บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการ
จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ Active Leaning ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2566 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการพัฒนา
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ Active Leaning ร่วมกับ
การวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย
รูปแบบ Active Leaning ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566
ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย
รูปแบบ Active Leaning ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้
แบบฝึกเสริมทักษะการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ
Active Leaning ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 ประชากร
คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตคุณภาพศรีมหาโพธิ 2 อำเภอศรีมหาโพธิ สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านวังขอน อำเภอศรีมหาโพธิ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 25566 จำนวน 14 คน
ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบฝึกทักษะการพัฒนา
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ Active Leaning ร่วมกับการ
วาดรูปบาร์โมเดล กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ชุด คู่มือการใช้แบบฝึกทักษะ
การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ Active Leaning
ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก
จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ
ทดสอบที(t test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย
รูปแบบ Active Leaning ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 87.71/87.43
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากได้รับการ
จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการ
เรียนรู้ด้วยรูปแบบ Active Leaning ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ Active Leaning ร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
( x̄ = 4.83) (S.D. = 1.50)