ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ “CHANGE MODEL”
โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่
ผู้วิจัย นางเมษา แก้วเสน
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่
สังกัดเทศบาลตำบลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2564-2565
คำสำคัญ การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน / CHANGE MODEL
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ หลังการพัฒนา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ หลังการพัฒนา 4) เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนาที่ปรากฏต่อนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 55 คน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 53 คน (เนื่องจากนักเรียนชั้นดังกล่าวมีความสามารถในการอ่านและสื่อข้อความจากแบบสอบถามได้ดีกว่าชั้นอื่นๆ (2) ครู ปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน (3) ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างปีการศึกษา 2564 จำนวน 55 คน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 53 คน (4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู ปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา2565 จำนวน 7 คน (5) และผู้แทนจาก องค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.977-0.986 และแบบบันทึกข้อมูลผลกระทบเชิงบวกตามสภาพจริง ที่ปรากฏต่อนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 23 วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า..................................................................................................................
1. การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ ดังนี้
1.1 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมาก ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน......................................................................................................................................
1.2 ผลการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า ปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับมากเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการศึกษาพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน............
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่..........................................................................................
3.1 ผลการศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน................................................
3.2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็น
คนดีของนักเรียน โดยใช้ “CHANGE MODEL” โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2564-2565 พบว่า ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน.......................................
4. ผลการศึกษาผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ ส่งผลให้นักเรียนได้รับการประกาศเกียรติคุณ ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด รวมทั้งได้เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน องค์กร และชุมชนต่างๆ รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 รายการ จำแนกเป็น ระดับดับประเทศ 2 รายการ ระดับภาค 5 รายการ ระดับจังหวัด 10 รายการ และนักเรียนเข้าร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ 8 รายการ สอดคล้องตามสมมติฐาน