to be between 0.661.00 and the reliability was 0.99 and 0.98.
2.3 Manual for internal quality assurance operations of schools was found to be on the upper scale-high and very high.
2.4 When Manual for Checking and Assessing Quality Assurance Operations Using theory based evaluation was found to be very appropriate.
3. After checking and assessing the results, an internal quality assurance system was piloted in three schools of different sizes conducted in two phases. It was found that internal quality assurance at the school and classroom level in phase one were of good level and in phase two were of great and excellent level.
4. A system for promoting internal quality assurance operations of schools using theory based evaluation (Complete version) after the piloting in affiliated schools and collecting data from three schools, and inculcating the recommendations in the meetings with the supervision team at Office of the Educational Service Area at least once per semester and follow up on internal quality assurance at the classroom level. It was found that the system users have the opinion that the suitability of internal quality assurance of schools using theory based evaluation is at the best level and were most satisfied with the system.