ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหาร โดยใช้ชุดฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2
ผู้วิจัย นางสาวนุรฮัยดา มะลีมิง
สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ปีที่ทำการวิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินของชุดฝึกทักษะ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ด้วยชุดฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านเขาแก้ว) อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านเขาแก้ว) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัด สงขลา จำนวน 1 ห้องเรียนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 แผน คือ แผนการจัดการเรียนการสอน เรื่อง ระบบย่อยอาหาร 2. นวัตกรรมที่เลือกใช้ จำนวน 2 ชิ้น ได้แก่ ชุดฝึกทักษะ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร PowerPoint เรื่อง ระบบย่อยอาหาร 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ระบบย่อยอาหาร เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งใช้สำหรับทดสอบนักเรียนก่อนและหลังใช้ชุดฝึกทักษะ เป็น แบบทดสอบชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล ทำได้โดยการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่า t-test แบบ Dependent Sample Test ของคะแนนที่ได้จากการทดสอบ และการประเมินประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะตามเกณฑ์ 80/80
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ชุดฝึกทักษะ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร มี ประสิทธิภาพเท่ากับ 82 /80.33 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ 80/80
2. หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 เมื่อ พิจารณาคะแนนเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 28 คน
3. ก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมชุดนักเรียนทำคะแนนสูงสุดได้ 6 คะแนน คะแนนต่ำสุด 1 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 3.6 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.15 และหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ นักเรียนทำคะแนนสูงสุดได้ 10 คะแนน คะแนนต่ำสุด 4 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 8 คะแนน และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.40 แสดงให้เห็นว่า หลังเรียนด้วยชุกฝึกทักษะ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน