บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ KPS Modelของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ชื่อผู้วิจัย ปรีดา สุทธิชาติ
ปีพ.ศ. 2563 - 2565
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ KPS Model ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2. ประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ KPS Model ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 327 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาด โรงเรียน ระยะที่ 2 เป็นการประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ซึ่งอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 63 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการใน การเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินรูปแบบ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ KPS Model การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
สรุปผลการวิจัย
1. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เรียกว่า KPS Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินงานของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) K - Knowledge เติมความรู้ 2) P- Pratice สู่การปฏิบัติ 3) S-Sharing จัดแลกเปลี่ยน
2. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ KPS Model ของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
2.1 ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการใช้รูปแบบ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ครูผู้สอนมีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.=0.21) และสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้
เชิงรุกโดยใช้ KPS Model อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.58, SD= 0.54)