ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้
แบบจำลอง เป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางเพลินพิศ ตาลประดิษฐ์
หน่วยงาน โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/7 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียน 40 คน โดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพ หาดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐานใช้ t test (Dependent Samples) รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการ
สังเกตแบบไม่มีโครงสร้างโดยกลุ่มผู้วิจัย การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างโดยกลุ่มผู้วิจัย การจดบันทึก
หลังการสอนโดยผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลทั้งหมด มาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation)
ผลการวิจัยพบว่า
จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัย ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในแต่ละวงจร เป็นดังนี้
วงจรที่ 1 สรุปผลการปฏิบัติในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1-3
จากวงจรที่ 1 ปัญหาที่พบ คือ ในขั้นอธิบาย (Explain) ในขณะที่ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายนักเรียนยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับครูบางส่วนไม่ตอบคำถามและบางส่วนยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับแรงได้ ขั้นวิศวกรรม(Engineer) นักเรียนยังมีปัญหาในขั้นนี้ค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นการระบุปัญหา การสร้างแบบจำลอง การปรับแบบจำลอง การใช้แบบจำลองในการแก้ปัญหา และในขั้นขั้นปรับปรุง (Enrich) สิ่งที่นักเรียนสื่อสารออกมาในเรื่องแรง ไม่ว่าจะเป็นการเกิดแรงไฟฟ้า ผลของแรงไฟฟ้า การเกิดแรงไฟฟ้าระหว่างประจุไฟฟ้า ยังเป็นข้อความสั้นๆ ยังไม่เป็นประโยคที่แสดงถึงความเข้าใจอย่างถ่องแท้
วงจรที่ 2 สรุปผลการปฏิบัติในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4-6
การแก้ปัญหาที่พบในวงจรที่ 1 จากปัญหาในการที่นักเรียนยังไม่มีปฏิบัติสัมพันธ์กับครูในการร่วมกันอภิปรายในขั้นอธิบาย (Explain) ครูผู้สอนและผู้ร่วมวิจัยได้สังเกตพบว่าบางส่วนที่ไม่ตอบไม่ใช่ตอบไม่ได้หรือไม่เข้าใจสิ่งครูถามเพียงแค่ไม่ได้ใส่ใจในคำถามของครูซึ่งครูได้ใช้วิธีการกระตุ้นนักเรียนกลุ่มดังกล่าว ในกรณีที่นักเรียนบางส่วนตอบไม่ได้ครูใช้คำถามที่ชัดเจนขึ้นหรือย้ำให้นักเรียนได้คิดตามช้าๆ และครูพยายามกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามให้มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจและเข้าใจในเนื้อหาดังกล่าว ในขั้นสำรวจ และค้นหา (Explore) ครูพยายามสร้างความเข้าใจให้นักเรียนจัดกิจกรรมใบงาน/สื่อที่กระตุ้นความสนใจของนักเรียน
ผลการแก้ปัญหาพบว่า นักเรียนเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับครูมากขึ้นนักเรียนตามคำถามครูซึ่งอาจจะตรงประเด็นบ้างหรือนอกประเด็นบ้างซึ่งครูก็จะใช้วิธีการสรุปอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับในวงจรที่ 2 มีกิจกรรมการทดลองการเขียนแผนวงจรไฟฟ้านักเรียนได้ทดลองการต่อวงจรไฟฟ้าในขั้นวิศวกรรม(Engineer) จึงทำให้นักเรียนดำเนินการได้ดีขึ้นแต่ยังต้องใช้เวลาและครูต้องคอยกำกับ การตอบคำถามหรืออธิบายที่สิ่งตัวนักเรียนรู้และต้องการสื่อสารได้ดีขึ้น รวมทั้งนักเรียนเริ่มคุ้นเคยกับรูปแบบการจัดกิจกรรมเพิ่มขึ้น
จากวงจรที่ 2 ปัญหาที่พบ คือ นักเรียนทดลองการต่อวงจรไฟฟ้านักเรียนยังขาดความละเอียดรอบครอบ เช่นเมื่อต่อวงจรแล้วไม่ติดนักเรียนคิดว่านักเรียนทำผิด รวมทั้งการบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมยังไม่ละเอียด ตรงประเด็น หรือบันทึกไม่ครบตามที่ระบุ
วงจรที่ 3 สรุปผลการปฏิบัติในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 7-9
ได้แก้ปัญหาที่พบในวงจรที่ 2 จากปัญหาในส่วนของความละเอียดรอบครอบในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง รวมทั้งการบันทึกผล ครูและผู้ร่วมวิจัยมีความเห็นตรงกันว่าครูต้องคอยแนะนำขั้นตอนทีละขั้นและตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนไปพร้อมกัน ครูแนะนำให้นักเรียนใช้กระบวนการกลุ่มในการตัดสินใจการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม และจากวงจรที่ 2 วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายสามารถปรับใช้ได้ดีในการแก้ปัญหาดังกล่าวในวงจรที่ 3 การต่อเซลล์ไฟฟ้า
ผลการแก้ปัญหาพบว่า นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้มั่นใจขึ้น หากมีสิ่งที่นักเรียนไม่มั่นใจว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่นักเรียนกล้าที่จะสอบถามครู รวมทั้งก่อนการบันทึกผลนักเรียนปรึกษาหารือสมาชิกในกลุ่มก่อนลงข้อสรุปกิจกรรมในใบงาน
จากวงจรที่ 3 ปัญหาที่พบ คือ การตั้งสมมติฐานของนักเรียนยังไม่เป็นไปตามแนวทางที่ต้องการอย่างเช่นในเรื่องของจำนวนถ่ายไฟฉายกับความสว่างของหลอดไฟ รวมทั้งการกำหนดตัวแปร
วงจรที่ 4 สรุปผลการปฏิบัติในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 10-12
ได้แก้ปัญหาที่พบในวงจรที่ 3 จากปัญหาในเรื่องการตั้งสมมติฐาน และการกำหนดตัวแปร ครูผู้สอนและผู้ร่วมวิจัยได้หาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยในกิจกรรมการทดลองเรื่อง หลอดไฟฟ้าต่ออย่างไร ครูจะใช้การอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ปัญหาของการทดลองให้ชัดเจนก่อนซึ่งจะทำให้เชื่อมโยงไปถึงการตั้งสมมติฐานและการำหนดตัวแปรที่ชัดเจน
ผลการแก้ปัญหาพบว่า นักเรียนมีทักษะในการตั้งสมมุติฐานและการกำหนดตัวแปรดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การทดลองการต่อหลอดไฟฟ้ากรณีที่ถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 ดวงแล้วหลอดไฟฟ้าที่เหลือดับ หรือการต่อหลอดไฟ แล้วถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 ดวงแล้วหลอดไฟฟ้าที่เหลือยังสว่างอยู่ จากทักษะดังกล่าวส่งผลต่อความเข้าใจของนักเรียนในเรื่อง การต่อแบบอนุกรมและแบบขนาน
จากวงจรที่ 4 ปัญหาที่พบ คือ นักเรียนบางส่วนยังขาดทักษะการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์หรืออุปกรณ์การทดลอง
2. นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา เฉลี่ยเท่ากับ 15.83 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.13 และนักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ เฉลี่ยเท่ากับ 19.83 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.60
3. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.81/82.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑที่ตั้งไว้ 80/80
4. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน พบว่า คะแนนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจความพึงพอใจต่อจากการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบ 6E Learning ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.41)