ภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความสำคัญ และจำเป็นในการสื่อสารของมนุษย์ การสื่อสารของมนุษย์ใช้ทักษะที่สำคัญหลายทักษะที่จำเป็นได้แก่ ฟัง พูด อ่าน และเขียน
แต่ในปัจจุบันทักษะการอ่านเป็นทักษะที่มักจะประสบปัญหาและทำให้ทักษะด้านอื่น ๆ ได้รับผลกระทบด้วยอย่างต่อเนื่อง สาเหตุดังกล่าวทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 โดยใช้นักเรียนจำนวนทั้งหมด 30 คน ทำแบบฝึกอ่าน และแบบฝึกหัดสะกดคำ จำนวน 5 ชุดกิจกรรม โดยบันทึกคะแนนเป็นตาราง และสรุปผลการเปรียบเทียบการอ่าน และสะกดคำเป็นความเรียง
ผลการศึกษาครั้งนี้ ปรากฏว่าการใช้แบบฝึกอ่าน และแบบสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 นักเรียนสามารถอ่าน และทำแบบสะกดคำ คิดค่าเฉลี่ยร้อยละ 90.35
ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การส่งเสริมทักษะการอ่าน สะกดคำ นักเรียนจะสามารถทำงานได้ดี เมื่อมีการเสริมแรงจากการใช้คำยกย่องชมเชยจากครู และทำอย่างต่อเนื่อง
เรื่อง การส่งเสริมการอ่านสะกดคำของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4
ความสำคัญ และที่มา
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทยที่จำเป็นในการสื่อสารของมนุษย์ การสื่อสารของมนุษย์ใช้ทักษะที่สำคัญหลายทักษะ เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน
แต่ในปัจจุบันวิชาภาษาไทย จะประสบกับปัญหานักเรียนขาดทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญ และไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง จากการสังเกตของครูผู้สอนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 นักเรียนบางคนยังอ่านคำที่มีสระประสมไม่ถูกต้อง สาเหตุดังกล่าวทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นของตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนในระดับต่อไป จึงทำให้มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การส่งเสริมการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 เมื่อแก้ปัญหาการอ่านที่เกิดขึ้น
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำให้ได้มากขึ้น
ตัวแปรที่ศึกษา
จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 30 คน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อส่งเสริมการอ่าน สะกดคำวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 30 คน ผู้วิจัยได้ทำแบบฝึกอ่าน สะกดคำเกี่ยวกับวิชาภาษาไทย ซึ่งมีความยากง่ายกับระดับชั้นของนักเรียนจำนวน 5 ชุด กิจกรรม และใช้การเสริมแรงโดยใช้การยกย่องชมเชย และให้คะแนนระหว่างทำกิจกรรม เพื่อพัฒนาการอ่าน สะกดคำให้สูงขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนอ่านสะกดคำได้ถูกต้อง
2. มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านสะกดคำสูงขึ้น
3. นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องการอ่านได้
ขอบเขตการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสร้างแบบฝึกเพื่อส่งเสริมการอ่านสะกดคำวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึก 5 ชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาการอ่านสะกดคำ ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 มีขอบเขตการวิจัยครั้งนี้
1. จำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 30 คน
2. เนื้อหาวิชาภาษาไทย การอ่านสะกดคำ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด
กิจกรรม
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน การดำเนินการ
11.-13 ม.ค. 60 ศึกษาสภาพปัญหา และวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหา
17-20 ม.ค. 60 ฝึกการอ่านโดยใช้ชุดกิจกรรม 1,2
23-27 ม.ค. 60 ทดสอบความสามารถในการอ่านสะกดคำ โดยใช้ชุดกิจกรรม 1, 2 (ผู้วิจัยทำการบันทึกคะแนน)
1 -6 ก.พ. 60 ฝึกการอ่านโดยใช้ชุดกิจกรรม 3,4,5
7-10 ก.พ. 60 ทดสอบความสามารถในการอ่านสะกดคำ โดยใช้ชุดกิจกรรม 3,4,5 (ผู้วิจัยทำการบันทึกคะแนน)
15-17 ก.พ. 60 สรุปวิเคราะห์ผลการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ จำนวน 5 ชุด
2. การเสริมแรงระหว่างปฏิบัติกิจกรรมคำยกย่องชมเชยการให้คะแนน
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนจำนวน 30 คน จากการอ่านแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ มีจำนวนทั้งหมด 5 ชุดกิจกรรม
ชุดกิจกรรมที่ 1 ชุดทักษะการอ่านสะกดคำ และทำแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำได้คิดเป็นร้อยละ 47.56
ชุดกิจกรรมที่ 2 ชุดทักษะการอ่านสะกดคำ สระโอะ มีตัวสะกดนักเรียนสามารถอ่าน และทำแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำได้คิดเป็นร้อยละ 52.70
ชุดกิจกรรมที่ 3 ชุดทักษะการอ่านสะกดคำ สระเอะ มีตัวสะกด นักเรียนสามารถและทำแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำได้คิดเป็นร้อยละ 56.48
ชุดกิจกรรมที่ 4 ชุดทักษะการอ่านสะกดคำ สระเออ นักเรียนสามารถอ่าน และทำแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำได้คิดเป็นร้อยละ 58.37
ชุดกิจกรรมที่ 5 ชุดทักษะการอ่านสะกดคำ สระอัว นักเรียนสามารถอ่านและทำแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำได้คิดเป็นร้อยละ 61.08
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากการศึกษา และวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทำชุดกิจกรรม เกี่ยวกับทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 ในครั้งที่ 1 คิดค่าร้อยละ ได้เท่ากับ 75.68 และครั้งที่ 2 คิดได้ค่าร้อยละ 89.90 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาด้านการอ่าน สะกดคำเพิ่มขึ้นจากเดิม นักเรียนสามารถทำคะแนนได้ดีตามลำดับเป็นที่น่าพอใจ และจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบเป็นรายบุคคลยังพบว่ามีนักเรียนที่เรียนอ่อนเท่านั้นที่คะแนนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์เป็นรายบุคคลต่อไป
การเสริมแรงขณะปฏิบัติกิจกรรมช่วยให้นักเรียนมีกำลังใจ และทำงานได้คะแนนดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ อาจใช้รูปแบบอื่นนอกจากชุดกิจกรรมชุดที่
1-5 โดยอาจจะทำได้ในรูปของการเขียนตามคำบอก หรือการจับคู่โยงภาพกับคำก็ตามความเหมาะสม
2. การให้กำลังใจ คำยกย่อง ชมเชย ช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนมากขึ้น