บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางกาญจนา จองเดิม
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านนาประดู่
ปีที่ทำการวิจัย 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 7 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความตรงตามสูตร IOC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยง ค่าความเที่ยงตามสูตรอัลฟา และ E1/E2
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.00/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐5
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด