ชื่อวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงใน ชีวิตประจำวัน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวชนากานต์ จันทร์ทอง รหัสนักศึกษา 634148006
ปีที่การศึกษา 2566
ปริญญา ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน จำนวน 2 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน จำนวน 2 แผน 7 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพ 86.43/87.50 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน คะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 11.32 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.58 และหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คะแนนหลังเรียนเฉลี่ย เท่ากับ 17.50 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.12 แสดงให้เห็นว่าหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
Title Development of learning achievement in the science subject on Forces in Daily Life. using learning activity sets of students in grade 5
By Chanakan Chanthong 634148006
Year of study 2023
Degree Bachelor of Education in General Science
ABSTACT
The object of research were to 1) found efficiency of learning activity on force in daily life 2) compared achievement before and after studied. The 28 students from 5 years of prathomsuksa were selected by purposive sampling to collected data. The instruments of research were 1) 2 sets of learning activity regarding Force in dairy life, 2) 2 lesson plans on force in dairy life and 3) 20 questions of test. Analyzed data by percentage, mean, and standard deviation (S.D.)
The results of research reveal that 1) efficiency of learning activity on force in dairy life have value 86.43/87.50 2) achievement of students before studied was 11.32 points ( standard deviation 1.58 ) and after studied was 17.50 points
( standard deviation was 1.12 )