การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
3) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารในโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำนวน 50 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Semi Structured interview) ที่มีเนื้อหาตามหลักการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ทางกายภาพ ด้านที่ 2 มิติทางวิชาการ ด้านที่ 3 มิติทางวิชาการ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 และ 3) แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการรายงาน
การรายงานเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 สรุปผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
1. การร่างรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
2. การตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
จากการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 นําไปสู่กรอบทิศทาง ในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ดังนี้
1. หลักการ
เป็นรูปแบบบริหารที่จัดให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป้นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว
เขต 1 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยแต่ละโรงเรียนมีครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. วัตถุประสงค์
จัดรูปแบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยใช้ โดยใช้ AIS Model และ ท.ท.ท.
3. การขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารทุกฝ่าย ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และให้การสนับสนุนการดำเนินงานหรือร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
2. ครูทุกคนและผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความตระหนักในความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียน และมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน
3. คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด และมีการประชุมในแต่ละคณะอย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนด
4. ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
5. การอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้แก่ครูที่ปรึกษาหรือผู้เกี่ยวข้อง ในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสิ่งที่จำเป็นโดยเฉพาะเรื่องทักษะการปรึกษาเบื้องต้น และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของนักเรียน ซึ่งโรงเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ผลการศึกษาสภาพการบริหารการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ
1. โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก ได้องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศ 3 ด้าน คือ 1) ด้านที่ 1 ทางกายภาพ : เข้าถึง A : Accessible (รู้จักนักเรียนรายบุคคล คัดกรองนักเรียน) 2) ด้านที่ 2 มิติทางวิชาการ : เข้าใจ I : Insight (การมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนา ดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความปลอดภัยในสถานศึกษาของภาคีเครือข่าย) และ 3) ด้านที่ 3 มิติทางวิชาการ : ให้ความช่วยเหลือ S : Support (ป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือ และส่งต่อ)
2. รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยใช้ AIS : เข้าถึง เข้าใจ ให้ความช่วยเหลือ : ท.ท.ท. มีความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 พบว่า มีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อทดลองใช้รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
2. ควรวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบความร่วมมือในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1 ทั้งในโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส