บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา พัฒนารายการอาหาร เพื่อแก้ปัญหานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์
ผู้ทำวิจัย นางวัลลภา วิเชียรรัตน์
ปีการศึกษา 2563
ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา พัฒนารายการอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและได้รับพลังงานเหมาะสมกับเพศและอายุ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา พัฒนารายการอาหารที่ เพื่อแก้ปัญหานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่ได้รับการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา พัฒนารายการอาหาร
ผลการวิจัย พบว่า
1. พฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารของในภาพรวมค่าเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับเหมาะสมดี (x̄ = 1.96, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อันดับแรกพฤติกรรมการรับประทานอาหารในด้านจำนวนมื้อในการรับประทานอาหารมีการปฏิบัติในระดับเหมาะสมดี (x̄ = 2.45, S.D. = 0.48) รองลงมาพฤติกรรมการรับประทานอาหารในด้านปริมาณอาหารที่รับประทานมีการปฏิบัติในระดับเหมาะสมดี (x̄ = 2.30, S.D. = 0.44) และอันดับสุดท้ายพฤติกรรมการรับประทานอาหารในด้านชนิดของอาหารที่รับประทานมีการปฏิบัติในระดับเหมาะสมน้อย (x̄ = 0.33, S.D. = 0.12)
2. ผลการการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมนักโภชนาการน้อยคิดแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ สะเต็มศึกษา จัดรายการอาหารแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ในภาพรวม นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 2.70, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับแรกขั้นระบุปัญหา ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน ปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 3.00, S.D. = 0.00) อันดับสองขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 2.80, S.D. = 0.45) และอันดับสุดท้ายขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงานปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก (x̄ = 2.40, S.D. = 0.55)
3. ผลการประเมินรายการอาหารแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา พัฒนารายการอาหารเพื่อแก้ปัญหานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ ในภาพรวม พบว่า ความเหมาะสมของรายการอาหารแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มีความเหมาะสมระดับดีมาก (x̄ = 2.87, S.D. = 0.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรกรายการอาหารมีความเหมาะสมในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ ปริมาณพลังงานมีความเหมาะสมกับเพศและวัยในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ และการบูรณาการระหว่าง 4 วิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ มีความเหมาะสมระดับดีมาก (x̄ = 3.00, S.D. = 0.00) รองลงมาความเหมาะสมของรายการอาหารมีความเหมาะสมในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ และการนำเสนอรายการอาหารอย่างสร้างสรรค์มีความเหมาะสมระดับดีมาก (x̄ = 2.67, S.D. = 0.58)
4. ภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ ในเดือนมกราคม 2564 โดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเทียบกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต อายุ 5-18 ปี เกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ของกรมอนามัย พบว่า นักเรียนมีภาวะโชนาการตามเกณฑ์ สมส่วน จำนวน 2 คน นักเรียนมีภาวะโชนาการตามเกณฑ์ ท้วม จำนวน 1 คน ที่ต้องเผ้าระวังเรื่องโภชนาการ นักเรียนมีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ เริ่มอ้วน จำนวน 1 คน และนักเรียนมีภาวะโชนาการเกินเกณฑ์ อ้วน จำนวน 6 คน ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาต่อไป
5. ความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ หลังใช้รายการอาหารแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ที่นักเรียนกลุ่มนักโภชนาการน้อยดำเนินการจัดรายการอาหาร ภาพรวม พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x̄ = 2.72, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า รายการอาหารมีสารอาหารครบถ้วน และรายการอาหารให้พลังงานเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x̄ = 3.00, S.D. = 0.00) รองลงมารายการอาหารสามารถช่วยแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ของนักเรียนได้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรายการอาหาร มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x̄ = 2.46, S.D. = 0.52) และอันดับสุดท้ายรายการอาหารน่ารับประทาน มีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄ = 2.40, S.D. = 0.50)