ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกอ่าน ออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน
ชื่อผู้วิจัย นางสุนิสา พุทธศรี ครูโรงเรียนวัดอินทการาม สพป.สฎ. เขต 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอินทการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน 2) แบบทดสอบการอ่านการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าร้อยละความก้าวหน้า
ผลการศึกษาพบว่า การทดสอบอ่านเขียนคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน ( = 9.25, = 0.78) สูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทาน ( = 5.00, = 1.03) มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.33
การพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โดยใช้แบบฝึกอ่าน ออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้นักเรียนมีภาวะ
ถดถอยทางการเรียนรู้ตามวัย ขาดทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดย สพฐ.ได้กำหนดเป็น
หนึ่งในนโยบายเร่งด่วน สพฐ. Quick Policy ประจำปีงบประมาณ 2566 ด้านการแก้ไขปัญหา
ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Leaning Loss)
จากการทดสอบการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ โดยผู้สอนได้นำคำจากบัญชีคำพื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษา 2 พบว่ามีนักเรียนจำนวน 9 คนที่มีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียน คือ ไม่สามารถอ่าน เขียนคำหรือข้อความได้ และไม่มีความสุขในการเรียนการสอน กลัววิตกในการอ่านการเขียน ผู้สอนจึงพัฒนาแบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการอ่าน-เขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาทักษะด้านการอ่านเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน
ขอบเขตของการศึกษา
ผู้รายงานได้กำหนดขอบเขตของการศึกษา ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอินท-การาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 6 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ตัวแปรตาม คือ ผลการทดสอบการอ่านการเขียนคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แนวทางสำหรับครูผู้สอนภาษาไทยในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
2. ได้แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
นิยามศัพท์เฉพาะ
การสอนโดยใช้แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน หมายถึง
ครูผู้สอนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนบันได 5 ขั้น ซึ่งเริ่มต้นจาก
1) การฟังที่ดีเมื่อนักเรียนได้รับฟัง ควรจะต้องฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟังของตนอยู่เสมอ ฟังให้ได้ประเด็นชัดเจน ได้อักขระที่ถูกต้องในใจเมื่อฟังผู้อื่นพูด เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังอย่างถ่องแท้ การฟังโดยที่มีการตั้งจุดมุ่งหมายในการฟังไว้ล่วงหน้าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทักษะการฟังได้
2) เมื่อฟังแล้วต้องสามารถอ่านตามได้ อ่านได้ถูกต้องจากการฟังมา การฝึกอ่านอยู่สม่ำเสมอ อ่านในทุกๆที่มีเจอข้อความ ความสำคัญของการอ่านยังทำให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถจินตนาการในเนื้อเรื่องหรือบทความที่อ่านได้ การอ่านที่ถูกต้องคือการออกเสียงได้อย่างชัดเจน สื่อความถึงผู้ฟังได้
3) การคัดลายมือ เป็นการย้ำ ทวนเนื้อหา
ในเรื่องที่ฟังหรืออ่านมาการคัดลายมือเป็นการฝึกเขียนเบื้องต้น ที่จำเป็นต้องให้เคยชินกับการเขียนที่สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยเพราะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเขียนได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว รวดเร็ว สวยงาม และน่าอ่าน
4) เขียนตามคำบอก
5) เมื่อนักเรียนเขียนได้อย่างถูกต้องแล้วก็นำไปสู่การแต่งประโยค เพื่อให้นักเรียนได้มีจินตนาการในการแต่งประโยค และรู้จักการนำเอาคำหลาย ๆ คำมาเรียงต่อกันเป็นกลุ่มคำ เป็นประโยคที่มีความหมายถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ทั้งในด้านรูปแบบและความหมาย ที่มีทั้งภาคประธานและภาคแสดง
ผลการทดสอบการอ่านและเขียนคำ หมายถึง ทักษะในการอ่านออกเสียงคำและเขียนคำ ภายหลังสิ้นสุดจากการเรียนการสอน ซึ่งสามารถวัดได้จากคะแนนในการทำแบบทดสอบการอ่านเขียนที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน พบว่า หลังการใช้แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
อภิปรายผล
ผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้ แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน เป็นแบบฝึกที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามผลของการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว
2. แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน สร้างขึ้นอย่างถูกวิธี ได้ผ่านขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่เอกสารหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตร และยังได้รับการแนะนำ ข้อเสนอแนะจากผู้มีประสบการณ์ด้านเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และความเหมาะสมของเนื้อหา
3. การสอนโดยใช้ แบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
4. การพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกอ่าน ออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอนได้เรียงลำดับความยากง่ายสอดคล้องตามธรรมชาติการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จึงสรุปได้ว่าแบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 เดือนด้วยทักษะ 5 ขั้นตอน มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์ต่อวงการศึกษา ดังนี้ก่อนนำแบบฝึกไปใช้ประกอบการสอน ผู้สอนควรศึกษารายละเอียดของทุกกิจกรรมก่อนนำไปใช้