บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) 3) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) 4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 5.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 5.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 5.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานครูเทศบาลและพนักงานจ้างตามภารกิจปฏิบัติการสอน จำนวน 48 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 489 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 489 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวน 10 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบท ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) ฉบับที่ 6 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) และฉบับที่ 7 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.884 - 0.960 ลักษณะที่ 2 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ปีการศึกษา 2565 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community)
ปีการศึกษา 2565 สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
(x̄ = 4.57, S.D.=0.14) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด
(x̄ = 4.61,S.D.= 0.12) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่าน เกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.41, S.D. = 0.17) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46,
S.D. = 0.12) เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยครูมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.73, S.D. = 0.11) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 ระดับคุณภาพการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.06) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตามปฏิทินที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87, S.D. = 0.33) รองลงมา ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้รับการนิเทศมีอิสระในการคิด และสร้างสรรค์ชิ้นงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.83, S.D. = 0.37) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการประกาศเกียรติคุณ และเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16, S.D. = 0.69) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59, S.D. = 0.12) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า การวัดผลและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.67, S.D. = 0.22) รองลงมา คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59, S.D. = 0.20) การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56, S.D. = 0.26) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.30) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
(x̄ = 4.61, S.D. = 0.33) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52, S.D. = 0.24) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยครูมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.61, S.D. = 0.15) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า การสนับสนุนให้ครูใช้ภาวะผู้นำหรือการปรับปรุงโรงเรียนและการเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.81, S.D. = 0.39) รองลงมา คือ
การประสานความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.77, S.D. = 0.42) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การดำเนินงานตามโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.37, S.D. = 0.48) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
4.5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวม พบว่า ร้อยละของนักเรียนที่ได้ระดับดี (3) ขึ้นไปเท่ากับ 71.54 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) ปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 44.69 และปีการศึกษา 2565 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.59 โดยภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.90 ได้คะแนนเฉลี่ย 0 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 ตามสภาพจริง โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 100.00 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2565 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 97 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 ควรจัดให้มีโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล (ตันติวิท) โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) เป็นโครงการต่อเนื่อง และนำสารสนเทศที่ได้มาใช้วางแผนอย่างน้อย 2 ปีการศึกษา
1.3 ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
1.4 โรงเรียนควรพัฒนากระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จนกลายเป็นวิถีของโรงเรียนที่มีความเด่นชัดและมีความเป็นอัตลักษณ์เป็นของตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นได้
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการหรือการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model ไปปรับใช้กับการประเมินโครงการอื่น ๆ ในโรงเรียน เนื่องจากสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป
2.2 ควรทำการวิจัยเกี่ยวกับศักยภาพของชุมชนในโรงเรียนและองค์กรเครือข่ายความ ร่วมมือจากกลุ่มหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนในโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
2.3 ควรมีการประเมินโครงการเชิงสาเหตุเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุหรือปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของโครงการ ซึ่งจะทำให้เป็นแนวทางการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
2.4 ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม