ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ ร่วมกับแผนผังความคิด.

คำสำคัญ : การสร้างคำในภาษาไทย/ รูปแบบการสอนมโนทัศน์/ แผนผังความคิด

ชัยกฤต อินทะโส: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์

ร่วมกับแผนผังความคิด.

ปีการศึกษา: 2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบ ค่าสถิติทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t - test Dependent) การหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียน ( 8.53, S.D. = 1.24) สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียน ( = 5.97, S.D. = 0.89)

2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.40

กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและเป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในสังคม มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง จึงได้กำหนดวิชาภาษาไทยไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไว้จำนวน 5 สาระได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด สาระที่ 4หลักการใช้ภาษาไทย และสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม ซึ่งสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทยมาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ,สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2551: 53) ถือเป็นสาระที่สำคัญสาระหนึ่ง เนื่องจากกฎเกณฑ์ของไวยากรณ์ไทยหรือที่เรียกกันว่าหลักภาษานั้น จะทำให้ผู้ใช้ภาษาเข้าใจและใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสาร ดังที่ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ (2541: 14) ได้อธิบายถึง ความสำคัญของหลักภาษาไทย ไว้ว่า หลักภาษาไทย คือ ระเบียบแบบแผนของภาษาไทยที่มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้ยึดถือเป็นหลักร่วมกันในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง การมีหลักภาษาไทยเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง หากขาดหลักภาษาไทยเสียแล้ว ก็เท่ากับขาด “บรรทัดฐาน” ของภาษา จะเป็นเหตุให้มีการใช้ภาษาอย่างบกพร่อง ผิดพลาดและไขว้เขว นานไปก็จะทำให้ภาษาเสื่อมสลายได้ ด้วยเหตุนี้ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยต้องสอนให้ผู้เรียนตระหนักและเห็นคุณค่าของวิชาภาษาไทย ซึ่ง กรมวิชาการ (2544: 13) ได้กำหนดแนวทางการสอนหลักเกณฑ์ทางภาษาไทยให้แก่นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูต้องใช้เทคนิคอย่างหลากหลาย ใช้วิธีสอดแทรกหลักภาษาไปในกระบวนการเรียนการสอนอย่างผสมกลมกลืนกับการสอนการใช้ภาษา และสอนให้สนุกด้วยการให้นักเรียนสังเกตการใช้ภาษา สรุปเป็นกฎเกณฑ์ด้วยตนเอง จะได้ไม่ทำให้นักเรียนเบื่อวิชาภาษาไทย หากนักเรียนรักและเห็นคุณค่าของภาษาไทยก็จะเป็นคนรักการอ่าน ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สำคัญยิ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ของนักเรียนต่อไป

คำเป็นหน่วยทางภาษาที่จะต้องนำไปสร้างประโยคและข้อความ ตลอดระยะเวลาที่คนไทยคิดค้นสิ่งใหม่และรับสิ่งใหม่จากชนชาติอื่นทั้งที่เป็นวัตถุ กิจกรรม วิธีการ และอื่น ๆ ก็ได้คิดคำประสมขึ้นเพื่อเรียกขานสิ่งเหล่านั้น เป็นผลทำให้มีคำเพิ่มมากขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ กระทรวงศึกษาธิการ (2556: 76) การนำคำจากภาษาอื่นมาใช้เป็นการเพิ่มคำในภาษาอีกวิธีหนึ่ง เมื่อคนไทยติดต่อกับ ชนชาติอื่น ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะรับคำในภาษาของชนชาติเหล่านั้นมาใช้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าทางภาษา ทำให้มีคำใช้มากขึ้น สามารถสื่อสารได้ชัดเจน และรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังที่ จงชัย เจนหัตถการกิจ (2551: 49) ได้กล่าวถึงการสร้างคำในภาษาไทยว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยืดหยุ่นและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีวิธีการสร้างคำเพื่อเพิ่มคำโดยวิธีการของตนเอง โดยเริ่มจากการนำคำมูลประสมกัน ด้วยวิธีการประสมคำ ซ้อนคำ ซ้ำคำ เรียกคำที่สร้างขึ้นใหม่ว่า คำประสม คำซ้อน และคำซ้ำ และยังมีการสร้างคำที่นำมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น การสร้างคำโดวิธีการสมาส การสมาสที่มีการสนธิ การลงอุปสรรคของภาษาบาลีสันสกฤต นอกจากนี้ยังมีการแผลงคำทั้งคำไทยและคำที่มาจากภาษาต่างประเทศซึ่งทำให้ภาษา มีความหลายหลาย สอดคล้องกับ นพดล จันทร์เพ็ญ (2557: 20) กล่าวว่า ภาษาไทยจัดว่ามีความพิสดารในการสร้างคำมาก สามารถสร้างคำได้หลายรูปแบบ สามารถสร้างคำให้เกิดความหมายใหม่ได้อย่างหลากหลาย หรือบางทีความหมายอาจคงที่ แต่คำนั้น ๆ จะให้อารมณ์และความรู้สึกเพิ่มขึ้น เพราะภาษาไทยเรารับคำภาษาต่างประเทศไว้มาก เช่น เขมร บาลี สันสกฤต เป็นต้น ซึ่งคำที่เกิดจากการสร้างคำใหม่เหล่านี้จะมีผลต่อการฟัง พูด อ่าน และเขียนมาก ผู้รู้ลักษณะและเข้าใจถึงวิธีการสร้างคำในภาษาไทย ก็จะสามารถใช้ภาษาไทย ได้แคล่วคล่อง โดยเฉพาะในส่วนของการพูดและการเขียน ดังนั้นคำจึงเป็นรากฐานของการใช้ภาษา ซึ่งผู้ใช้ภาษาที่ดีต้องทำความเข้าใจเรื่องลักษณะการสร้างคำและการเกิดใหม่ของคำให้ถ่องแท้ ด้วยเหตุนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 สาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา จึงได้กำหนดตัวชี้วัด ท 4.1 ม.4-6/6 ไว้ว่า นักเรียนอธิบายและวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้ ซึ่งการสร้างคำในภาษาไทยนั้น มีลักษณะเป็นมโนทัศน์ (concept) คือ เป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ทางภาษา ประกอบด้วยการนิยาม ลักษณะและตัวอย่าง (เฉลิมลาภ ทองอาจ, 2550:9) นอกจากนี้เรื่องการสร้างคำภาษาไทย ยังถูกกำหนดให้เป็นคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ที่ใช้ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

แม้ว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานจะให้ความสำคัญเรื่องหลักการใช้ภาษาไทย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและพยายามจัด การเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ แต่ปรากฏว่าการเรียนการสอนหลักการใช้ภาษาไทยที่ผ่านมานักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนหลักภาษาไทย ซึ่ง ปิ่นหล้า ศิลาบุตร (2565: สัมภาษณ์) กล่าวว่า เนื้อหาวิชาภาษาไทยในแต่ละระดับมีความซับซ้อน ใช้การท่องจำเป็นจำนวนมาก และต้องเรียนเรื่องเดิมซ้ำเมื่อเรียนในระดับชั้นต่อไป การจัดกิจกกรมการเรียนรู้ต้องใช้เวลานานเพื่อให้ผู้เรียนจำจดเนื้อหาที่เรียนได้ สอดคล้องกับ อาภรณ์ บุญมาก (2565: สัมภาษณ์) อธิบายว่า การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยส่วนใหญ่ของครูจะอธิบายความหมาย หลักการและยกตัวอย่าง จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดและตัวอย่างแนวข้อสอบ แล้วครูจึงสรุปโดยการอธิบายซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนไม่สามารถสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง เพราะจดจำข้อมูลที่ครูสรุปความเข้าใจมาแล้ว และเมื่อเวลาผ่านไปนักเรียนก็จะลืมเรื่องที่เรียน ไม่มีความคงทนในการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีเจตคติเชิงลบต่อสาระการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทยมากขึ้น ดังนั้นครูผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอนให้ผู้เรียนได้มีทักษะการคิดและมีความคงทนในการเรียนรู้เรื่องหลักการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูภาษาไทยในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นผู้เอื้ออำนวย เป็นผู้สนับสนุน ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ในการเรียนวิชาภาษาไทย (สมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย, 2560: 2)

ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวข้องกับรูปแบบวิธีสอนที่มุ่งเน้น การพัฒนาด้านพุทธิพิสัยและกระบวนการคิดของผู้เรียน พบว่า รูปแบบการสอนมโนทัศน์ (Concept attainment model) สามารถพัฒนาความคิดเชิงมโนทัศน์ของผู้เรียนได้ ซึ่ง ทิศนา แขมมณี (2557: 225) ได้อธิบายวัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอนนี้ว่า เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ ของเนื้อหาสาระต่าง ๆ อย่างเข้าใจ และสามารถให้คำนิยามของมโนทัศน์นั้นด้วยตนเอง และได้อธิบายผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบนี้ว่า หากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์ และตัวอย่างที่หลากหลาย จะทำให้ผู้เรียนได้รับผลโดยตรง คือ จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะการสร้างมโนทัศน์ซึ่งสามารถนำไปใช้ทำความเข้าใจมโนทัศน์อื่น ๆ ต่อไปได้ และในปัจจุบันนักการศึกษายอมรับความสำคัญของการสอนให้นักเรียนรู้จักสร้างมโนทัศน์ เพราะ มโนทัศน์ (Concept) มีความสำคัญสำหรับการเรียนการสอนช่วยลดความซับซ้อนในการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดที่มีระบบซึ่งก่อให้เกิดการเรียนที่มีความหมายมากขึ้น แทนการเรียนรู้แบบท่องจำ ดังที่ สุวิทย์ มูลคำ (2556: 10) ได้ให้ความสำคัญของมโนทัศน์ไว้ว่า มโนทัศน์ เป็นเนื้อหาความรู้ที่มีประโยชน์มาก หากผู้เรียนสร้างมโนทัศน์ของสิ่งใดได้แล้ว เขาก็จะสามารถเอามโนทัศน์นั้นไปประยุกต์ใช้ในโอกาสอื่น ๆ ได้อีกเรื่อย ๆ คนเราจะพยายามสร้างมโนทัศน์ของสิ่งต่าง ๆ และเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ เพราะการสรุปลักษณะเฉพาะของสิ่งของต่าง ๆ ในรูปของมโนทัศน์ จะช่วยลดภาระของสมองให้จดจำน้อยลงแทนที่จะจดจำลักษณะปลีกย่อยของทุกสิ่งอย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัว เพียงแต่จำไว้ในลักษณะที่เป็นหมวดหมู่ ซึ่งต่อไปก็จะสามารถขยายขอบข่ายความรู้ของตนเองออกไปได้

จากความสำคัญดังกล่าวทำให้มีผู้สนใจนำรูปแบบการสอนมโนทัศน์ไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดให้กับผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างรอบคอบภายใต้หลักการที่เป็นเหตุผล และนำไปใช้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ดังเช่น เฉลิมลาภ ทองอาจ (2550) ได้ศึกษาวิจัยโดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลักการ ใช้ภาษาไทย และความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รัชนี มั่งคั่ง (2553) ได้ศึกษาวิจัยโดยใช้กระบวนการคิดเชิงมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ยุพคิน ไชยรบ (2554) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการอานอยางมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 ในสาระการเรียนรูภาษาไทยโดยใชรูปแบบการสอนเพื่อใหเกิดมโนมติ และนาสียะห์ สาหาด (2558) ได้ศึกษาวิจัยโดยใช้กระบวนการสอนแบบมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

วิธีการจัดการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้จัดการความรู้ด้วยตนเอง คือ เทคนิค การสอนด้วยแผนผังความคิด เพราะการใช้เทคนิคแผนผังความคิดเป็นการเรียนรู้แบบมีขั้นตอนกระบวนการที่เป็นระบบ Buzan (1997: 45) ได้อธิบายในหนังสือ How to Mind Map ว่า Mind Map เป็นเครื่องมือในการจัดระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเรียบง่ายที่สุด เป็นการแสดงออกด้านความคิดรอบทิศทาง และเป็นการกระทำโดยธรรมชาติของปัญญามนุษย์ เป็นเทคนิคกราฟิกที่ทรงพลัง ซึ่งให้ความสำคัญที่เป็นสากลในการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสมอง และยังเป็นวิธีที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นระบบความคิด สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน จะเกิดผลดีต่อผู้เรียนที่ได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ และนำไปสู่ทักษะการเขียนด้วยความเข้าใจของตนเอง เป็นองค์ความรู้ที่ตัวเองต้องจัดการกระทำขึ้น ดังที่ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2549: 143) ได้กล่าวถึงความสำคัญของแผนผังความคิดไว้ว่า แผนผังความคิดเป็นการจัดกลุ่มความคิดรวบยอดเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของความคิดรอง โดยนำเสนอเป็นภาพหรือแผนผังเป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ของเนื้อที่มีการโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน ทำให้ง่ายต่อการอ่าน เพิ่มความคงทนในการเรียนรู้ เพิ่มการมีเหตุผล และพัฒนาด้านการจำ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้โดยเริ่มจาก การคิด การวางแผนการนำเสนอ การช่วยในการจำ ทำความเข้าใจเรื่อง และสรุปบทเรียน สอดคล้องกับ ทิศนา แขมมณี (2551: 236) กล่าวถึงผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบผังกราฟิก ซึ่งแผนผังความคิดเป็นรูปแบบหนึ่งของผังกราฟิก ไว้ว่า ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียน และจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดี นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้การใช้ผังกราฟิกการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่น ๆ ได้อีกมาก นอกจากนี้แผนผังความคิดช่วยให้ประหยัดเวลา ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกลุ่มเนื้อหา การปรับปรุงการระลึก การสร้างสมความคิดสร้างสรรค์ มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับการคิดไตร่ตรองและการเรียนรู้ แผนที่ความคิดสามารถใช้กับผู้เรียนทุกวิชา นักเรียนทบทวนบทเรียนจากแผนที่ความคิด (สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์, 2540: 21) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กานต์ชนก ด้วงตะกั่ว (2557) และนงนุช จันทร์รักษ์ (2557) กล่าวถึงผลการวิจัยที่นำแผนผังความคิดไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในทำนองเดียวกันว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน

ผู้วิจัยเห็นว่ารูปแบบการสอนมโนทัศน์และเทคนิคการสอนด้วยแผนผังความคิดที่กล่าวมา ในข้างต้น เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด ช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้มโนทัศน์ของเนื้อหาสาระหลักการใช้ภาษา เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย อย่างเข้าใจ และสามารถให้คำนิยามของมโนทัศน์นั้นด้วยตนเองปฏิบัติด้วยตนเอง ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะ นำการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด มาใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด

2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด

คำถามการวิจัย

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิดสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่

2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด อยู่ในระดับใด

สมมุติฐานการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด

ขอบเขตการวิจัย

เพื่อให้การวิจัยครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ไว้ดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 16 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 765 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับสลาก ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม

2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

2.1 ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด

2.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์ร่วมกับแผนผังความคิด

3. เนื้อหา

ผู้วิจัยกำหนดเนื้อหาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่

3.1 คำซ้ำ

3.2 คำซ้อน

3.3 คำประสม

3.4 คำสมาส

โดยยึดตามตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

4. ระยะเวลา

ระยะเวลาในการทดลอง ดำเนินการทดลอง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้ การทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที รวม 8 คาบเรียน ไม่รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

โพสต์โดย piz : [19 ก.ย. 2566 เวลา 17:32 น.]
อ่าน [2002] ไอพี : 119.42.78.19
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 28,263 ครั้ง
พระพิฆเนศ
พระพิฆเนศ

เปิดอ่าน 15,931 ครั้ง
คลิป โอบามา เต้นกังนัมสไตล์
คลิป โอบามา เต้นกังนัมสไตล์

เปิดอ่าน 19,224 ครั้ง
เทคนิคการคูณด้วยเลข 9 ง่ายๆ โดยนับนิ้วมือ จำไว้สอนเด็กๆ ครับ
เทคนิคการคูณด้วยเลข 9 ง่ายๆ โดยนับนิ้วมือ จำไว้สอนเด็กๆ ครับ

เปิดอ่าน 83,845 ครั้ง
10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์
10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์

เปิดอ่าน 12,522 ครั้ง
คลิปกัปตันออกมายอมรับ ผมกลับเข้าห้องนักบินไม่ได้ !!
คลิปกัปตันออกมายอมรับ ผมกลับเข้าห้องนักบินไม่ได้ !!

เปิดอ่าน 93,065 ครั้ง
เพลงลูกเสือ เพลงประกอบท่าทาง
เพลงลูกเสือ เพลงประกอบท่าทาง

เปิดอ่าน 22,154 ครั้ง
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)
วัฎจักรการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย (Internet research cycle)

เปิดอ่าน 12,252 ครั้ง
บริหารหน้าอย่างไร ให้ดูน่ามอง
บริหารหน้าอย่างไร ให้ดูน่ามอง

เปิดอ่าน 1,690 ครั้ง
ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้วมีกี่ขั้นตอน
ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้วมีกี่ขั้นตอน

เปิดอ่าน 16,377 ครั้ง
หญ้าแฝก
หญ้าแฝก

เปิดอ่าน 11,414 ครั้ง
รณรงค์บริโภคผลไม้เพื่อสุขภาพ
รณรงค์บริโภคผลไม้เพื่อสุขภาพ

เปิดอ่าน 18,450 ครั้ง
เผยวิธีหุงข้าว ที่กินแล้วไม่อ้วน
เผยวิธีหุงข้าว ที่กินแล้วไม่อ้วน

เปิดอ่าน 16,664 ครั้ง
10 สุดยอดความรู้วิทย์ เทคนิคสอนเด็กให้สนุก
10 สุดยอดความรู้วิทย์ เทคนิคสอนเด็กให้สนุก

เปิดอ่าน 13,707 ครั้ง
เทคนิคการบันทึกเบอร์โทรศัพท์ ที่มีเบอร์ต่อ
เทคนิคการบันทึกเบอร์โทรศัพท์ ที่มีเบอร์ต่อ

เปิดอ่าน 14,909 ครั้ง
QR CODE คืออะไร
QR CODE คืออะไร

เปิดอ่าน 11,602 ครั้ง
คลิปฮ็อต "พลเมืองดี" รุมล็อกตัวหนุ่มเขมรวิ่งราวมือถือสาวเกาหลี-ตบสั่งสอนกลางอนุสาวรีย์ชัยฯ
คลิปฮ็อต "พลเมืองดี" รุมล็อกตัวหนุ่มเขมรวิ่งราวมือถือสาวเกาหลี-ตบสั่งสอนกลางอนุสาวรีย์ชัยฯ
เปิดอ่าน 14,821 ครั้ง
ดนตรีโมสาร์ทช่วยทารกโตเร็วขึ้น
ดนตรีโมสาร์ทช่วยทารกโตเร็วขึ้น
เปิดอ่าน 14,989 ครั้ง
PowerPoint ชี้แจงและทำความเข้าใจการปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
PowerPoint ชี้แจงและทำความเข้าใจการปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
เปิดอ่าน 53,893 ครั้ง
สมรรถนะวิชาชีพ (Vocational Competency)
สมรรถนะวิชาชีพ (Vocational Competency)
เปิดอ่าน 13,828 ครั้ง
น่ารักสุดๆ วงโยธวาทิตมหาวิทยาลัยโอไฮโอเล่นกังนัมสไตล์
น่ารักสุดๆ วงโยธวาทิตมหาวิทยาลัยโอไฮโอเล่นกังนัมสไตล์

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ