บทคัดย่อ
ชื่อเรื่องงานวิจัย การพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง Food and Drink โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Active learning ร่วมกับเกม รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้ทำวิจัย นายพิรพัฒน์ โพชสาลี
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านช่อง
ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่มีความสำคัญและจำเป็นในด้านการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำวิชาภาษาอังกฤษบรรจุลงในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ภาษาอังกฤษประกอบด้วย 4 ทักษะหลัก ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน แต่ปัจจุบันทักษะการอ่านเป็นทักษะหนึ่งที่เป็นพื้นฐานทางการเรียนและประสบปัญหามากที่สุด เทียบกับผลการสอบระดับชาติ O-net ในสถานศึกษาประจวบกับพื้นฐานด้านคำศัพท์ของนักเรียนมีน้อย เมื่อเทียบกับหน่วยการเรียนรู้อื่น ผู้วิจัยจึงเลือกทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง Food and Drink โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active learning ร่วมกับเกม รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การเรียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนภาษาอังกฤษเรื่อง Food and Drink ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้วิจัยได้สร้างชุดแบบฝึกหัดเสริมทักษะ จำนวน 3 ชุด เพราะกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนั้นการเรียนรู้เรื่อง เรื่อง Food and Drink ให้มากที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หลังจากการทำแบบฝึกหัดเสริมทักษะ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นจนสามารถอ่านและเขียนบทความสั้น ๆ ได้อย่างน่าพอใจ ผลสรุปแล้ว นักเรียนมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
ความสำคัญของการวิจัย
วิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศสามารถใช้สื่อสารทั่วโลก โดยการใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ซึ่งมีปัญหาด้านภาษา เพราะนักเรียนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง โดยที่ภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง จึงมีปัญหาด้านการสะกดคำ และการออกเสียงเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานของการเรียนในขั้นสูงต่อไป
การอ่านออกเสียงเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการเรียนในด้านอื่น ๆ ตามมา เพราะการอ่านที่ถูกต้องจะทำให้นักเรียนเขียนตัวสะกดได้ถูกต้อง นอกจากนี้การอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง จะทำให้นักเรียนมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้ทักษะการอ่านสะกดคำได้ดีนั้น จำเป็นต้องเรียนรู้จากคำศัพท์ใกล้ตัวนักเรียน เกี่ยวกับร่างกายไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปพัฒนาตนเองต่อไป ในอาชีพ ในการศึกษาต่อ ต่อไป
จุดประสงค์ของการวิจัย
1. นักเรียนสามารถพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง Food and Drink โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active learning ร่วมกับเกม
2. นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะที่เกิดจากการอ่านประเภทต่าง ๆ และเป็นความรู้พื้นฐานใน การศึกษาต่อในขั้นที่สูงขึ้น
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษ
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่อง Food and Drink โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Active learning ร่วมกับเกม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นนักเรียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษต่ำ
ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 คน โรงเรียนบ้านช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
วิธีดำเนินการวิจัย
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ( Pretest ) ได้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ทำคะแนน แบบทดสอบต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 12 คน
2. สร้างและกำหนดรูปแบบการพัฒนาเสริมทักษะ และแบบฝึกหัดชุดฝึกทักษะ เรื่อง Food and Drink ตามขั้นตอน ต่อไปนี้
2.1 กรอบเนื้อหาด้านไวยกรณ์ภาษาอังกฤษเรื่องชุดฝึกทักษะ เรื่อง Food and Drink
2.2 นักเรียนทำแบบฝึกชุดที่ 1
2.3 นักเรียนทำแบบฝึกชุดที่ 2
2.3 นักเรียนทำแบบฝึกชุดที่ 3
3. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ( Posttest )
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบและแบบฝึก ดังนี้
1. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
2. กรอบเนื้อหาชุดฝึกทักษะ เรื่อง Food and Drink
3. นักเรียนทำแบบฝึกชุดที่ 1
4. นักเรียนทำแบบฝึกชุดที่ 2
5. นักเรียนทำแบบฝึกชุดที่ 3
ผลการวิจัย
การประเมินผลจากการอ่านของนักเรียนจากเกณฑ์ที่กำหนดของแต่ละชุด คือ
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการพัฒนาทักษะในการอ่านแบบฝึกหัดที่ 1 3
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 คน (ก่อน-หลังเรียน)
ชุดแบบฝึกหัด ก่อนเรียน หลังเรียน ผลต่าง
1 แบบฝึกหัดชุดที่ 1 56.83 80.10 23.27
2 แบบฝึกหัดชุดที่ 2 57.30 82.56 25.26
3 แบบฝึกหัดชุดที่ 3 58.53 81.42 22.89
รวม 172.66 244.08 71.42
คิดเป็นเปอร์เซ็น 57.55 81.36 23.81
จากตารางสรุปผลการพัฒนาทักษะการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า หลังจากนักเรียนได้ฝึกทำแบบฝึกชุดที่ 1-3 นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 81.36 จากตารางเปรียบเทียบพบว่า หลังการพัฒนาทักษะด้วยแบบฝึกเสริมทักษะแล้ว นักเรียนทั้งหมดมีผลการอ่านดีขึ้น
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า หลังจากนักเรียนได้ฝึกการทำแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง Food and Drink จากแบบฝึกทั้ง 3 ชุด นักเรียนมีทักษะการเรียนดีขึ้น และมีความมั่นใจในการเรียมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
-