ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีสะเต็มศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Lab view สู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
โรงเรียนพระทองคำวิทยา
ผู้วิจัย นายสุเมธี เกษร
หน่วยงาน โรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 3) ทดลองการจัดการเรียนรู้ และ 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 -6โรงเรียนพระทองคำวิทยา สังกัดสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คัดเลือกโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 18 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีสะเต็มศึกษา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Lab view สู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนพระทองคำวิทยาผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 12 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยใช้การจัดการเรียนรู้ BAPCTP Model ในขั้นการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 6 ขั้น 1.ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน (basic Knowledge) 2.การสร้างความสนใจ (Arouse interest)3.ขั้นระบุปัญหา (Problem Identification)4.ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือและรวบรวมแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Cooperative group) 5.ทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงการแก้ปัญหา สรุป (Test, evaluate and improve solutions.) 6.ขั้นนำเสนอผลงานในการแก้ปัญหา (Present) 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความสามารถในการคิดเชิงนวัตกรรม และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียน ครู และผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่าข้อมูลจากการสำรวจ สามารถนำผลที่ได้ มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีสะเต็มศึกษา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Lab view สู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้เป็นใบความรู้ ใบกิจกรรม การทดสอบความรู้ การปฏิบัติ และการวัดผลและประเมินผล
2. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีสะเต็มศึกษา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Lab view สู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 81.37/83.33
3. ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีสะเต็มศึกษา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Lab view สู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 วัดความสามารถในทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.61 คิดเป็นร้อยละ 78.06 และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 81.03/83.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดทฤษฎีสะเต็มศึกษา หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรม Lab view สู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก