บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการรายงานการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเชื่อมโยงระหว่างการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน และ TPACK ซึ่งในบทความนี้ประกอบด้วยบทนำ การสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา การสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน การสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน TPACK รูปแบบการสอน CLIL+PBL+CBL+TPACK และแผนการเรียนรู้ 3 แผน โดยผลการจัดการเรียนรู้จากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า
1. ผลการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แผนภูมิรูปวงกลม (Pie Chart) ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ได้มีการสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา(CLIL) โดยสอนคำศัพท์(Vocabulary) เนื้อหา(Content) ถาม-ตอบ สนทนาเป็นภาษาอังกฤษ การสอนแบบโครงงาน(PBL) ใช้กิจกรรมกลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิรูปวงกลม (Pie Chart) การสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน(CBL) มีการสำรวจอาชีพของคนในชุมชนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำกิจกรรม และทีแพค(TPACK) ผู้สอนได้มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนและการทำกิจกรรม เช่น PowerPoint ใช้สอนคำศัพท์และเนื้อหา,Application Plickersใช้ตอบคำถาม หลังการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนได้ประเมินผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ พบว่าผู้เรียนสามารถพูดถาม ตอบเกี่ยวกับเรื่องแผนภูมิรูปวงกลม เป็นภาษาอังกฤษได้ และผู้เรียนสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิรูปวงกลมได้ โดยผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยผลการประเมินใบงาน มีคะแนนเฉลี่ย 9.09 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินชิ้นงาน มีคะแนนเฉลี่ย 19.03 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคะแนนเฉลี่ย 5.00 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก
2. ผลการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตสู่การออกแบบลายเสื่อกก (Geometry Transformation to New Mats Pattern Designs) ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 ได้มีการสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา(CLIL) โดยสอนคำศัพท์(Vocabulary) เนื้อหา(Content) ถาม-ตอบ สนทนาเป็นภาษาอังกฤษ การสอนแบบโครงงาน(PBL) ใช้กิจกรรมกลุ่มในการศึกษาลายเสื่อกกเดิมที่มีอยู่ แล้วนำมาออกแบบเป็นลายเสื่อกกแบบใหม่โดยใช้ความรู้จากเรื่องการแปลงทางเรขาคณิตการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน(CBL) มีการสำรวจลายเสื่อกกเดิมจากคนในชุมชนที่มีอาชีพทอเสื่อกก และทีแพค(TPACK) ผู้สอนได้มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนและการทำกิจกรรม เช่น PowerPoint ใช้สอนคำศัพท์และเนื้อหา, Application Plickersใช้ตอบคำถาม
หลังการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนได้ประเมินผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ พบว่าผู้เรียนสามารถพูดถาม ตอบเกี่ยวกับเรื่องแปลงทางเรขาคณิตเป็นภาษาอังกฤษได้และผู้เรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุนไปใช้ในการออกแบบและสร้างลวดลายเสื่อกกได้ โดยผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยผลการประเมินใบงาน มีคะแนนเฉลี่ย 9.03 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินชิ้นงาน มีคะแนนเฉลี่ย 19.06 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคะแนนเฉลี่ย 5.00 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก
3. ผลการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การออกแบบลวดลายสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน (New Mats Pattern designs to produce the Local product) ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ได้มีการสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา(CLIL) โดยสอนคำศัพท์(Vocabulary) เนื้อหา(Content) ถาม-ตอบ สนทนาเป็นภาษาอังกฤษ การสอนแบบโครงงาน(PBL) ใช้กิจกรรมกลุ่มในการนำลายเสื่อกกที่ออกแบบใหม่มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ ชิ้นงานการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน(CBL) มีการนำผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กับชุมชน และทีแพค(TPACK) ผู้สอนได้มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนและการทำกิจกรรม เช่น PowerPoint ใช้สอนคำศัพท์และเนื้อหา หลังการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนได้ประเมินผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ พบว่าผู้เรียนสามารถพูดถาม ตอบเกี่ยวกับการประยุกต์การแปลงทางเรขาคณิตในการออกแบบลวดลาย และการสร้างผลิตภัณฑ์เป็นภาษาอังกฤษได้และผู้เรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการเลื่อนขนานการสะท้อน และการหมุนไปใช้ในการออกแบบและสร้างลวดลายเสื่อกกได้ โดยผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยผลการประเมินชิ้นงาน มีคะแนนเฉลี่ย 24.12คะแนน อยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคะแนนเฉลี่ย 5.00 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก
จากการใช้การสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน และทีแพค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น สามารถถาม ตอบเป็นภาษาอังกฤษอย่างง่ายได้ มีความมั่นใจในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษมากขึ้น มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ การฟังและการสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญ โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ และส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักชุมชนท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น สามารถนำความรู้ไปพัฒนาและเผยแพร่สู่ชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์
คำสำคัญ : การสอนแบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา, การสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน, การสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน TPACK