การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ื่ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางสุภาวดี กิจเกิด
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นที่ 4 การประเมินผล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินการคิดวิเคราะห์5) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติที(t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่า ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X = 4.47, S.D. = 0.56) ข้อที่มี การปฏิบัติในระดับมากที่สุด คือ
จัดบรรยากาศภายในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้รองลงมาคือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีการเชื่อมโยงเนื้อหากับชีวิตประจำวัน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เน้นให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคิด พบว่า ครูผู้สอนมีการตั้งคำถาม โดยใช้คำถามที่ง่าย ต่อการเข้าใจ มีการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน เน้นกิจกรรมให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากกว่าการบรรยาย มีการเตรียมและใช้สื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมสมอง ขั้นที่ 2 ขั้นเชื่อมโยงความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.56)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่ากับ 85.30/84.62 ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 การคิดวิเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนการประเมินอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 10.07 คิดเป็นร้อยละ 83.88
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.51)