เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ด้วยรูปแบบ PDCPCM Model เรื่อง อะตอมและสมบัติของธาตุ
ชื่อผู้วิจัย นายธนศกั ดิ์ เจริญธรรม
ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุกูลนารี
ปีที่ทำการวิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาเคมี โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จาก 3 โรงเรียน ๆ 3 คน รวม 9 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากทั้ง 3 โรงเรียน
จำนวน 45 คน โรงเรียนละ 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพฺ จำนวน 30 คน และนักเรียนโรงเรียนกมลาไสย จำนวน 30 คน รวม 60 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 29 คน ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างครูผู้สอนวิชาเคมี แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
วิชาเคมี แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ
รูปแบบ แบบประเมินความเหมาะสม ของคู่มือการใช้รูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ
แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคณุภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปและสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคดิ อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครูผู้สอนวิชาเคมีส่วนมากพยายามจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แต่นักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น
ประกอบด้วย 1) ขั้นเผชิญปัญหา 2) ขั้นรวบรวมข้อมูล 3) ขั้นบ่มเพาะความคิด 4) ขั้นปฏิบัติ 5) ขั้นลงข้อสรุป และ 6) ขั้นการวัดและประเมินผล เรียกว่า PDCPCM Model มีผลการประเมินความเหมาะสมเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.27, S.D. = 0.70) และมีประสิทธิภาพ 77.45/76.77
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบปกติ 3) ความพึงพอใจต่อการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.57, S.D. = 0.84