ความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติถึง ความสำคัญของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นกับคนไทยไว้ใน มาตรา ๖ ซึ่งได้กำหนดว่า การจัดการ ศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม ให้ มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้น จึงเห็นว่า คุณธรรมจริยธรรม เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญ และจำเป็นที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายการศึกษาของชาติสรุป ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม คือ สภาพคุณงามความดีที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของบุคคล เป็นสิ่งที่มี คุณค่า ส่งเสริมให้บุคคลที่ปฏิบัติอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
เนื่องจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้เด็กและเยาวชนเกิดพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ ไม่ค่อยใจใส่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย จะสังเกตเห็นได้ว่า เด็กไม่ค่อยมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ วัฒนธรรมการไหว้คือการแสดงความมีสัมมาคารวะอย่างหนึ่ง เป็นธรรมเนียมการทักทายและแสดงความเคารพต่อกัน การไหว้ทำให้ผู้ใหญ่รักและเอ็นดู คนที่พบเห็นต่างชื่นชม คำที่เรามักจะได้ยินเป็นประจำที่ใช้กล่าวชมผู้ที่มีสัมมาคารวะและได้รับการอบรมมารยาทการไหว้ว่ารู้จัก ไปลามาไหว้ แต่ด้วยสาเหตุหลายประการที่ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการไหว้น้อยลงหรืออาจมองข้ามวัฒนธรรมการไหว้ไปบ้าง ส่งผลให้บางครั้งไม่รู้ความหมาย หรือวิธีการไหว้ที่ถูกต้องว่าควรปฏิบัติอย่างไร?
โรงเรียนบ้านควนสูงเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ตั้งอยู่เขตชุมชน ใกล้วัด 2 แห่ง เป็นโรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งได้จัดกิจกรรมทางศาสนาอยู่บ่อยครั้งพบว่ายังมีนักเรียนบางส่วนไหว้ทั้ง 3 ระดับไม่ถูกต้อง ทั้งนี้กรรมการสถานศึกษา และคุณครูในฐานะผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และผู้รับผิดชอบโรงเรียนคุณธรรมสพฐ. และค่ายคุณธรรมฯ จึงสนใจพัฒนาการไหว้ผู้ใหญ่และพระสงฆ์ของนักเรียนระดับชั้น ป.4-ป.6 ให้ถูกต้อง
จุดประสงค์และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการรักความเป็นไทยโดยยึดหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการปฏิบัติตาม LDM Model
2.1.2 เพื่อส่งเสริมการไหว้ระดับทั้ง 3 ระดับที่ถูกต้องของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนสูง
2.2 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. นักเรียนโรงเรียนบ้านควนสูง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่4 - 6 ร้อยละ 80 เกิดความตระหนักและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการรักความเป็นไทย(ด้านการไหว้)ในระดับดีขึ้นไป
2. นักเรียนโรงเรียนบ้านควนสูง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ร้อยละ 80 มีการไหว้ 3 ระดับที่ถูกต้อง
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 เกิดความตระหนักและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ ด้านการรักความเป็นไทยดียิ่งขึ้น
2. นักเรียนนมีการพัฒนามารยาทไทย ด้านการไหว้ให้ดียิ่งขึ้น
3. กระบวนผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 กระบวนการผลิต
จากการดำเนินงานการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักความเป็นไทยโดยยึดหลัก
แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการปฏิบัติตาม Learn Doing Model (LDM) ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 6 โรงเรียนบ้านควนสูงได้ใช้หลักการจัดการคุณภาพ โดยใช้กระบวนการ PDCA
เป็นตัวขับเคลื่อน โดยยึดหลักการในการทำงานดังนี้ การวางแผนปฏิบัติการ(p -Plan)
การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ (D- Do) การตรวจสอบ ประเมินผล (C - Check) และการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ( A - Action ) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตาม บริบทของโรงเรียน
3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1วางแผนการจัดกิจกรรม (p -Plan)
1) ประชุมชี้แจงผู้ปกครองนักเรียน เพื่อทำความเข้าใจ และข้อความร่วมมือในฐานะผู้ปกครอง
2) สำรวจความพร้อมในการเข้าเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นรายบุคคล
3) จัดตั้งนักเรียนแกนนำ
4) จัดเตรียมสื่อ เครื่องมือวัดผลและประเมินผล
3.2.2 ดำเนินการตามแผน (D- Do)
1) ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามตารางที่จัดเตรียม เพื่อส่งเสริมการไหว้ดังนี้
- ครูวิเคราะห์หลักปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้ความเป็นไทยด้านการไหว้ ดังนี้
- นักเรียนแกนนำปฏิบัติตามการไหว้ทั้งสองระดับที่ถูกต้อง
- นักเรียนเรียนรู้แบบอย่างการไหว้ระดับที่ 1 และระดับที่ 2 ที่ถูกต้องจากนักเรียนแกนนำ
- นักเรียนทดสอบปฏิบัติได้ในชั่วโมงกิจกรรมลดเวลาเรียนทุกวัน
2) การตรวจสอบประเมินผล (C - Check)
- ครูประเมินการปฏิบัติของนักเรียนและแจ้งผลการประเมินให้นักเรียนทราบเป็นรายบุคคล
3) การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ( A - Action )
- นำผลที่ได้จากการจัดกิจกรรม LDM ไปพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการรักความเป็นไทยของนักเรียนในปีถัดไป
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธึ๋/ประโยชน์ที่ได้รับ
1) นักเรียนมีความตระหนักและได้รับการปลูกฝังคุณธรรมในการทักทายกันโดยการไหว้
2) นักเรียนมีการพัฒนามารยาทไทย ด้านการไหว้ให้ดียิ่งขึ้น
3) นักเรียนวินัยต่อตนเองและผู้อื่นเกิดความปรองดองกันภายในโรงเรียน
4) นักเรียนมีความพอใจและเต็มใจในการปฏิบัติโดยไม่ต้องให้ครูคอยบอก
5. ปัจจัยความสำเร็จ
1) ผู้บริหารและครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนด้วยการแสดงกิริยามารยาทที่สุภาพ มี การไหว้ที่ถูกต้องรอยยิ้มที่แสดงถึงมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีโดยครูจะไหว้และรับไหว้ทักทาย นักเรียน ทุกๆ วัน
2) การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาถอดบทเรียนเรื่องมารยาทไทย ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักอย่างถ่องแท้
3) ครูทุกคนมีส่วนร่วม ให้ความร่วมมือร่วมใจอย่างเต็มที่ และเต็มใจ มุ่งมั่นตั้งใจจริงและทุ่มเททั้ง แรงกายแรงใจเพื่อพัฒนานักเรียน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน เอาใจใส่และให้คำแนะนำ ที่ดีแก่นักเรียน
4) นักเรียนให้ความร่วมมือ และมีความพร้อมในร่วมกิจกรรม เกิดความ ปรองดองกันภายในโรงเรียน
5) มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบตามวงจรคุณภาพ PDCA และกระบวนการ LDM Model
6. บทเรียนที่ได้รับ
การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหารและครูด้วยทักทายนักเรียนก่อน และการคอยชมเชย นักเรียนอยู่เสมอ บ่อย ๆ ทุกๆ วัน เป็นสิ่งที่จะทำให้นักเรียนภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำ และพร้อมที่จะปฏิบัติตาม จนเป็นนิสัย
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
1) นักเรียนได้รับคำชมเชยจากผู้บริหารโรงเรียนและคณะครู
2) นักเรียนยิ้มทักทาย มีมารยาทในการไหว้ต่อแขกที่มาเยือนโรงเรียน
3) จากการจัดกิจกรรมยิ้ม ไหว้ทักทายกัน ส่งสัญญาณแห่งมิตรภาพ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมให้กับ นักเรียน ทำให้สามารถคัดเลือกตัวแทนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดมารยาทไทย ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับชั้นประถมศึกษาที่ 4-6 การประกวดมารยาทไทย งานศิลปหัตถกรรมครั้งที่70 ปีการศึกษา2565 ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3