ความสำคัญของการวิจัย:
ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 49 ความว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและ การสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นก้าวแรกของความพยายามที่จะลดความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ที่ส่งผลต่อบุคคลหลาก หลายกลุ่มทั้งสตรีเด็กชาวชนบทคนยากจนในเมืองกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยด้อยโอกาสและเด็กเป็นจำนวนล้าน ๆ คนที่ขาดโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนและไม่มีงานทำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงให้ความสำคัญต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนเพื่อเป็นฐานของการพัฒนา โดย เฉพาะฐานการสร้างความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมเทคโนโลยีและ การสื่อสารที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละประเทศจึงให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำสร้างความเท่าเทียมและโอกาสในการได้รับการ ศึกษาของประชาชนในชาติให้มากขึ้น (ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 : 13)
การบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ในปัจจุบัน ที่ต้องเผชิญกับสภาวการณ์การแข่งขัน
ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งภายในและต่างประเทศ องค์กรต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการบริหารตลอดเวลา และให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการบริหารจัดการ เนื่องจากทรัพยากรมีคุณค่าแตกต่างไปจากทุนอื่น ๆ เช่น เงินทุน เครื่องจักรซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้และหมดไป หรือด้อยค่าไปตามระยะเวลาการใช้งาน แต่ทรัพยากรมนุษย์สามารถเพิ่มคุณค่าได้หากมีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในองค์กร ดังนั้น การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ จึงถือได้ว่าเป็นเสมือนการลงทุนที่ต้องได้ประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุดโดยมุ่งเน้นการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ การรับบุคลากร การธำรงรักษา และการดูแลให้บุคลากรที่ต้องออกจากองค์กรสามารถดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในสังคม (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. 2548 : 37) โรงเรียนเป็นหน่วยงานทางการศึกษาระดับปฏิบัติการที่สำคัญที่สุด ผลการจัดการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของโรงเรียนซึ่งการที่โรงเรียนจะดำเนินการจัดการศึกษาให้บรรลุจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น อาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ครู ผู้บริหาร ชุมชนและผู้ปกครองนักเรียน (กษิภณ ชินวงศ์. 255 : 2)
ข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าเรื่องร้องเรียนมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกปี (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1, เขต 2 , เขต 3, 2558 ) ทั้งนี้เรื่องที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วน มาก เป็นความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนกับข้าราชการครูในโรงเรียนเดียวกัน หรือเป็นการขัดแย้งระหว่างผู้บริหารโรงเรียนกับผู้ปกครองหรือผู้นำชุมชนตลอดจน ความขัดแย้งระหว่างข้าราชการครูด้วยกันเอง ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานนี้มีความขัดแย้งกันอันเป็นการขัดแย้งระหว่างตัวบุคคล ขัดแย้งระหว่างบุคคลกับกลุ่มคน ขัดแย้งระหว่างกลุ่มหรือองค์การ
จากความสำคัญและความเป็นมาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการความขัดแย้งเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะได้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความขัดแย้ง และรูปแบบการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกร้อยเอ็ด เพื่อเป็นแนวทางและประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อต่อความขัดแย้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารความขัดแย้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
ผลของการวิจัย
ความขัดแย้งภายในองค์กรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด เกิดจากปัจจัย ดังนี้
1) ความขัดแย้งของบุคคล มนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกันแต่ละคนมีประสบการณ์ ของตัวเอง มีการเรียนรู้ การรับรู้ ที่อาจจะเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน หรือแตกต่างกันทำให้เกิดความขัดแย้งของบุคคล
2) ความขัดแย้งในองค์การ หน่วยงานและองค์การต่าง ๆ มีบุคลากรมากมาย เป็นกลุ่มเป็นทีม มีผู้นำและผู้ตาม การทำงานในองค์การย่อมมีความขัดแย้งไม่มากก็น้อย ความขัดแย้งในองค์การ