ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลตำบลหัวทะเล สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลหัวทะเล จังหวัดนครราชสีมา
ผู้ประเมิน ณัฏฐ์นรี บุราณ
ปีที่ประเมิน 2566
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลหัวทะเล สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลหัวทะเล จังหวัดนครราชสีมา ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ และการประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ระยะเวลาในการดำเนินการประเมิน คือ ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 284 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม จำนวน 1 คน ครูประจำชั้น จำนวน 12 คน ผู้ปกครอง จำนวน 100 คน ตัวแทน และนักเรียน จำนวน 161 คน ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลหัวทะเล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างมาจากตารางของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (StratifiedRandom Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความคิดเห็นจำนวน 6 ฉบับ จากนั้นนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลตามเกฑณ์การประเมินต่อไป
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลหัวทะเล สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลหัวทะเล จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านได้ ดังต่อไปนี้
1. ด้านบริบท พบว่า โดยภาพรวมมีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการมีความเหมาะสมกับ สภาพปัจจุบันปัญหาของโรงเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หน่วยงาน องค์กร ชุมชน มีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมมีความพร้อมและเหมาะสมเพียงพออยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมมีทักษะในการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้เป็นอย่างดี ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ งบประมาณเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมและจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
3. ด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีการนำผลการประเมินโครงการไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
4. ด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ นักเรียนนำความรู้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีผลงาน ชิ้นงานสร้างสรรค์ จากการอ่านสม่ำเสมอ
5. ด้านผลกระทบของโครงการ โดยศึกษาจากการสะท้อนผลที่เกิดจากความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ด้าน
6. การประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีนิสัยรักการอ่านอยู่ในระดับจริงมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หนังสือที่ข้าพเจ้าชอบอ่านคือ หนังสืออ่านสำหรับเด็ก เชน นิทาน การตูน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หนังสือที่ข้าพเจ้าชอบอ่านคือหนังสือเรียน