บทคัดย่อ
จิรัฏฐ์ แก้วกูล. (2566). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้เรื่องบัญชี 5 หมวด โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ Active Learning วิธีการสอนตามทฤษฎี CIPPA Model ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 โรงเรียนเวียงสระ
. การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เรื่องบัญชี 5 หมวด โดยให้รูปแบบการเรียนรู้ Active Learning วิธีการสอนตามทฤษฎี CIPPA Model ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 โรงเรียนเวียงสระ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/7 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น
(1) แผนการจัดการเรียนรู้
(2) แบบสังเกตพฤติกรรมวัดความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางบัญชี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7
(3) ใบกิจกรรม เรื่อง บัญชี 5 หมวด
(4) ใบงาน เรื่อง บัญชี 5 หมวด
(5) แบบประเมิน ความรู้ (K) ทักษะ/กระบวนการ (P) ทัศนคติ (A)
ผลการวิจัย พบว่า
ผลจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ก่อนเรียนใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้ Active Learning วิธีการสอนตามทฤษฎี CIPPA Model ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 จำนวน 24 คน มีความรู้เกี่ยวกับบัญชี 5 หมวด สามารถอธิบายความหมายของบัญชีทั้ง 5 หมวดได้อย่างถูกต้อง และสามารถแยกประเภทบัญชีในแต่ละหมวดได้ถูกต้อง โดยครูผู้สอนให้นักเรียนทุกคนทำใบงานหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และครูได้นำแบบประเมินทั้งในความรู้ (K) ทักษะ/กระบวนการ (P) ทัศนคติ (A) มาใช้ในการวัดผลและประเมินผล
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เรื่องบัญชี 5 หมวด โดยให้รูปแบบการเรียนรู้ Active Learning วิธีการสอนตามทฤษฎี CIPPA Model ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 โรงเรียนเวียงสระ สรุปได้ดังนี้
1) ด้านความรู้ (Knowledge)
1.1) อธิบายความหมายของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ (ทุน) รายได้และค่าใช้จ่ายได้
2) ด้านทักษะกระบวนการ (Process)
2.1) จำแนกประเภทบัญชีของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ (ทุน) รายได้และค่าใช้จ่ายได้
- นักเรียน จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชี เรื่อง บัญชี 5 หมวด และพัฒนาทักษะการจำแนกประเภทบัญชีหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ(ทุน) รายได้และค่าใช้จ่าย มีนักเรียนมีคะแนนการประเมิน ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 และมีคะแนนประเมิน ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67
- นักเรียน จำนวน 3 กลุ่ม มีคะแนนการประเมิน ผ่านเกณฑ์การประเมินผลงานกลุ่ม ระดับพอใช้ ขึ้นไปจำนวน 3 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 100
- นักเรียน จำนวน 3 กลุ่ม มีคะแนนการประเมิน ผ่านเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ระดับพอใช้ ขึ้นไป จำนวน 3 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 100