ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
PIDCAS – WPS MODEL รูปแบบการบริหารงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช

ชื่อผู้เสนอผลงาน นายเถกิงศักดิ์ ชะนะทอง

ประเภทผลงาน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ประเภทของสถานศึกษาขนาดกลาง ด้านวิชาการ

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช

1. ความสำคัญของผลงาน

1.1 ความสำคัญสภาพปัญหา

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ยกฐานะขึ้นมาจากโรงเรียนเชียรใหญ่ สาขาสวนหลวง โรงเรียนตั้งอยู่เลขที่ 89/3 หมู่ 1 ตำบลสวนหลวง อำเภอเชียรใหญ่ ปัจจุบันเป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2536 รับนักเรียนได้ 2 ห้องเรียน จำนวน 85 คน มีนายโชคดี ทัศนโกวิท ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนเชียรใหญ่ ทำหน้าที่ประสานงานโรงเรียนสาขา

25 พฤษภาคม 2539 ประกาศจัดตั้งโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี และวันที่ 18 สิงหาคม 2539 ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช” สามัญศึกษาจังหวัดได้แต่งตั้งนายศรีมงคล ศรีมีชัย รักษาการผู้บริหารโรงเรียนในขณะนั้น

ความเป็นมาของการจัดตั้ง โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ถือกำเนิดขึ้นหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กรมสามัญศึกษาได้เสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน กระทรวงศึกษาธิการเห็นชอบให้จัดตั้งขึ้น เขตการศึกษาละ 1 แห่ง โดยประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2539 เป็นชุดแรก ชื่อว่า “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครีนทราบรมราชชนนี” และต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติเสียใหม่ว่า “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์” ตามด้วยชื่อจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ สำหรับเขตการศึกษา 3 กรมสามัญศึกษา ได้คัดเลือกจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เป็นที่ตั้ง

วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดตั้ง การจัดตั้งโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ประชาชนชาวไทยรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยมีเป้าหมาย คือ จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทประจำ และ ไป-กลับ มีแผนชั้นเรียนเต็มรูปแบบ 48 ห้องเรียน ในด้านคุณภาพจะจัดให้เป็นโรงเรียนที่มีลักษณะสมบูรณ์ มีความพร้อมทั้งในด้านอาคารเรียน อาคารประกอบ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้ได้เป็นโรงเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน มีความรู้ทางวิชาการเป็นอย่างดี มีคุณภาพ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างโรงเรียน 176.289 ล้านบาท

นโยบายการจัดการศึกษา

1. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมสืบสานงานพระราชดำริ

2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ครู ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชน

3. พัฒนาวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นร้อยละ 4 ต่อปีการศึกษา

4. ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่มาตรฐานสากล

6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management)

7. สร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

8. จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้

ทิศทางการพัฒนาการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษา ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นองค์กรมาตรฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสุข ได้รับการพัฒนา เต็มศักยภาพ มีสมรรถนะและทักษะ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ (Mission)

1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะ ที่จำเป็นต่ออนาคตในศตวรรษที่ 21

2. ส่งเสริม สนับสนุนและปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์

3. สร้างโอกาสให้ประชากรวัยเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกคน ได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย

4. พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษาจากภัยคุกคามทุกรูปแบบและจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี

5. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ

6. พัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและสร้างความรับผิดชอบ ต่อคุณภาพการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์ (Goal)

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีสมรรถนะ ตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นต่ออนาคตในศตวรรษที่ 21

2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3. ประชากรวัยเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกคน ได้รับโอกาสเข้ารับบริการทางการศึกษา ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย

4. ผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา ตกหล่น และออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือ ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5. ผู้บริหาร ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีสุขภาวะที่ดี มีความปลอดภัย จากภัยคุกคามทุกรูปแบบ สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้

6. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้ง จิตวิญญาณความเป็นครู

7. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท

ค่านิยมองค์กร (Values)

“สร้างคุณภาพผู้เรียน สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน”

(Enrich the learners’ quality for future sustainability)

กลยุทธ์ (Strategies)

1. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ

2. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน

3. ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลในศตวรรษที่ 21

4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช (พ.ศ.2565-2567)

1. ด้านการบริหารจัดการ

1.1 กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษามีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา นโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ รวมทั้งดำเนินการพัฒนาที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัด)

1.2 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรอบรู้ทางวิชาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการคิด การปฏิบัติจริง โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัด การเรียนรู้ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัด)

1.3 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัด)

1.4 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในสังกัด)

2. ด้านครู

2.1 ครูมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560 (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของครู)

2.2 ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของครู)

2.3 ครูมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน(เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของครู)

2.4 ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของครู)

2.5 ครูมีวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ100 ของครู)

3. ด้านผู้เรียน

3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ

3.1.1 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา (เป้าหมายความสำเร็จ นักเรียนมีระดับผลการเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เรียน)

3.1.2 ยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (เป้าหมายความสำเร็จ : มีค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าระดับประเทศ)

3.1.3 ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3R8C) (เป้าหมายความสำเร็จ :ร้อยละ 100 ของผู้เรียน)

3.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

3.2.1 ผู้เรียนมีวินัย สุจริต จิตอาสา อยู่อย่างพอเพียง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 100 ของผู้เรียน)

3.2.2 ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น รักความเป็นไทย (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ100 ของผู้เรียน)

3.3 สมรรถนะของผู้เรียน

ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีมีความรู้หลายภาษา (เป้าหมายความสำเร็จ : ร้อยละ 70 ของผู้เรียน)

3.4 ขีดความสามารถในการแข่งขัน

พัฒนาผู้เรียนด้านความเป็นเลิศ สู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (เป้าหมายความสำเร็จ : มีนักเรียนได้รับรางวัลจากการแข่งขันระดับภาค ระดับชาติหรือระดับนานาชาติ

1.2 แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา

การปฏิบัติงานและหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นไปตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษา ในการช่วยบริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับ ดูแล เกี่ยวกับดำเนินงานตามโครงสร้างการบริหารงานตามกลุ่มงานต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานบุคลากร กลุ่มบริหารงานงบประมาณ กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน กลุ่มบริหารงานบริหารทั่วไป มีระบบการติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างคณะกรรมการ กำกับ ดูแล โดยยึดหลักการบริหารที่มีกระบวนการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับวงจรคุณภาพ และยึดหลักธรรมาภิบาล คือ การมีส่วนร่วม การปฏิบัติตามกฎหมาย มีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ มีความสอดคล้อง เสมอภาค มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลบนพื้นฐานของความมีเหตุผลและเป็นไปตามกรอบภารกิจของการปฏิบัติงาน

ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีให้เกิดประสิทธิภาพและความสมดุล เพื่อให้บริหารจัดการศึกษาบรรลุผลสำเร็จ หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษา ในการช่วยบริหารกิจการของสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ในการที่จะทำให้สถานศึกษาดำเนินการตามภารกิจที่สถานศึกษากำหนดไปสู่เป้าหมาย นำพาครู นักเรียน สถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการ สร้างความคิดเชิงบวกต่อบุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมกันกำหนดทิศทางในอนาคต นั่นคือ การดำเนินงานตามจุดเน้น การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช เพื่อความสำเร็จทางวิชาการ และต้องนำจุดเน้นสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาที่ และแนวทางของภาวะผู้นำที่สามารถนำองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้นวัตกรรม PIDCAS – WPS MODEL รูปแบบการบริหารงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช มาเป็นกระบวนการในการดำเนินงาน จนได้เป็นนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตามกระบวนการ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานในที่สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

2.1 การกำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาย

เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1 การออกแบบนวัตกรรม

3.2 การดำเนินการตามแนวคิด System approach และ วงจรคุณภาพ PDCA

การดำเนินงานได้ถอดบทเรียนจากนวัตกรรมการบริหาร โดยใช้แนวคิด System approach วิธีการคิดเชิงระบบ เป็นแนวทางโดยใช้ PIDCAS – WPS MODEL รูปแบบการบริหารงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ประกอบด้วย

องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันดังภาพ

1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )

สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการ เช่น สภาพปัญหา ปัญหา นโยบาย ปัจจัยในการบริหาร เป้าหมายของการพัฒนา และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา

2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process)

การดำเนินการนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้ามาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ ที่ต้องการตามวงจรคุณภาพ PDCA

2.1. การวางแผนการดำเนินงาน (Planning-P)

(P: Plan) : วางแผน ประชุม วางแผนสร้างความร่วมมือทั้งระบบ โดยการดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ 2566

2.2. การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน (Informing-I)

(I : Informing) : ผู้บริหารสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและวางแผน ประชุม กำหนดข้อตกลงร่วมกัน ในการสร้างความเข้าใจการดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ 2566 เป็นแนวทางในการพัฒนางานแบบยั่งยืน โดยถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของบุคลากรทุกคน และเป็นนโยบายของสถานศึกษาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันปฏิบัติ

2.3. การปฏิบัติงานตามแผน (Doing-D)

(D : Doing) รวบรวมจัดทำเอกสารคู่มือและเครื่องมือ เพื่อใช้การดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เสริมสร้างความรู้ใน ชี้แจงแนวทางการการดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน และจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน

2.4. การตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางาน (Check)

(C : Check) 1. การนิเทศกลุ่มงาน 2. การนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3. การนิเทศแบบจับคู่บัดดี้ 4. การนิเทศการสอนในห้องเรียน 5.การรายงานการประเมินผลต่าง ๆ

2.5. การสรุปและรายงาน (Action)

(A : Action) ปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การนำผลการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุมา

ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาตามวงจรคุณภาพ PDCA

2.6. การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability)

2.6.1. การวิเคราะห์บริบท และประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ด้านความยั่งยืนของสถานศึกษา ทำความเข้าใจบริบทขององค์กร วิเคราะห์ประเด็นและกำหนดวิธีการมีร่วมกัน และการกำหนด จัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

2.6.2. การดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช นโยบายด้านความยั่งยืนของสถานศึกษา กำหนดนโยบายและเป้าหมายในการบริหารจัดการความยั่งยืนในระดับสถานศึกษา กำหนดผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแต่ละประเด็นเพื่อให้เกิดการทำงานที่เชื่อมโยงกัน

2.6.3. การกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร การกำหนดกรอบหรือกลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน กำหนดแผนงานด้านความยั่งยืน

2.6.4. การขับเคลื่อนความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติ แนวทางการดำเนินงานตาม PDCA

2.6.5. การรวบรวม วางระบบ การตรวจสอบ วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน ทบทวนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output)

ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่

3.1. W: World Class Standard โรงเรียนมาตรฐานสากล

3.2. P: Professional Teacher ครูมืออาชีพ

3.3. S: Smart Student นักเรียนที่เป็นคนดี มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21

4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)

จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

1. ด้านการบริหารจัดการ

1.1 กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษามีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา นโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ รวมทั้งดำเนินการพัฒนาที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ได้มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา โดยดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์

SWNKS model เป็นระบบการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน และการดำเนินกิจกรรม/โครงการ/แผนงาน ตามแผนปฏิบัติการประจำปี และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช โดยใช้ SWNKS-model เป็นเครื่องมือ ซึ่งประกอบด้วย

S หมายถึง Smart student พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี เก่ง มีความสุข

W หมายถึง Well-being of teacher บุคลากรมีสำนึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ผลักดันโรงเรียนสู่เป้าหมาย

N หมายถึง New idea school พัฒนานวัตกรรมและพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้

K หมายถึง Knowledge-Based School การจัดการศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่ชุมชน

S หมายถึง Smart school : Sustainable การบริหารจัดการมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควบคุมด้วยระบบวงจรควบคุมคุณภาพของวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)

มีการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมายโดยจัดให้มีหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นศักยภาพของผู้เรียนที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา มีโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่มีองค์ประกอบครบถ้วนและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอบสนองเป้าหมาย วิสัยทัศน์ จุดเน้นของสถานศึกษา กำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสมกับระดับชั้น รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมที่จัดในหลักสูตรมีการลำดับเนื้อหาสาระ ความยากง่ายและบูรณาการความต้องการของท้องถิ่น มีแผนการเรียนที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ มีการประเมินและติดตามการใช้หลักสูตร จัดให้มีการทบทวนหลักสูตรสถานศึกษา และปรับปรุงหลักสูตร มีงานแนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ และการจัดกิจกรรมทักษะชีวิต กำหนดให้ครูจัดทำหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่สอดคล้องกับหลักสูตร ส่งเสริมให้ครูจัดการสอนแบบบูรณาการโดยบูรณาการคุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) ส่งเสริมให้ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน รวมถึงส่งเสริมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ส่งเสริมโครงการ/กิจกรรมที่พัฒนาทักษะหรือประสบการณ์ที่สนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการตามความสามารถของนักเรียนและจัดกิจกรรมสนับสนุนการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร จัดหลักสูตรสถานศึกษาให้เทียบเคียงมาตรฐานสากลโดยเปิดสอนวิชา IS๑, IS๒ และ IS๓ มีการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียนอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจ และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและสามารถดำเนินการได้จริง มีรายงานผลการประเมินตนเองและรายงานสารสนเทศของโรงเรียนซึ่งเกิดจากความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

การประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2566 และการรประชุมปฏิบัติการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

1.2 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรอบรู้ทางวิชาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการคิด การปฏิบัติจริง โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัด การเรียนรู้

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีแผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัดชั่วโมง PLC ๔๐ ชั่วโมงต่อภาคเรียน สนับสนุนให้ครูได้อบรมให้ความรู้แก่ครูในด้านต่างๆ เช่น หลักสูตรบูรณาการการสื่อสารการสอนในโลกเสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ครูเป็นวิทยากรให้บริการความรู้ชุมชนและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ การบริการความรู้ฝึกวงโยธวาทิต ศูนย์ฝึกมวยปล้ำเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์การเรียนรู้บาติกเฉลิมพระเกียรติ ให้ความรู้แก่ผู้เรียนด้านวิชาชีพโดยครูและวิทยากรภายนอกอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนให้มีความรอบรู้ทางวิชาชีพ มีทักษะการคิด การปฏิบัติจริง โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัด การเรียนรู้

“การประชุมออนไลน์ เรื่องการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ผ่านระบบ Zoom Application”

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม “การอบรมเรื่องหลักสูตรบูรณาการสื่อการสอนในโลกเสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial” ให้กับครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ณ ห้องพุดตาน

ห้องสมุดออนไลน์ SWNKS

1.3 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกพอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น มีสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดอาคารเรียนอาคารประกอบที่เพียงพอ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ได้แก่ ห้องสมุดที่ทันสมัย มีห้องสมุดดิจิทัลให้บริการ e-book จัดห้องสืบค้นอินเตอร์เน็ต ห้องบริการคอมพิวเตอร์ ที่นักเรียนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเพียงพอ มีห้องเรียนห้องปฏิบัติการเพียงพอ ติดตั้งโปรเจกเตอร์ทุกห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ มีเวทีส่งเสริมศักยภาพให้นักเรียนสามารถแสดงออกได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ ศูนย์ฝึกมวยปล้ำเฉลิมพระเกียรติ และศูนย์การเรียนรู้บาติกเฉลิมพระเกียรติ

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

การพัฒนาและปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารเรียน ห้องเรียน ให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานตลอดเวลา รวมถึงการปรับภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่น ร่มเย็น สร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อไปการเรียนรู้ และมีเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย ให้กับบุคลากร นักเรียน และดูแลทรัพย์สมบัติของทางราชการ โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการ การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา การวางแผน การปฏิบัติ ตามแผน และประเมินเพื่อนำผลการไปใช้ในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และเป็น ระบบ ผลการดำเนินงาน ช่วยให้โรงเรียนได้พัฒนาปรับปรุง ซ่อมอาคารสถานที่ ส่งผลให้ อาคารเรียน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สถานที่ มีความพร้อมในการใช้งาน และจัดตกแต่งภูมิทัศน์ได้อย่างร่มรื่น

1. โรงเรียนมีความสวยงามและมีคุณภาพ

2. นักเรียนได้รับความสะดวก ปลอดภัยในการใช้บริการด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน

3. สภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนมีความสวยงาม ร่มรื่น เหมาะแก่การเรียนรู้และประกอบกิจกรรมต่างๆ

ภาพประกอบการดำเนินงานตามนโยบาย “สะอาด สดชื่น ร่มรื่น สวยงาม และบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้”

1.4 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ได้มีการจัดหาการพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา มีแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนา เว็ปไซต์เพื่อการเรียนรู้ มีการจัดระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ ได้แก่ การบริการเครือข่ายอินเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโรงเรียน มีศูนย์คอมพิวเตอร์ใช้สำหรับการเรียนการสอนและให้บริการคอมพิวเตอร์ มีห้องบริการสืบค้น และมุมสืบค้นในห้องสมุด มีคอมพิวเตอร์สำหรับสำนักงานและห้องปฏิบัติการ ติดตั้ง TV ประจำห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือครูในการนำเทคโนโลยีดิจิตอลแพลทฟอร์มมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ นวัตกรรมการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ด้วย SWNKS Digital Library ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้นักเรียนเข้ามาสืบค้น E-book ที่จัดทำโดยครูเพื่อประกอบการเรียนในรายวิชาต่างๆ และ E-book จากภายนอก และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และการบริหารงาน ได้แก่ งานวัดประเมินผลและระบบงานทะเบียน (SGS) โปรแกรมจัดตารางสอน งานรับ-ส่งหนังสือราชการ (My Office) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบบริหารงานบุคคล ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และระบบอื่นๆ มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบและสรุปเป็นสารสนเทศประจำปีเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ได้มีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม “การอบรมเรื่องหลักสูตรบูรณาการสื่อการสอนในโลกเสมือนจริงด้วย Metaverse Spatial” ให้กับครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ณ ห้องพุดตาน

แพลทฟอร์มสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และการบริหารงาน

2. ด้านครู

2.1 ครูมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

ครูทุกคนมีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำคำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ จัดทำคู่มือการสอนรายวิชาและแผนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านวิชาการ สมรรถนะผู้เรียนตามทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์สอดคล้องกับตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และหลักสูตรมาตรฐานสากล จัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชา IS ในทุกระดับชั้น

ผลการดำเนินงาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ร้อยละของครูมีการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด

1. ภาษาไทย 100

2. คณิตศาสตร์ 100

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 100

4. ภาษาต่างประเทศ 100

5. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 100

6. สุขศึกษา พลศึกษา 100

7. ศิลปะ 100

8. การงานอาชีพ 100

9. แนะแนว 100

เฉลี่ย 100

2.2 ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

ครูทุกคนจัดทำแผนการเรียนการสอนกระบวนการ Active Learning โดยให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ Active Learning โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมตามความถนัดและความสนใจการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ร้อยละของครูที่มีแผนการเรียนการสอนกระบวนการ Active Learning

1. ภาษาไทย 100

2. คณิตศาสตร์ 100

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 100

4. ภาษาต่างประเทศ 100

5. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 100

6. สุขศึกษา พลศึกษา 100

7. ศิลปะ 100

8. การงานอาชีพ 100

9. แนะแนว 100

เฉลี่ย 100

2.3 ครูมีกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

ครูทุกคนมีกระบวนการวัดผลประเมินผลที่เน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และสร้างเครื่องมือวัดผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริงและอิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการวัดที่หลากหลายตามความเหมาะสมของแต่ละรายวิชาอาทิเช่น แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การตรวจชิ้นงาน การนำเสนอ และได้รับการตรวจสอบจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ และงานวัดผลประเมินผล ผู้เรียนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โรงเรียนยังส่งเสริมให้ครูใช้ผลจากการประเมินผู้เรียนและนำปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนมาทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ร้อยละของครูที่มีสร้างเครื่องมือวัดผลการพัฒนาการเรียนรู้

1. ภาษาไทย 100

2. คณิตศาสตร์ 100

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 100

4. ภาษาต่างประเทศ 100

5. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 100

6. สุขศึกษา พลศึกษา 100

7. ศิลปะ 100

8. การงานอาชีพ 100

9. แนะแนว 100

เฉลี่ย 100

2.4 ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

ครูทุกคนมีการใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลิตและใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนโดยมีการนำเทคโนโลยี เช่น คลิปวีดีโอ Ebook และ PowerPoint โดยในการผลิตสื่อการเรียนการสอนของครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จะคำนึงถึงการใช้งานได้จริง สื่อมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน เป้าหมาย ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด จุดเน้นของหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา มีความเหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและชุมชน มีการนำสื่อกลับมาใช้ใหม่รวม ทั้งนี้ยังสามารถบูรณาการได้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ทำให้สื่อที่ทางโรงเรียนได้จัดทำขึ้นจึงมีความหลากหลาย และมีการพัฒนาสื่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับนักเรียน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช มีการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน แหล่งเรียนรู้สืบสานศิลปะด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าบาติก แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเพลงบอกสืบสานศิลปะและภูมิปัญญาไทย แหล่งเรียนสืบสานศิลปะมโนราห์ภูมิปัญญาไทย แหล่งเรียนรู้มวยปล้ำเป็นต้น มีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ร้อยละของครูที่มีสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน

1. ภาษาไทย 100

2. คณิตศาสตร์ 100

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 100

4. ภาษาต่างประเทศ 100

5. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 100

6. สุขศึกษา พลศึกษา 100

7. ศิลปะ 100

8. การงานอาชีพ 100

9. แนะแนว 100

เฉลี่ย 100

2.5 ครูมีวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

ครูทุกคนมีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน จากการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ครูสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และจัดทำสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ตามกิจกรรมการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ร้อยละของครูที่มีวิจัยในชั้นเรียน

1. ภาษาไทย 100

2. คณิตศาสตร์ 100

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 100

4. ภาษาต่างประเทศ 100

5. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 100

6. สุขศึกษา พลศึกษา 100

7. ศิลปะ 100

8. การงานอาชีพ 100

9. แนะแนว 100

เฉลี่ย 100

3. ด้านผู้เรียน

3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ

3.1.1 ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

๑. โรงเรียนมีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ให้เป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่นตอบสนองความหลากหลายของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และแผนการเรียนต่างๆ โดยเทียบเคียงมาตรฐานสากล ตลอดจนโรงเรียนได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นการจัดการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project-Based Learning) และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามกระบวนการ Active Learning ทุกรายวิชา

๒. ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มีการตรวจสอบ การวิเคราะห์หลักสูตร และหน่วยการเรียนรู้ให้ครอบคลุม และจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

๓. ครูผู้สอนใช้สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตรวจสอบและ ประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และจัดกิจกรรมเสริมแรงทางบวก สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน เช่น มอบรางวัลนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนได้ดำเนินการโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น ค่ายวิชาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในการทดสอบทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) โดยจัดสอนเสริมในคาบซ่อมเสริมของแต่ละห้องและจัดโครงการเพิ่มพูน ความรู้โดยวิทยากรทั้งภายในและภายนอก

๔. ครูสอนเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิชาการเพื่อส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะ ทางวิชาการทั้งในระดับภาค และระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

๔.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยในแต่ละรายวิชา ในระดับ ๒.๕ ขึ้นไป ปีการศึกษา ๒๕๖๕

3.1.2 ยกระดับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช มุ่งมั่นพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O - NET) ของนักเรียนทุกคนโดยดำเนินการดังนี้

๑. ประชุมคณะทำงานกลุ่มบริหารวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อกำหนดทิศทางและวางแผนการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

๒. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ(O - NET) และวิเคราะห์ สาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน

๓. ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และสังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกันวิเคราะห์แบบทดสอบตามแนวแบบทดสอบระดับชาติ (O – NET) ของ สทศ. โดยการสอนสอดแทรกแนวการทดสอบระดับชาติ (O – NET) ของ สทศ. ทุกระดับชั้นในกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

๔. ครูสอนเสริมและเพิ่มพูนความรู้ในคาบซ่อมเสริมให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบระดับชาติ (O - NET) ตลอดปีการศึกษา

๕. กลุ่มบริหารงานวิชาการดำเนินการจัดโครงการเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยเชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง

๖. โรงเรียนมีการเสริมแรงโดยการมอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่นักเรียนที่มีผลคะแนน การทดสอบระดับชาติ (O – NET) ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด เช่น นักเรียนได้คะแนนร้อยละ ๘๐ ของแต่ละรายวิชา นักเรียนที่ได้คะแนนรวมทุกรายวิชา ๓ อันดับแรก เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

วิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียน ๕๔.๘๗ ๒๙.๕๒ ๒๒.๗๕ ๓๒.๘๘

คะแนนเฉลี่ยระดับจังหวัด ๕๖.๑๐ ๓๑.๗๒ ๒๕.๔๖ ๓๔.๕๓

คะแนนเฉลี่ยสังกัด สพฐ. ๕๓.๙๑ ๓๑.๗๕ ๒๔.๖๖ ๓๓.๖๗

คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ๕๒.๙๕ ๓๒.๐๕ ๒๔.๓๙ ๓๓.๓๒

เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๓-๒๕๖๕

วิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ๖๒.๔๑ ๓๕.๔๒ ๒๔.๕๔ ๒๙.๘๘

ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ๖๐.๕๓ ๒๙.๖๓ ๒๕.๗๒ ๓๗.๒๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๕๔.๘๗ ๒๙.๕๒ ๒๒.๗๕ ๓๒.๘๘

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

วิชา ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

คะแนนเฉลี่ยของโรงเรียน ๔๐.๖๑ ๓๐.๗๔ ๒๑.๘๖ ๑๘.๗๔ ๒๗.๒๖

คะแนนเฉลี่ยระดับจังหวัด ๔๖.๔๘ ๓๓.๓๗ ๒๓.๐๒ ๒๑.๘๖ ๒๘.๒๖

คะแนนเฉลี่ยสังกัด สพฐ. ๔๕.๗๙ ๓๓.๖๒ ๒๓.๕๙ ๒๒.๓๙ ๒๘.๗๘

คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ๔๔.๐๙ ๓๓.๐๐ ๒๓.๔๔ ๒๑.๖๑ ๒๘.๐๘

เปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

ปีการศึกษา ๒๕๖๓-๒๕๖๕

วิชา ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ๔๔.๙๑ ๓๕.๕๒ ๒๕.๘๐ ๒๔.๙๕ ๒๙.๑๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ๔๘.๖๒ ๓๗.๕๒ ๒๔.๖๔ ๒๑.๓๕ ๒๙.๒๙

ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๔๐.๖๑ ๓๐.๗๔ ๒๑.๘๖ ๑๘.๗๔ ๒๗.๒๖

3.1.3 ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3R8C)

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

1.กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ สนับสนุนให้นักเรียนปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยตนเองตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพ ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สนุกสนานที่ในการสืบค้นหาความรู้ต่อไป

1.1 การเรียนรู้ผ่านการทำงาน การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยโรงเรียนร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน

1.2 การเรียนรู้ผ่านโครงงาน การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือผู้ให้คำแนะนำ ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยโครงงาน สิ่งที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ด้วย PBL

1.3 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ การเรียนการสอนโดยการปฏิบัติจริงในเนื้อหาทุกขั้นตอน เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนทุกคนในกลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ การจัดกระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราชยึดความสมดุลจึงจะส่งผลให้การจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป้าหมายการเรียนในศตวรรษที่ 21 คือ การปูพื้นฐาน ความรู้และทักษะสาหรับการมีชีวิตที่ดี

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

๑) ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

ร้อยละของนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ

๒) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

แผนภูมิแสดงผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน

๓) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

แผนภูมิแสดงร้อยละของนักเรียนที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

๔) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

แผนภูมิแสดงร้อยละของนักเรียนที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

3.2.1 ผู้เรียนมีวินัย สุจริต จิตอาสา อยู่อย่างพอเพียง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนได้ดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมของนักเรียน ด้วยการสอดแทรก ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้เรียน จัดทำไว้ใน ปพ.5 เพื่อให้ครูสะดวกในการวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้เรียน ให้ครูนำผลจากการวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้เรียน ใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศ ที่นำไปวิเคราะห์สภาพ แนวทางการแก้ไข และพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน ด้วยการวิเคราะห์/ตั้งเป้าหมายคุณภาพร่วมกับผลสัมฤทธิ์ จัดกิจกรรมเพื่อสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมลงในแผนการจัดการเรียนรู้ ครูสอนตามกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้พร้อมทั้งประเมินผล เพื่อทราบคุณลักษณะ และดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ให้ครูที่ปรึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยง ของนักเรียนในชั้นของตนเอง จัดทำแผนหรือกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละปัญหา แต่ละคนให้ชัดเจน มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ระดับชั้น จำนวนนักเรียน ผลการประเมิน ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ

ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีเยี่ยม

ม. ๑ ๒๑๗ ๐ ๔ ๓๔ ๑๗๙ ๒๑๓ ๙๘.๑๖

ม. ๒ ๒๓๒ ๐ ๗ ๕๘ ๑๖๕ ๒๒๓ ๙๖.๑๒

ม. ๓ ๑๗๓ ๐ ๒ ๒๖ ๑๔๕ ๑๗๑ ๙๘.๘๔

ม. ๔ ๑๖๓ ๐ ๑ ๑๙ ๑๔๓ ๑๖๒ ๙๙.๓๙

ม. ๕ ๑๔๙ ๐ ๑ ๔๗ ๑๐๑ ๑๔๘ ๙๙.๓๓

ม. ๖ ๑๒๕ ๐ ๑ ๙ ๑๑๕ ๑๒๔ ๙๙.๒๐

รวม ๑,๐๕๙ ๐ ๑๘ ๑๙๓ ๘๔๘ ๑,๐๔๑ ๙๘.๓๐

การนำเสนอวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice และคิวอาร์ โค้ด ลิงค์วีดีโอ

3.2.2 ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น รักความเป็นไทย

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

นักเรียน มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย นักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และกิจกรรมประเพณีท้องถิ่น ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครศรีธรรมราช กิจกรรมทำบุญให้ทานไฟวัดใกล้บ้าน กิจกรรมทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมวันศิลปินแห่งชาติ และวันสำคัญต่างๆ ของไทย

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

นักเรียนทุกคนผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น รักความเป็นไทย ประเมินจาการเข้ากิจกรรมโครงการตามที่โรงเรียนได้จัดขึ้น และนักเรียนได้เข้าร่วมในกิจกรรมของชุมชน

“โครงการวันศิลปินแห่งชาติ (รำลึกเพลงบอกสร้อย เสียงเสนาะ) “ณ ที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการแข่งขัน นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่1

3.3 สมรรถนะของผู้เรียน

ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีมีความรู้หลายภาษา

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

โดย มุ่งเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อนำมาปรับเปลี่ยน วิธีคิดให้ทันสมัย แก้ไขกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ผู้เรียนจึงมีทักษะการแสวงหาความรู้ เพื่อมุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีมีความรู้หลายภาษา โดยการวิเคราะห์ข้อมูล การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ การแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายได้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน โดยผ่านการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) และการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–Based Learning) จากนั้นนำไปบูรณาการในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงสามารถสร้างสรรค์สื่อนวัตกรรมที่แปลกใหม่ เกิดประโยชน์ต่อสังคมการศึกษา โดยคำนึงถึงทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ตลอดจนสามารถผสมผสานการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพูนปัญญา จุดประกายความคิด ภาคภูมิใจในศักยภาพของตนเอง รวมถึงต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

๑. นักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มีความสามารถในการอ่าน เขียนภาษาไทย และสื่อสารได้อย่างดี

๒. นักเรียนมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร และบรรลุตามเป้าหมายที่โรงเรียนตั้งไว้

๓. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถอธิบายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นขั้นตอนและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้

๔. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาได้ในระดับดีเยี่ยม

๕. นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

3.4 ขีดความสามารถในการแข่งขัน

พัฒนาผู้เรียนด้านความเป็นเลิศ สู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

วิธีปฏิบัติ/ แนวทางการดำเนินงาน

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช ดำเนินการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนด้านความเป็นเลิศ ได้จัดกิจกรรมทางด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรีไทย/สากล ด้านนาฏศิลป์ ด้านกีฬา ด้านวิชาการต่าง ๆ โดยส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามความถนัด และสนใจ อันประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนาทักษะสู่ความเป็นเลิศ ให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

ผลงาน/รางวัลที่ได้รับ ระดับ หน่วยงานที่มอบรางวัล

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การประกวดมารยาทไทย ชั้นมัธยมศึกษา ชาติ โครงการจัดงานมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุประจำปี ๒๕๖๖ กิจกรรมพัฒนาเยาวชนเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระดับชาติ ชิงโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ

มจร.วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ร่วมกับวัดนาสนธิ์ (นาสาน) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมการศาสนา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การประกวดมารยาทไทย ชั้นมัธยมศึกษา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ทีมที่ ๒ การประกวดสวดมนต์หมู่ สรรเสริญพระรัตนตรัย ทำนองสรภัญญะ ชั้นมัธยมศึกษา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ การประกวดตอบปัญหาวิชาการ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ ประกวดกล่าวคำอาราธนาในพระพุทธศาสนพิธี ชั้นมัธยมศึกษา

รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ “ยุวชนคุณธรรม” ในงานวันเยาวชนแห่งชาติ ชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

รางวัลเหรียญทองและนักกีฬายอดเยี่ยม กีฬามวยปล้ำ ประเภทชายหาดชาย รุ่นน้ำหนักมากกว่า ๗๐ กิโลกรัม ชาติ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๗ พัทลุงเกมส์ การกีฬาแห่งประเทศไทย

รางวัลเหรียญทองและนักกีฬายอดเยี่ยม กีฬามวยปล้ำ ประเภทชายหาดชาย รุ่นน้ำหนักมากกว่า ๗๐ กิโลกรัม ชาติ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๗ พัทลุงเกมส์ การกีฬาแห่งประเทศไทย

ผลงาน/รางวัลที่ได้รับ ระดับ หน่วยงานที่มอบรางวัล

รางวัลเหรียญทอง กีฬามวยปล้ำ ประเภทเกรกโกโรมัน รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๔๘ กิโลกรัม ชาติ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๗ พัทลุงเกมส์ การกีฬาแห่งประเทศไทย

รางวัลเหรียญทอง กีฬามวยปล้ำ ประเภทฟรีสไตล์ชาย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๖๕ กิโลกรัม

รางวัลเหรียญทอง กีฬามวยปล้ำ ประเภทชายหาดชาย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๕๐ กิโลกรัม

รางวัลเหรียญเงิน กีฬามวยปล้ำ ประเภทชายหาดชาย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๖๐ กิโลกรัม

รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันมวยปล้ำ ประเภทเกรกโก-โรมัน ชาติ การแข่งขันกีฬานักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๒ “เทียนนกแก้วเกมส์” ประจำปี ๒๕๖๕

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งประเทศไทย และกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย

รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันมวยปล้ำ ประเภทเกรกโก-โรมัน

รางวัลเหรียญทอง กีฬามวยปล้ำ ประเภทเกรกโก โรมัน รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๕๑ กิโลกรัม ชาติ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๘ “นครสวรรค์เกมส์” การกีฬาแห่งประเทศไทย

รางวัลเหรียญทอง กีฬามวยปล้ำ ประเภทชายหาด รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๖๐ กิโลกรัม

รางวัลเหรียญทอง กีฬามวยปล้ำประเภทฟรีสไตล์ชาย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๖๕ กิโลกรัม

รางวัลเหรียญทอง กีฬามวยปล้ำประเภทฟรีสไตล์ หญิง รุ่นน้ำหนักไม่เกิน ๗๓ กิโลกรัม

ผลงาน/รางวัลที่ได้รับ ระดับ หน่วยงานที่มอบรางวัล

รางวัลเหรียญเงิน กีฬามวยปล้ำ ประเภทชายหาด รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 70 กิโลกรัม ชาติ การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๘ “นครสวรรค์เกมส์” การกีฬาแห่งประเทศไทย

รางวัลเหรียญเงิน กีฬามวยปล้ำ ประเภทฟรีสไตล์ชาย รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 92 กิโลกรัม

รางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๑ การแข่งขันเดี่ยวฆ้องวงเล็ก ม.๔-ม.๖ ภาค/ประเทศ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ ๗๐ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ภาคใต้ จังหวัดสตูล ระดับมัธยมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ การแข่งขันเดี่ยวระนาดเอก ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ การแข่งขันเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันเดี่ยวระนาดเอก ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันเดี่ยวฆ้องวงเล็ก ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ม.๑-ม.๖

รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันหนังสือเล่มเล็ก ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (Youth Counselor : YC) ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันกิจกรรมนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (Youth Counselor : YC) ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันจักสารไม้ไผ่ ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญทองแดง การแข่งขันประติมากรรม ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันประติมากรรม ม.๑-ม.๓

ผลงาน/รางวัลที่ได้รับ ระดับ หน่วยงานที่มอบรางวัล

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ม.๑-ม.๓ ภาค/ประเทศ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ ๗๐ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ภาคใต้ จังหวัดสตูล ระดับมัธยมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันทำอาหารคาวหวานเพื่อสุขภาพ ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญทอง การประกวดแปรรูปอาหาร ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญทอง การประกวดแปรรูปอาหาร ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันเขียนภาพไทยประเพณี ม.๑-ม.๓

รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันต่อสมการคณิตศาสตร์ (เอแม็ท) ม.๔-ม.๖

รางวัลเหรียญเงิน การแข่งขันเขียนภาพจิตรกรรมไทยสีเอกรงค์ ม.๑-ม.๓

5. ปัจจัยความสำเร็จ

PIDCAS – WPS MODEL รูปแบบการบริหารงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช

1. ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาระบบงาน

2. การมีส่วนรวมของบุคลากรทีมีส่วนเกี่ยวข้อง

3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทีเหมาะสม

4. ความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

5. ครูและบุคลากร มีความพร้อมและความตั้งใจที่นำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนา ปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง

6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)

1. การดำเนินงานที่เป็นระบบจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ยั่งยืน

2. การดำเนินกิจกรรมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการที่สำคัญคือปัจจัยด้านบุคลากรในโรงเรียน 3. การดำเนินกิจกรรมที่บรรลุผลสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย

ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

1. ด้านการวางแผนการดำเนินงาน การดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อมีส่วนร่วมในการออกแบบวางแผนการดำเนินงาน

2. ด้านการเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน ควรจัดอบรมหรือเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3. ด้านการปฏิบัติงาน ควรจัดทำเกียรติบัตรเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจครูที่ดำเนินการจัดการเรียนสอนและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรมีการประกวดหรือการแข่งขันผลงานนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นเผยแพร่ผลงาน

5. ด้านการเผยแพร่ขยายผล ผู้บริหารสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนได้รู้สึกเป็นการทำงานแบบกัลยาณมิตร

7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

โรงเรียนได้มีการประชาสัมพันธ์ โดยจัดประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานในวารสารโรงเรียน เว็บไซต์ของโรงเรียน เพจโรงเรียน ร่วมทั้งประชาสัมพันธ์การประชุมผู้ปกครอง การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา

โพสต์โดย ธามม์ : [28 ก.ย. 2566 เวลา 08:32 น.]
อ่าน [2799] ไอพี : 159.192.43.242
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 4,029 ครั้ง
กรมอนามัยแนะนำเด็กไทย ดื่มนมจืด 2 แก้ว ทุกวัน เพิ่มความสูงได้
กรมอนามัยแนะนำเด็กไทย ดื่มนมจืด 2 แก้ว ทุกวัน เพิ่มความสูงได้

เปิดอ่าน 13,467 ครั้ง
หลากเทคนิค ช่วยให้นอนหลับสบาย
หลากเทคนิค ช่วยให้นอนหลับสบาย

เปิดอ่าน 11,314 ครั้ง
ดูทีวี-เล่นมือถือในที่มืด ระวังต้อหินคุกคามจนตาบอด
ดูทีวี-เล่นมือถือในที่มืด ระวังต้อหินคุกคามจนตาบอด

เปิดอ่าน 23,896 ครั้ง
สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี
สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี

เปิดอ่าน 19,027 ครั้ง
คุณครูที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความน่าสนใจของนักเรียนในห้องเรียน ลองใช้วิธีนี้ดูสิ
คุณครูที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความน่าสนใจของนักเรียนในห้องเรียน ลองใช้วิธีนี้ดูสิ

เปิดอ่าน 38,275 ครั้ง
การทำระบบน้ำสำหรับการเกษตร และวิธีการติดตั้งที่ดี
การทำระบบน้ำสำหรับการเกษตร และวิธีการติดตั้งที่ดี

เปิดอ่าน 10,809 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44
จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44

เปิดอ่าน 1,601 ครั้ง
ซอฟต์แวร์สร้างศักยภาพให้โลกใบนี้
ซอฟต์แวร์สร้างศักยภาพให้โลกใบนี้

เปิดอ่าน 9,187 ครั้ง
พัฒนาไปไกล! อังกฤษตั้งทีมวิจัยศึกษา 5G แล้ว
พัฒนาไปไกล! อังกฤษตั้งทีมวิจัยศึกษา 5G แล้ว

เปิดอ่าน 14,239 ครั้ง
[Clip] เล็กๆ เปลี่ยนโลก : เคล็ดลับง่ายๆ บริหารสมองสองซีก จากการนับเลข 1-10
[Clip] เล็กๆ เปลี่ยนโลก : เคล็ดลับง่ายๆ บริหารสมองสองซีก จากการนับเลข 1-10

เปิดอ่าน 29,511 ครั้ง
ลอยกระทง วันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง
ลอยกระทง วันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง

เปิดอ่าน 34,079 ครั้ง
วิธีปลูก "ต้นหอม" ทานเอง
วิธีปลูก "ต้นหอม" ทานเอง

เปิดอ่าน 8,789 ครั้ง
จีนเตือนคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุม
จีนเตือนคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุม

เปิดอ่าน 14,058 ครั้ง
อันดับเมืองน่าอยู่
อันดับเมืองน่าอยู่

เปิดอ่าน 21,319 ครั้ง
ขั้นตอนปลูกแก่นตะวัน ปลูกง่าย โตไว ราคาดี
ขั้นตอนปลูกแก่นตะวัน ปลูกง่าย โตไว ราคาดี

เปิดอ่าน 12,829 ครั้ง
การค้ำประกันสัญญาอนุญาตให้ ขรก.ลาศึกษาต่อ ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ ฉบับใหม่
การค้ำประกันสัญญาอนุญาตให้ ขรก.ลาศึกษาต่อ ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯ ฉบับใหม่
เปิดอ่าน 27,750 ครั้ง
เรื่องของเลขศูนย์
เรื่องของเลขศูนย์
เปิดอ่าน 68,201 ครั้ง
วิธีการทดสอบน้ำผึ้งแท้หรือปลอม
วิธีการทดสอบน้ำผึ้งแท้หรือปลอม
เปิดอ่าน 12,492 ครั้ง
คลิปถ่ายทอดสด "หนุ่มโดดดิ่งเวหา" จากขอบโลกยอดคนดูทำลายสถิติยูทูป
คลิปถ่ายทอดสด "หนุ่มโดดดิ่งเวหา" จากขอบโลกยอดคนดูทำลายสถิติยูทูป
เปิดอ่าน 47,990 ครั้ง
ครู-คนสอนคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์สอนคน
ครู-คนสอนคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์สอนคน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ