ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร
ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางรัตนา วชิราสุริยา
ปีที่ทำวิจัย 2566
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3) เพื่อทดลองรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1.1) เรื่องที่จะนำมาพัฒนารูปแบบคือ
เรื่อง ทศนิยม รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค16101 และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ได้ร่างองค์ประกอบ 3 ด้าน ดังนี้ องค์ประกอบด้านหลักการ องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ และองค์ประกอบด้านขั้นตอนกระบวนการสอน 1.2) ความต้องการ
ในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3) นักเรียนที่มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ต้องมีทักษะในการพูดและการเขียน การใช้คำศัพท์ สัญลักษณ์ รูปภาพและโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เพื่อแสดงแนวคิด แลกเปลี่ยนความรู้ เชื่อมโยง และอธิบายกรอบแนวคิดของหลักการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และสามารถอธิบายแนวคิดให้บุคคลอื่นเข้าใจตรงกันได้
2. การสร้างรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 2.1) รูปแบบการสอน มี องค์ประกอบ 4 ด้าน ดังนี้ องค์ประกอบด้านหลักการ องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ องค์ประกอบด้านขั้นตอนกระบวนการสอน และองค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน ได้กระบวนการสอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นความรู้ (Stimulating) ขั้นการเรียนรู้ (Educating) ขั้นสู่การปฏิบัติ (Practicing) ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Summarizing) ขั้นสู่การประเมิน (Evaluating) รูปแบบการสอน มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.2) ความเหมาะสมของร่างรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.3) ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการทดลองใช้ครั้งที่ 3 มีค่าเท่ากับ 80.75/80.56 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. การทดลองรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 84.56/83.50 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับแนวคิด CPA เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก